กำจร มนุญปิจุ
กำจร มนุญปิจุ | |
---|---|
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
ดำรงตำแหน่ง 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล |
ถัดไป | ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2469 จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (87 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางวิภาวรรณ มนุญปิจุ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นาวาตรี กำจร มนุญปิจุ ร.น.ราชบัณฑิต เกิดวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ที่ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของ ขุนกัลยาณวิทย์ (เกิด มนุญปิจุ) อดีตศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี และนางกิม มนุญปิจุ สมรสกับนางวิภาวรรณ มนุญปิจุ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายณัฐเสกข์ (กวิช) มนุญปิจุ
ศ.น.ต.กำจร มนุญปิจุ เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอินทรีย์เคมี เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการให้เกิดความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และได้รับอิสริยาภรณ์ Den Tiroler Adler-Orden in Gold และ Grosse Goldene Ehrenzeichen Fur Verdienste Um Die Republik Osterreich จากประเทศออสเตรีย [1] ในเวลาเดียวกันก็มีความรอบรู้ และมีความสามารถยิ่งในด้านการบริหารการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นผู้คิดค้นและดำเนินการทำระบบการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2504-2550 โดยจัดการสอบคัดเลือกร่วมครั้งแรก สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และต่อมาได้ขยายใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ [2] อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ทำให้การอุดมศึกษาไทยก้าวทันพัฒนาการในยุคโลกาภิวัตน์ มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล
ประวัติการศึกษา
[แก้]บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- พ.ศ. 2483-2484 - มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2485-2488 - วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2494-2497 - ปริญญาเอก สาขาอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ได้รับทุนจากราชนาวี
ปริญญากิตติมศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 - ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2547
ประวัติการทำงาน
[แก้]ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต.กำจร มนุญปิจุ ร.น.ราชบัณฑิต เริ่มรับราชการ และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และต่อมาได้ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 2514–2518 และรักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2519-2521 ระหว่างนี้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการวางระบบการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทำให้กระบวนการบริหารจัดการสอบมีขั้นตอนโปร่งใสและมีประสิทธิภาพจวบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อ.ก.ม.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2516-2519 และทั้งยังได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร International Organization of Chemical Sciences for Development (IOCD) ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ให้เป็น Vice President สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2524
ประวัติการรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2489-2494 - ประจำกองวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารเรือ
- พ.ศ. 2498-2503 - ผู้ช่วยหัวหน้ากองเคมี กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
- พ.ศ. 2503-2512 - เลขานุการคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2509-2529 - ศาสตราจารย์วิชาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2513-2516 - รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2514-2529 - หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2514-2518 - คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2519-2521 - รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน้าที่การงานในปัจจุบัน
[แก้]- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหิดล
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2535–2547 - อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2531-2556 - กรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พ.ศ. 2532-2556 - ราชบัณฑิต สาขาวิชาเคมี สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
- พ.ศ. 2546-2553 - ประธานคณะกรรมการ ด้านหลักสูตร วิชาการ และวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ
[แก้]ได้รับพระราชทาน'พระธาตุพนมทองคำ' เครื่องหมายของการประกอบการอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2537
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]นายกำจร ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สิริรวมอายุ 87 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]นาวาตรี กำจร มนุญปิจุ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ทีโรล:
- ออสเตรีย:
- พ.ศ. 2530 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือที่ระลึกในวาระครบเกษียณอายุราชการ ของศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ, 2529.
- ↑ หนังสือที่ระลึกในวาระ 6 รอบปีนักษัตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กำจร มนุญปิจุ, 2541.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2469
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- ราชบัณฑิต
- นักวิชาการชาวไทย
- นักเคมีชาวไทย
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากอำเภอเมืองปทุมธานี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล