พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พิกัด: 12°41′52″N 99°57′48″E / 12.6978579°N 99.9632049°E / 12.6978579; 99.9632049
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ค่ายพระรามหก)
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ศาลาทรงซึ่งเชื่อมต่อกับหมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร หนึ่งในสัญลักษณ์ของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชนิเวศน์
สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ (ไทยผสมยุโรป)
ที่ตั้งตำบลชะอำ อำเภอชะอำ
เมือง เพชรบุรี
ประเทศ ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2466
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างไม้สักทอง ฐานรากก่ออิฐถือปูน
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกแอร์โกเล มันเฟรดี
เว็บไซต์
mrigadayavan.or.th
ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในค่ายพระรามหก
ส่วนฐานรากพระราชนิเวศน์ฯ จะเป็นลักษณะโครงสร้างที่ยกตอม่อคอนกรีตเหนือระดับทรายชายหาด แล้วต่อเนื่องด้วยโครงสร้างไม้ มีความสูงรวม 2 ชั้น
บ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหมู่พระที่นั่งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นร้านน้ำชาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2466 - 2467 โดยมีนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ หมู่พระตำหนักมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบไทยผสมตะวันตก มีการใช้ไม้สักทองประกอบขึ้นทั้งหลัง โดยยกใต้เสาตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็กเหนือชายหาด

ประวัติ[แก้]

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง

ปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด) เพื่อใช้ในการฝึกรบสนับสนุนทางอากาศ และในปี 2536 ตชด ได้จัดตั้ง มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

สถาปัตยกรรม[แก้]

สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝน ได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด 1080 ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆ ซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆ ชุกชุม

พระที่นั่ง[แก้]

พระที่นั่งทั้ง 3 องค์มีความยาวทั้งสิ้น 399 เมตรแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ท้องพระโรง เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายใน โดยมีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอดโดยมีพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ดังนี้

พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์[แก้]

พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นพระที่นั่ง 2 ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดถึงกันทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ด้านบนเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมเขียนลวดลายโดยทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีห้องควบคุมไฟสำหรับเวทีที่ใช้แสดงละครและมีห้องพักนักแสดง ภายในมีบันไดสำหรับนักแสดงขึ้นลงโดยการแสดงจะจัดขึ้นบริเวณทิศเหนือซึ่งเป็นเวทีซึ่งยกพื้นสูงโดยเจ้านายฝ่ายในจะประทับที่เฉลียงชั้นบนอัฒจันทร์ที่อยู่ตรงทางเข้านั้นเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทางขึ้นและทางลงแยกกันคนละทาง โดยบนอัฒจันทร์มีลาดพระบาท(พรม)สำหรับเป็นทางเสด็จชั้นบน เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ รับพระราชอาคันตุกะ และประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ โดยภายในห้องพระราชพิธีเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปซึ่งสร้างขึ้นภายหลังนอกจากนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายภาพ

หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมาน[แก้]

หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมานประกอบไปด้วยอาคารต่าง ๆ ดังนี้

โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายหน้า ภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเล โดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้

หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร[แก้]

หมู่พระทีนั่งพิศาลสาครประกอบไปด้วยอาคารต่าง ๆ ดังนี้

  • อาคารหลังแรก เป็นห้องรับแขกเดิมเป็นท้องพระโรงฝ่ายใน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดนตรีไทย
  • หอเสวยฝ่ายใน เป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหาร
  • พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ภายในประกอบด้วย ห้องบรรทม ห้องรับแขก ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์และเฉลียงสำหรับรับลมทะเล
  • เรือนพระสุจริตสุดา เป็นบ้านพักของพระสุจริตสุดาซึ่งเป็นพระสนมเอกภายในประกอบด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัวและเฉลียงรับลมทะเล
  • ห้องพักคุณท้าววรคณานันท์ เป็นบ้านพักของคุณท้าววรคณานันท์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล) และคุณท้าวสมศักดิ์(หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)

โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายในภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้

สวนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน[แก้]

บริเวณโดยรอบของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

แต่เดิมพบเพียงภาพถ่ายในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรากฏสภาพเป็นป่าชายหาดตามลักษณะภูมิประเทศ และถากเป็นพื้นโล่งเตียนโดยรอบหมู่พระที่นั่ง เมื่อทางมูลนิธิมีโครงการในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบพระราชนิเวศน์ โดยหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ผู้ออกแบบสวนได้แรงบันดาลใจจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสวนต่าง ๆ ดังนี้

  • สวนเวนิสวานิช

สวนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่อง The Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ที่พระองค์ท่านทรงคงลีลาและฉันทลักษณ์การแปลไว้คำต่อคำใกล้เคียงกับต้นฉบับจริงมากที่สุด สวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนสซองและที่กำหนด สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานก็เพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ในบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

  • สวนศกุนตลา

ลานกว้างที่ใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเหมือนเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่าง ๆ จากสวนศกุนตลาพื้นอิฐหกเหลี่ยม สีแดงอ่อนตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ทอดยาวพาไปด้านหน้าทางขึ้นพระราชวังที่รายล้อมด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอกที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพเขียนสีน้ำมันที่จิตรกรเอกบรรจงวาดอย่างไว้อย่างสุดฝีมือ

  • สวนมัทนะพาธา

รอบด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ อันเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้ถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ "สวนมัทนะพาธา” ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น ทนต่อแดด และไอทะเลได้ดี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

12°41′52″N 99°57′48″E / 12.6978579°N 99.9632049°E / 12.6978579; 99.9632049