พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาอนิรุทธเทวา
(หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2471
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร)
ถัดไปพระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2494 (57 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา
บุตรนางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค
พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา
บุพการี
  • พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) (บิดา)
  • พระนมทัต พึ่งบุญ ณ อยุธยา (มารดา)
ภาพล้อพระยาอนิรุทธเทวา ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา นามเดิม หม่อมหลวงฟื้น ราชสกุลพึ่งบุญ เป็นอดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ[แก้]

พระยาอนิรุทธเทวา มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงฟื้น เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นบุตรของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) และพระนมทัต ประสิทธิ์ศุภการ พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านมีพี่-น้อง ร่วมมารดา ดังนี้

ได้เข้ารับการศึกษาในสำนักเรียนวัดมหาธาตุเป็นขั้นแรก จนจบหลักสูตรชั้น 1 จากนั้นมารดาจึงนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้เป็นมหาดเล็กห้องบรรทมในขั้นแรก เมื่อ พ.ศ. 2449 ต่อมารับราชการจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย จนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา คือ

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2453 เป็นนายรองขัน[1]หุ้มแพร ถือศักดินา 300
  • วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายสุนทรมโนมัย มหาดเล็กหุ้มแพรนายม้าต้น ศักดินา 400 [2]
  • วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2455 เป็นนายจ่ายง มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 600[3]
  • วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เป็นหลวงศักดิ์นายเวร มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 800[4]
  • วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กต้นเชือกเวรเดช ศักดินา 1000[5]
  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2459 เป็น พระยาอนิรุทธเทวา จางวางมหาดเล็ก ศักดินา 3000[6]

ตำแหน่งในราชการ คงรับราชการในตำแหน่งห้องพระบรรทมตลอดมา จนได้เป็นจางวางห้องที่พระบรรทม ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช[7]อธิบดีกรมมหาดเล็ก ผู้บัญชาการกรมมหรสพ และคงดำรงตำแหน่งนี้โดยตลอด จนออกจากราชการ เพราะยุบเลิกและเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469

พระยาอนิรุทธเทวา มีความสามารถทางนาฏศิลป์ในตัวพระลักษมณ์ ได้รับการฝึกหัดท่าละครจากพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูละครผู้ใหญ่ และยังมีความสามารถในการแสดงละครพูดละครร้องอันเป็นบทพระราชนิพนธ์ด้วย การแสดงละครร้องละครพูดนั้น ท่านมักรับบทเป็นตัวนาง

ภายหลังเมื่อออกจากราชการแล้ว พระยาอนิรุทธเทวาคงใช้ชีวิตอยู่กับการบำรุงนาฏศิลป์ มหรสพ ท่านมีคณะละครเป็นส่วนตัวของท่านเองคณะหนึ่ง ชื่อว่า "คณะละครบรรทมสินธุ์" (ตามชื่อบ้านของท่าน) และยังได้ช่วยเหลือดูแลคณะละครของท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ในรัชกาลที่ 5 อีกส่วนหนึ่งด้วย ภายหลังท่านจึงรับมรดกละครทั้งหมดมาดูแลเมื่อท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ถึงพิราลัย ใน พ.ศ. 2486 ซึ่งคณะละครทั้งสองนี้ได้ก่อกำเนิดบุคคลสำคัญทางวงการนาฏศิลป์เพิ่งขึ้นหลายท่าน บางท่านภายหลังยังได้มารับราชการในกรมศิลปากรต่อมา

พระยาอนิรุทธเทวาและคุณหญิงอนิรุทธเทวา มีความจงรักภักดียิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะเสด็จสวรรคตไป ทั้งสองก็ยังมีความจงรักภักดีและรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อมีการแสดงละครก็จะกราบบังคมทูลเชิญ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระวรราชเทวีและพระราชธิดาพระองค์เดียว เสด็จมาทอดพระเนตรเพื่อความสำราญพระหฤทัย แม้ในยามวิกฤติคราวกบฎบวรเดช ทั้งสองพระองค์ถูกเชิญไปประทับเพื่อความปลอดภัยในพระบรมมหาราชวัง ทำให้ไม่ทรงทราบข่าวจากภายนอก ทั้งสองก็อุตสาหะเร้นกายฝ่าวงล้อมทหารและประตูพระบรมมหาราชวังที่ลั่นดาลไว้ทุกชั้น เข้ามากราบทูลข่าวสารให้ทรงทราบ คราวสงครามโลกทั้งสอง ถุงน่องใยบัวเป็นของหายาก ทั้งสองก็พยายามเสาะแสวงหาเอาไปถวายถึงอังกฤษ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นพยานยืนยันได้ถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เสด็จสวรรคตไปก็ยังจงรักภักดีต่อหน่อเนื้อเชื้อไขที่มีอยู่เพียงพระองค์เดียวของล้นเกล้าล้นกระหม่อม

ถือได้ว่าพระยาอนิรุทธเทวา เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ได้อุปถัมภ์บำรุงนาฏศิลป์ไทยในช่วงที่กำลงตกต่ำ คือช่วงหลังสิ้นรัชกาลที่ 6 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตลอดจนช่วงรัฐนิยม ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ดำรงอยู่ไม่เสื่อมสูญไปจากสังคมไทย จนกระทั่งเมื่อกรมศิลปากรเริ่มฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ให้ประชาชนชมอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านก็อุตสาหะไปชมการแสดงและช่วยวิจารณ์ในข้อบกพร่องในการแสดงให้กับกรมศิลปากรอีกหลายครั้ง

ครอบครัว[แก้]

ด้านชีวิตครอบครัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สมรสพระราชทานกับ คุณหญิง เฉลา อนิรุทธเทวา ท.จ. เมื่อ พ.ศ. 2467 มีบุตร-ธิดา ร่วมกัน 3 คน คือ

  • นางงามเฉิด อนิรุทธเทวา
  • คุณหญิง งามฉลวย บุนนาค
  • พล.อ.เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา อดีตผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ลำดับที่ 13

ปัจฉิมวัย[แก้]

บั้นปลายชีวิต พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการ อาการได้ทรุดลงตลอดมา จนถึงแก่อนิจกรรม ณ บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2494 เวลา 9.20 น. รวมอายุได้ 57 ปี 233 วัน

ตำแหน่ง[แก้]

  • 13 กันยายน พ.ศ. 2458 ผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช
  • 26 กุมภาพันธ์ 2458 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[8]
  • 28 มีนาคม พ.ศ. 2458 จางวางห้องที่พระบรรทม[9]
  • เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 จางวางห้องที่พระบรรทม[10]
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - รองอธิบดีกรมมหาดเล็ก[11]
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2462 อธิบดีกรมมหาดเล็ก[12]
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2467 ผู้บัญชาการกรมมหรสพ[13]
  • 5 สิงหาคม พ.ศ. 2467 กลับไปเป็นอธิบดีกรมมหาดเล็กแต่ยังควบตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ[14]
  • พ.ศ. 2468 นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ประธานกรรมการธนาคารนครหลวงไทยคนแรก

ยศ[แก้]

ยศทหาร[แก้]

  • นายร้อยเอก[15]
  • นายพลตรี[16]

ยศกระทรวงวัง[แก้]

  • มหาเสวกโท[17]
  • มหาเสวกเอก[18]

ยศกรมมหาดเล็ก[แก้]

  • จางวางตรี[19]
  • จางวางโท[20]
  • จางวางเอก[21]

ยศกองเสือป่า[แก้]

  • นายหมู่ตรี[22]
  • นายหมู่โท[23]
  • นายหมู่เอก[24]
  • นายหมวดเอก[25]
  • 26 กุมภาพันธ์ 2458 – นายกองตรี[26]
  • – นายกองเอก
  • 9 กันยายน 2461 – นายนาวาเอก ราชนาวีเสือป่า[27]
  • นายพลเสือป่า[28]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข็มและเหรียญต่างๆ ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า 2414)
  4. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  5. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ วันที่ 29 ตุลาคม พุทธศักราช 2457
  6. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  7. ประกาศกรมมหาดเล็ก ตั้งผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช
  8. ประกาศกรมเสือป่า เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวรเสือป่า
  9. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  10. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  11. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  12. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  13. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  14. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์แต่งเครื่องทหารรักษาวัง ว.ป.ร. เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๑๗, ๖ สิงหาคม ๒๔๕๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๘๔, ๖ สิงหาคม ๒๔๖๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานยศพิเศษกรมวัง, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การแต่งกายและเครื่องยศ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๑๒, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๑๘, ๒๗ สิงหาคม ๒๔๕๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมมหาดเล็ก เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๙๙, ๕ มกราคม ๒๔๖๑
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๕๖, ๑ มกราคม ๒๔๖๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๐, ๒๓ ธันวาคม ๑๓๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๒๔, ๖ ตุลาคม ๑๓๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๙๘, ๑ มีนาคม ๒๔๕๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนยศเสือป่า เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๙๓, ๔ ธันวาคม ๒๔๕๗
  26. พระราชทานยศเสือป่า
  27. แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๑๒, ๗ มีนาคม ๒๔๖๒
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙, ๖ เมษายน ๒๔๕๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๗๖, ๙ มกราคม ๒๔๖๓
  32. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกา สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๗, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
  33. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๗, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  36. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๘, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕, ๒๘ พฤษภาคม ๑๓๐