การเพาะเลี้ยงวงศ์ปลาแซลมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การเลี้ยงปลาแซลมอน)
ผลผลิตการเลี้ยงปลาแซลมอนเป็นตัน
ปี 1950-2010 ตามรายงานของ FAO[1]
ฟาร์มปลาแซลมอนในกลุ่มเกาะของประเทศฟินแลนด์

การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในน้ำ[2] (อังกฤษ: aquaculture of salmonids) เป็นการเลี้ยงแล้วจับปลาในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) ในสถานการณ์ที่ควบคุมไว้ไม่ว่าจะเพื่อการพาณิชย์หรือเพื่อนันทนาการ ปลาในวงศ์ (โดยเฉพาะจำพวกปลาแซลมอนและปลาเรนโบว์เทราต์) บวกกับปลาคาร์ป และปลาทิลาเพีย เป็นปลาสามชนิดที่เพาะเลี้ยงกันมากที่สุด[3] ส่วนปลาในวงศ์เองที่เลี้ยงทางพาณิชย์มากที่สุดก็คือปลาแซลมอนแอตแลนติก สหรัฐเลี้ยงปลาแซลมอนชินูกและปลาเรนโบว์เทราต์มากที่สุดเพื่อตกเป็นกีฬาและจับกินแบบโลว์เท็ค (subsistence fishing) เป็นฟาร์มเนื่องกับระบบบริหารจัดการของรัฐบาลกลางสหรัฐคือ National Fish Hatchery System[4] ยุโรปเลี้ยงปลาเทราต์สีน้ำตาลมากสุดเพื่อตกเป็นนันทนาการ[5] ปลานอกวงศ์ปลาแซลมอนที่เลี้ยงอย่างสามัญที่สุดก็คือ ปลาทิลาเพีย, ปลาหนัง, black sea bass (วงศ์ปลากะรังพันธุ์ Centropristis striata) และปลาบรีม [A]

ในปี 2007 การเลี้ยงปลาแซลมอนมีมูลค่าถึง 10,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 347,000 ล้านบาท) ทั่วโลก ผลผลิตของฟาร์มปลาแซลมอนเพิ่มเป็นสิบเท่าในช่วง 25 ปีระหว่าง 1982-2007 ในปี 2012 ประเทศผลิตชั้นนำคือนอร์เวย์ ชิลี สกอตแลนด์ และแคนาดา[6]

เป็นเรื่องโต้แย้งอย่างมากว่า การเลี้ยงปลาแซลมอนจำนวนมากขนานี้มีผลต่อระบบนิเวศและต่อสุขภาพมนุษย์เท่าไร ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือผลต่อปลาแซลมอนธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในทะเลอื่น ๆ ประเด็นบางอย่างมีมูลจากการแข่งขันทางพาณิชย์ในเรื่องการครองตลาดและราคาปลาระหว่างชาวประมงปลาแซลมอน (ธรรมชาติ) เพื่อการพาณิชย์กับอุตสาหกรรมเลี้ยงปลาแซลมอนที่กำลังพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว[7]

วิธี[แก้]

ที่ฟักไข่ปลาแซลมอนในชนบทประเทศสกอตแลนด์
ไข่ปลาแซลมอนที่เพิ่งผสมเชื้อใหม่ ๆ ให้สังเกตตาและกระดูกสันหลังที่กำลังพัฒนา
ลูกปลาที่เพิ่งออกจากไข่ อีก 24 ชม. มันจะเรียกว่า fry และไม่ติดอยู่กับไข่แดงอีกต่อไป

การทำฟาร์มปลาแซลมอนสามารถเปรียบเทียบกับการจับปลาธรรมชาติที่ใช้เทคนิกการประมงพาณิชย์ แต่แนวคิดว่าอะไรเป็นปลา "ธรรมชาติ" (wild) ตามสถาบันการตลาดอาหารทะเลอะแลสก้าก็รวมเอาปลาที่ฟักในบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไว้ระยะสั้น ๆ แล้วปล่อยลงทะเล ซึ่งบางคนจัดเป็นการเลี้ยงปลาแบบ ocean ranching เปอร์เซ็นต์ปลาแซลมอนที่จับได้เนื่องกับ ocean ranching จะขึ้นอยู่กับสปีชีส์และทำเล[8]

วิธีเลี้ยงปลาแซลมอนเริ่มจากการทดลองผสมพันธุ์ปลาในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ฟักไข่ปลา (fish hatchery) ก็ได้ตั้งขึ้นทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือแล้ว ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โปรแกรมการเพิ่มจำนวนปลาอาศัยที่ฟักไข่ปลาก็ได้ตั้งขึ้นในสหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น และรัสเซีย ส่วนการใช้กรงตาข่ายลอยน้ำเริ่มที่นอร์เวย์ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960[9]

ปลาแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์มบางที่จะแบ่งเป็นสองระยะแต่บางที่ก็มากกว่านั้น ระยะแรก แซลมอนจะฟักจากไข่แล้วเลี้ยงในบ่อน้ำจืดบนดิน การเพิ่ม accumulated thermal unit (ATU) หรือการเพิ่มอุณหภูมิน้ำในช่วงฟักไข่จะทำให้ปลาออกจากไข่ได้เร็วขึ้น[10] เมื่อลูกปลาถึงอายุ 12-18 เดือน ซึ่งเรียกว่า smolt ก็จะย้ายเข้าไปอยู่ในกรงตาข่ายลอยน้ำในทะเลที่ยึดไว้ในอ่าวหรือฟยอร์ดที่บังลมบังกระแสน้ำได้บ้างตามชายฝั่ง การฟาร์มปลาในทะเลเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า mariculture โดยเลี้ยงด้วยอาหารอัดเม็ดเป็นเวลา 12-24 เดือนแล้วจึงจับ[11]

นอร์เวย์ผลิตปลาแซลมอนเลี้ยง 33% ของโลกและชิลีผลิต 31%[12] เพราะชายฝั่งทะเลของประเทศต่างก็มีอุณหภูมิน้ำเหมาะสมและมีบริเวณหลายแห่งที่ปลอดภัยจากพายุ อนึ่ง ชิลียังอยู่ใกล้ที่มีการประมงปลาเหยื่อซึ่งใช้เป็นอาหารสำหรับปลาแซลมอนเลี้ยง สกอตแลนด์และแคนาดาก็เป็นผู้ผลิตสำคัญด้วย[13]

ระบบการเลี้ยงปลาแซลมอนในปัจจุบันให้ผลผลิตสูง (intensive) เจ้าของเป็นบริษัทธุรกิจการเกษตรอันมหึมา ผลิตเป็นสายการประกอบ (assembly line) ในระดับอุตสาหกรรม ในปี 2003 บริษัทเพียงแค่ 5 บริษัทผลิตปลาแซลมอนเลี้ยงครึ่งหนึ่งของโลก[14]

ที่ฟักไข่ปลา (Hatcheries)[แก้]

ที่ฟักไข่ปลาเพื่อพาณิชย์ที่ส่งลูกปลาแซลมอนคือ smolt ให้กับผู้เลี้ยงปลาในกรงทะเล ได้เริ่มพัฒนาการเลี้ยงโดยนำน้ำจืดที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ภายในที่ฟักไข่ปลา (เป็นระบบที่เรียกว่า recirculating aquaculture systems ตัวย่อ RAS) จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ทำให้ควบคุมอุณหภูมิเพื่อเพิ่มหรือลดอัตราการเติบโตของปลาตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างประหยัดกว่า

การฟักไข่ดั้งเดิมใช้น้ำแบบไหลผ่าน คือ น้ำที่ได้จากน้ำพุหรือแหล่งอื่นจะให้ไหลเข้าไปในที่ฟักไข่ ให้ปลาออกจากไข่ในถาด แล้วเลี้ยงลูกปลาให้โตเป็น smolt ในรางน้ำ (raceway) ของเสียของลูกปลาระยะ fry ที่กำลังโตและจากอาหารโดยปกติจะปล่อยลงในแม่น้ำใกล้ ๆ ที่ฟักไข่แบบน้ำไหลผ่าน (flow-through hatcheries) ดั้งเดิมเช่นนี้ เช่นที่พบในระบบการเพิ่มประชากรปลาอาศัยที่ฟักไข่ในรัฐอะแลสกา ใช้น้ำมากกว่า 100 ตันเพื่อให้ได้ลูกปลา (smolt) หนัก 1 กก.

แทนการเลี้ยงปลาในถังน้ำจืด อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้ช่องน้ำวางไข่ (spawning channel) คือเป็นช่องน้ำที่ทำขึ้น ปกติจะอยู่ใกล้ ๆ กับทางน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ ผนังด้านข้างจะทำเป็นคอนกรีตหรือหินดาดโดยพื้นเจะป็นก้อนกรวด น้ำจากทางน้ำข้าง ๆ จะปัมพ์เข้าไปที่ต้นช่องน้ำโดยบางครั้งมีสระพักน้ำให้ตกตะกอน การวางไข่จะได้ผลในช่องน้ำนี้มากกว่าทางน้ำธรรมชาติที่ติดกันเพราะควบคุมน้ำท่วมได้ดีกว่า เพราะบางปีน้ำอาจพัดเอารังวางไข่ (redd) ของปลาไป แต่เพราะไม่มีน้ำท่วม ช่องเช่นนี้บางครั้งต้องลอกเอาสิ่งตกตะกอนออก เพราะจริง ๆ น้ำท่วมที่พัดพาเอารังปลาไปก็ทำความสะอาดทางน้ำธรรมชาติไปด้วย แต่การเปิดให้ปลารับปรสิตและจุลชีพก่อโรคที่มีอยู่ตามธรรมชาติจากน้ำที่ไม่ได้ควบคุม บวกกับค่าใช้จ่ายสูงเพื่อทำช่องน้ำวางไข่ ทำให้เทคโนโลยีนี้ไม่เหมาะแก่ธุรกิจเลี้ยงเแซลมอน ดังนั้น โปรแกรมเพิ่มจำนวนปลาที่ไม่หวังผลกำไร (ของรัฐ หรือของเอกชน) เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์ได้

ฟาร์มปลาแซลมอนที่ Isle of Skye ประเทศสกอตแลนด์
ตาข่ายทำด้วยโลหะผสมทองแดงไม่เขรอะเป็น biofouling หลังจากติดตั้งในน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (ส่วนหน้า) เทียบกับท่อพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) ที่เขรอะไปด้วยไฮดรอยด์ (hydroid) ซึ่งเป็นไฮโดรซัวในช่วงวงจรชีวิตระยะหนึ่ง (ส่วนหลัง)

กรงทะเล[แก้]

กรงในทะเล (อังกฤษ: sea cages, sea pens, net pens) ปกติทำเป็นตาข่ายมีเหล็กกล้าหรือพลาสติกเป็นโครง อาจล้อมเป็นวงกลมหรือเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหน้าตัด 10-32 ม. ลึก 10 ม. มีปริมาตร 1,000-10,000 ลูกบาศก์เมตร กรงใหญ่อาจมีปลาถึง 90,000 ตัว

กรงมักจะวางต่อ ๆ กันรวมกับเป็นฟาร์ม (seafarm, seasite) โดยมีท่าเรือลอยน้ำและทางเดินตามขอบ ๆ กรง อาจขึงตาข่ายรอบฟารม์อีกทีหนึ่งเพื่อกันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทะเลที่ล่าเหยื่ออื่น ๆ ปลาจะอยู่อย่างหนาแน่นต่างกันขึ้นอยู่กับสปีชีส์ สำหรับปลาแซลมอนแอตแลนติกอยู่ที่ 8-18 กก./ม3 และสำหรับปลาแซลมอนชินูกอยู่ที่ 5-10 กก./ม3[11][15] เทียบกับระบบปิด กรงตาข่ายเปิดเช่นนี้ลดค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีอะไรกั้นการปล่อยของเสีย ปรสิต และโรคลงในน้ำทะเลตามชายฝั่งรอบ ๆ[14] ปลายังอาจหนีออกจากกรงไปสู่ทะเลได้ เช่นในช่วงมีพายุ

วิธีเลี้ยงปลาแซลมอนเช่นนี้เริ่มใช้กับปลากินเหยื่ออื่น ๆ เช่น ปลาคอด ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (bluefin tuna) ปลาแฮลิบัต และปลาสแน็ปเปอร์ (snapper) โดยเป็นนวัตกรรม แต่นี่ก็น่าจะสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลาแซลมอน[14][16]

นวัตกรรมอีกอย่างก็คือการใช้โลหะผสมทองแดงเป็นวัสดุของตาข่าย เพราะมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ (คือทำลายแบคทีเรีย ไวรัส รา สาหร่าย หนอนปล้อง เพรียง มอลลัสกา และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ) ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกาะที่กรง/ตาข่าย (เป็นสิ่งสะสมที่เรียกว่า biofouling) จึงช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเปลี่ยนตาข่ายที่จำเป็นถ้าใช้วัสดุอื่น การต้านจุลชีพของโลหะผสมทองแดงยังทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดและถูกอนามัยสำหรับปลาเลี้ยง

อาหาร[แก้]

ปลาแซลมอนเป็นสัตว์กินเนื้อ ปัจจุบันเลี้ยงด้วยอาหารผสมที่มีทั้งเนื้อปลาและส่วนผสมอื่น ๆ รวมทั้งผลผลิตพลอยได้จากข้าวสาลี ถั่วเหลือง และขนเป็ดไก่ที่ทำเป็นอาหารสัตว์ เพราะเป็นสัตว์น้ำกินเนื้อ ปลาจึงไม่สามารถรับหรือแปรคาร์โบไฮเดรตที่มาจากพืชให้เป็นพลังงาน และใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลัก[ต้องการอ้างอิง] เพราะอาหารสัตว์ที่ผลิตจากปลาทั่วโลกไม่ได้เพิ่มขึ้นภายในระยะ 30+ ปีที่ผ่านมาโดยอยู่ในระดับสูงสุดที่ผลิตได้อย่างคงยืน (maximum sustainable yield) อยู่แล้ว ึจึงแสดงว่า อาหารนี้ได้เปลี่ยนจากใช้เลี้ยงไก่และหมูไปเลี้ยงปลาและกุ้งแทนเพราะการเลี้ยงสัตว์น้ำได้มากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน[17]

อาหารสัตว์บดทำด้วยปลา (fishmeal)

นักวิชาการก็ยังพยายามแทนที่โปรตีนในอาหารปลาโดยสกัดทำจากพืช[18] จนถึงปี 2014 มีกระบวนการซึ่งใช้เอนไซม์ที่สามารถลดคาร์โบไฮเดรตของข้าวบาร์เลย์ จึงทำให้เป็นอาหารปลามีโปรตีนสูงที่เหมาะกับแซลมอน[19] ของที่มาใช้ทดแทนเนื้อปลาอื่นก็ยังมีอยู่ และอาหารที่ไม่มีเนื้อปลาเลยก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ฟารม์เลี้ยงปลาแซลมอนเป็นระบบปิดในสกอตแลนด์ใช้หนอน (ragworm วงศ์ Nereididae), สาหร่าย และกรดอะมิโนเป็นอาหาร[20] อาหารสัตว์ทางพาณิชย์ปกติจะกำหนดโดยกำหนดการเชิงเส้นซึ่งให้ผลเป็นค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ซึ่งเท่ากับแข่งขันกับอาหารเลี้ยงไก่และสุกรที่ใช้กำหนดการแบบเดียวกัน ใช้องค์ประกอบอาหารอย่างเดียวกัน แต่กำหนดการเหล่านี้ก็แสดงว่าอาหารสัตว์เป็นเนื้อปลามีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำเลี้ยงมากกว่าเป็นอาหารไก่ เพราะสามารถทำให้ไก่มีรสชาติคล้ายปลา[21]

การทดแทนส่วนประกอบอาหารอาจลดระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ผู้บริโภคให้คุณค่ามากในปลาแซลมอน แต่ถ้าใช้น้ำมันพืชเป็นแหล่งพลังงานเมื่อปลากำลังโตแล้วให้อาหารที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงไม่ว่าจะจากน้ำมันปลา น้ำมันสาหร่าย หรือน้ำมันพืชบางอย่าง 2-3 เดือนก่อนจับปลา ปัญหานี้ก็จะไม่มี[22] ปัจจุบัน น้ำมันปลาที่ผลิตได้เกินครึ่งในโลกใช้เลี้ยงปลาแซลมอน[23]

อนึ่ง ยังให้ปลาแซลมอนเลี้ยงกินสารรงควัตถุประเภทแคโรทีนอยด์ (carotenoid) คือ แอสตาแซนทิน (astaxanthin) แต่ก็มีแคนทาแซนทิน (canthaxanthin) ด้วย เพื่อให้สีเนื้อเหมือนกับสีธรรมชาติ ซึ่งก็มีสารรงควัตถุเดียวกันแต่ได้จากอาหารตามธรรมชาติ[24]

ถ้าวัดน้ำหนักเมื่อแห้ง ต้องจับปลาธรรมชาติถึง 2-4 กก. เพื่อผลิตปลาแซลมอน 1 กก.[25] เทียบกับปลาแซลมอนธรรมชาติที่ต้องได้ปลาเหยื่อประมาณ 10 กก. จึงจะได้เนื้อ 1 กก. โดยเป็นการโอนต่อพลังงานตามระดับโซ่อาหารที่มีตามธรรมชาติ ที่ต่างกันเช่นนี้ก็เพราะอาหารเลี้ยงปลาแซลมอนมีส่วนผสมอื่น ๆ นอกจากเนื้อปลาและเพราะปลาเลี้ยงไม่ต้องใช้พลังงานล่าเหยื่อ

บริษัทอเมริกันคือคาร์กิลล์ได้ทำงานวิจัยร่วมกับบริษัทขายอาหารเลี้ยงปลาคือ EWOS เพื่อผลิตอาหารทางเลือกในโปรแกรมอาหารราพิด (RAPID) และคอมพาส (COMPASS) ในนอร์เวย์ ซึ่งตรวจดูสารอาหารหลักที่จำเป็นในอาหารปลาโดยขึ้นอยู่กับเขตภูมิภาคและฤดู เมื่อใช้อาหารราพิด ฟาร์มแซลมอนอาจลดเวลาเลี้ยงปลาเหลือเพียงแค่ 15 เดือนซึ่งเร็วกว่าปกติ 1/5 (20%)[26][27]

การจับปลา[แก้]

วิธีการจับปลาปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้เรือที่มีบ่อน้ำเพื่อส่งปลาเป็น ๆ ไปยังโรงงาน ทำให้สามารถฆ่าปลา เอาเลือดออก แล้วแกะกระดูกออกก่อนที่ตัวปลาจะแข็ง ทำให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์คุณภาพดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่มีมนุษยธรรมดีกว่า เพื่อให้ได้คุณภาพดีสุด จำเป็นต้องทำให้ปลาเป็น ๆ เครียดน้อยที่สุดจนกระทั่งฆ่าด้วยไฟฟ้าและการตี แล้วกรีดเหงือกเพื่อเอาเลือดออก[28] การปรับปรุงเวลาการแปรรูปและความสดของปลามีผลสำคัญทางพาณิชย์ ซึ่งจึ้ให้ผู้ประมงปลาธรรมชาติต้องปรับปรุงวิธีการแปรรูปของตนเพื่อให้ได้ความเท่าเทียมกัน

วิธีก่อนหน้านี้เป็นการใช้อวนแบบ sweep net ซึ่งทำงานคล้ายกับอวนล้อมจับมีสายมาน (purse seine) คือเป็นอวนขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักถ่วงข้างล่าง จะกางข้ามตลอดกรงปลาโดยส่วนล่างสุดจะไปถึงก้นกรงปลา แล้วก็จะยกดึงเชือกที่ผูกติดกับมุมอวนด้านล่าง รวบปลาเข้าไปในตาข่าย ก่อนฆ่า ปลาจะทำให้หมดสติด้วยน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก แต่วิธีเช่นนี้กำลังเลิกใช้ในบางประเทศเพราะปัญหาทางจริยธรรมและคุณภาพสินค้า ระบบที่ก้าวหน้ากว่าจะฆ่าปลาโดยทันทีและมีมนุษยธรรมยิ่งกว่าโดยตีปลาที่หัวด้วยลูกสูบลมอัด (pneumatic piston) แล้วตัดเหงือก (gill arch) เอาเลือดออกตามด้วยแช่ในน้ำเย็น วิธีฆ่าเช่นนี้มีเป้าหมายให้เสียเกล็ดปลาน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้ปลาหลั่งฮอร์โมนเครียดซึ่งมีผลเสียต่อคุณภาพเนื้อ[15]

ปลาธรรมชาติเทียบกับปลาเลี้ยง[แก้]

ปลาแซลมอนธรรมชาติจะจับจากที่อยู่ตามธรรมชาติด้วยเทคนิกการประมงทางพาณิชย์ โดยมากจับได้ในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และรัสเซีย ตารางต่อไปนี้แสดงผลผลิตของการประมงปลาธรรมชาติและการเลี้ยงปลาแซลมอนในระยะ 25 ปีตามรายงานของ FAO[29] แต่รัสเซีย ญี่ปุ่น และอะแลสก้าต่างก็มีที่ฟักปลาเพื่อปล่อยเพิ่มจำนวนปลาธรรมชาติ ซึ่งจริง ๆ จัดเป็นการเลี้ยงปลาที่เรียกว่า ocean ranching แต่ก็ระบุว่าเป็นปลาธรรมชาติ (wild) ทั้งในรายงานของ FAO และในการตลาด

การผลิตปลาแซลมอน (ตัน) แบ่งตามสปีชีส์
1982 2007 2013
สปีชีส์ ปลาธรรมชาติ ปลาเลี้ยง ปลาธรรมชาติ ปลาเลี้ยง
ปลาแซลมอนแอตแลนติก 10,326 13,265 2,989 1,433,708 2,087,110[30]
ปลาเรนโบว์เทราต์ 171,946 604,695
ปลาแซลมอนโคโฮ (Coho salmon) 42,281 2,921 17,200 115,376
ปลาแซลมอนชินูก 25,147 8,906 11,542
ปลาแซลมอนชมพู (Pink salmon) 170,373 495,986
ปลาแซลมอนชัม (Chum salmon) 182,561 303,205
ปลาแซลมอนซ็อกอาย 128,176 164,222
ผลผลิตปลาแซลมอนทั้งหมด
1982 2007
ตัน อัตราร้อยละ ตัน อัตราร้อยละ
ปลาธรรมชาติ 558,864 75 992,508 31
ปลาเลี้ยง 188,132 25 2,165,321 69
ทั้งหมด 746,996 3,157,831

ปัญหา[แก้]

ปัจจุบันมีเรื่องโต้แย้งอย่างมากว่า การเลี้ยงปลาแซลมอนจำนวนมากขนาดนี้มีผลต่อระบบนิเวศและต่อสุขภาพมนุษย์เท่าไร ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือผลต่อปลาแซลมอนธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในทะเลอื่น ๆ และผลต่อรายได้ของชาวประมงปลาแซลมอนเพื่อพาณิชย์[7] แต่ผลที่ได้จากโปรแกรมเพิ่มลูกปลาตามธรรมชาติ เช่น ที่เพิ่มการจับปลา "ธรรมชาติ" ในรัฐอะแลสกาได้เป็นสิบ ๆ เปอร์เซ็นต์ (20-50%) ก็ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องปราศจากข้อโต้แย้ง และจำนวนปลาที่จับได้ในอะแลสกาก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ดำเนินการโดยสมาคมเลี้ยงปลาแถบอะแลสก้าเป็นอย่างมาก อนึ่ง ความยั่งยืนของการเพิ่มลูกปลาแล้วจับเป็นปลา "ธรรมชาติ" ก็เป็นเรื่องที่ก่อข้อโต้แย้งอย่างเผ็ดร้อน[31] ทั้งในมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ทางการเมือง และทางการตลาด

ข้อโต้แย้งจากมุมมองต่าง ๆ เช่นนี้เป็นเหตุให้องค์กร Marine Stewardship Council (MSC) พักการให้การรับรองการประมงปลาแซลมอนในอะแลสก้าในปี 2012[32] (เป็นการรับรองว่าเป็นการประมงแบบ "ยั่งยืน") แล้วต่อมาจึงถึงให้อีก แต่การรับรองการประมงในเขต Prince William Sound ซึ่งเป็นบริเวณที่ตกปลาได้มีมูลค่ามากที่สุดในรัฐ[33] ก็ยังไม่ได้การรับรองมาหลายปีแล้ว (คือยู่ในสถานะ "กำลังประเมิน")

sea lice บนหลังปลาแซลมอนแอตแลนติก

โรคและปรสิต[แก้]

ในปี 1972 ปรสิตนอก (ectoparasite) ชั้นหนอนตัวแบน (monogenea) สกุล Gyrodactylus จากปลาเทราต์และแซลมอนเป็น ๆ จากสวีเดน (เพราะปลาในทะเลบอลติกมีภูมิต้านทาน) ได้กระจายไปในที่ฟักไข่ปลาซึ่งรัฐเป็นผู้ดำเนินการในนอร์เวย์ จากที่ฟักไข่ปลา ไข่และลูกปลา (ทั้ง smolt และ fry) ก็ได้นำไปปล่อยที่แม่น้ำต่าง ๆ มากมายเพื่อเพิ่มจำนวนปลาแซลมอนธรรมชาติ แต่กลับทำลายล้างกลุ่มประชากรบางกลุ่ม[34]

ในปี 1984 มีการค้นพบโรคโลหิตจางในแซลมอนที่ติดต่อได้ (ISAv) ในที่ฟักไข่ปลาแซลมอนแอตแลนติกในนอร์เวย์ โรคระบาดคราวนี้ทำให้ปลาตาย 80% เป็นโรคเกิดจากไวรัส และปัจจุบันเป็นภัยสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจฟาร์มปลาแซลมอน เป็นโรคที่อยู่ในรายการ List One ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งบังคับให้ฆ่าปลาทั้งฝูงถ้ายืนยันได้ว่าเกิดโรคระบาดในฟาง ISAv มีผลเสียหายทางธุรกิจต่อฟาร์มแซลมอนในประเทศชิลี นอร์เวย์ สกอตแลนด์ และแคนาดาที่เกิดโรค[35]

โรคทำให้ปลาที่ติดโรคมีเลือดจางเหมือนกับชื่อ ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์เม็ดเลือดแดงของปลามีดีเอ็นเอ จึงทำให้ติดไวรัสได้ ทำให้ปลามีเหงือกซีด ว่ายน้ำใกล้ ๆ ผิวน้ำ พยายามหายใจ แต่โรคก็อาจเกิดโดยปลาไม่ปรากฏอาการภายนอก โดยปลาจะอยากอาหารตามปกติแต่ในที่สุดอยู่ดี ๆ ก็ตาย โรคอาจจะระบาดไปอย่างช้า ๆ ทั่วฟาร์มปลา และในกรณีแย่สุด อัตราการตายอาจถึง 100% โรคยังเป็นอันตรายต่อปลาธรรมชาติที่มีน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วย การแก้ไขรวมการพัฒนาวัคซีนและเพิ่มความต้านทานโรคทางพันธุกรรม[36]

ตามธรรมชาติ ระดับการติดต่อโรคและปรสิตจะค่อนข้างน้อย เพราะปลาที่อ่อนแอจะถูกล่ากินโดยธรรมชาติ แต่ในกรงตาข่ายที่ปลาอยู่อย่างหนาแน่น นี่อาจกลายเป็นโรคระบาด โรคและปรสิตในปลาเลี้ยงอาจไปติดปลาธรรมชาติอีกด้วย งานศึกษาในรัฐบริติชโคลัมเบียได้สัมพันธ์การกระจายปรสิตคือ sea lice (วงศ์ Caligidae) จากฟารม์แซลมอนในแม่น้ำไปยังปลาแซลมอนชมพูธรรมชาติที่อยู่ในแม่น้ำเดียวกัน[14] คณะกรรมาธิการยุโรปสรุปในปี 2002 ว่า แม้การลดลงของปลาแซลมอนธรรมชาติจะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำนวนปลาธรรมชาติที่ติด sea lice กับการมีกรงเลี้ยงปลาในบริเวณน้ำกร่อย (estuary) เดียวกัน[37]

มีรายงานปี 2007 (Krkosek et al) ว่าปลาแซลมอนธรรมชาติทางชายฝั่งตะวันตกของแคนาดากำลังจะสูญพันธุ์เนื่องกับ sea lice ที่มาจากฟาร์มแซลมอนใกล้ ๆ[38] แต่นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก็ขัดแย้งไม่เห็นด้วย[39] โดยจำนวนปลาที่จับได้ต่อ ๆ มาก็บ่งว่านี้เป็นพยากรณ์ที่ผิดพลาด

ในปี 2011 ฟารม์แซลมอนในสกอตแลนด์เริ่มใช้ปลานกขุนทองเลี้ยงเพื่อทำความสะอาดปรสิตนอกของแซลมอน[40][41]

ทั่วโลก การผลิตแซลมอนลดลง 9% ในปี 2015 โดยมากเพราะการระบาดของ sea lice ในสกอตแลนด์และนอร์เวย์[42][43][44] มีการใช้แสงเลเซอร์เพื่อลดการติดปรสิต[45]

ในปี 2017 ฟารม์แซลมอนครึ่งหนึ่งของสกอตแลนด์ติด sea lice นี่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก โดยปรสิตทนการกำจัดได้ยิ่งกว่าที่คิด นักวิทยาศาสตร์ที่ได้เปลี่ยนเป็นนักประท้วงและผู้ทำการตรวจสอบ เป็นประธานองค์กรต่อต้านการเลี้ยงปลา คือ Global Alliance Against Industrial Aquaculture กล่าวว่า โรคต่าง ๆ แพร่ไปทั่วฟาร์มปลา ปัญหาของเสียควบคุมไม่ได้ และสารเคมีก็ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามบุคคลนี้ อุตสาหกรรมเลี้ยงปลาใกล้จะทำลายตัวเองเข้าทุกที[46]

มลพิษและสิ่งปนเปื้อน[แก้]

ฟาร์ปลาแซลมอนปกติจะอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลที่มีคุณภาพน้ำดี มีน้ำไหลเวียนในอัตราสูง มีกระแสน้ำเร็วพอไม่ให้พื้นทะเลเกิดมลภาวะแต่ช้าพอไม่ให้กรงตาข่ายเสียหาย มีการป้องกันจากพายุหนัก ๆ มีน้ำลึกพอ อยู่ในระยะทางพอควรจากสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นท่าเรือ โรงงาน และบริการทางโลจิสติกส์เช่นสนามบิน โลจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาหารและแรงงานต้องส่งไปที่ฟาร์มปลาและผลผลิตต้องส่งไปยังสถานโลจิสติกส์ การเลือกที่ตั้งฟารม์ยังยุ่งยากเพราะปัญหาการได้ใบอนุญาตซึ่งมีแรงกดดันทางการเมืองที่ซับซ้อนในประเทศต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถตั้งฟาร์มในสถานที่ดีสุดได้ ในฟาร์มที่ไม่มีกระแสน้ำดีพอ โลหะหนักอาจสะสมที่พื้นทะเลใกล้ ๆ ฟารม์ โดยเฉพาะทองแดงและสังกะสี[15]

สารปนเปื้อนยังพบในเนื้อปลาทั้งปลาเลี้ยงปลาธรรมชาติอย่างสามัญอีกด้วย[47] งานศึกษาปี 2004 ที่พิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Science วิเคราะห์ปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติว่ามีสารปนเปื้อนคือ organochlorine (เช่น dioxin) หรือไม่ แล้วพบว่าปลาเลี้ยงมีสารปนเปื้อนมากกว่า ในบรรดาปลาเลี้ยง ปลาแซลมอนยุโรป (โดยเฉพาะจากสกอตแลนด์) มีระดับสูงสุด และปลาแซลมอนจากชิลีมีระดับต่ำสุด[48]

งานศึกษาติดตามในปี 2005 ได้ยืนยันข้อมูลนี้ คือได้พบระดับ dioxin, สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่มีคลอรีน, PCB และสารปนเปื้อนอื่น ๆ ในปลาแซลมอนเลี้ยงอาจถึงสิบเท่าของปลาแซลมอนแปซิฟิกธรรมชาติ[49] งานนี้พบว่า บุคคลสามารถรับประทานกรดไขมันโอเมกา-3 คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) + DHA (Docosahexaenoic acid) จากปลาแซลมอนเลี้ยง (หรือธรรมชาติ) ให้ถึงระดับที่แนะนำได้โดยเสี่ยงปัญหาที่ไม่เกี่ยวมะเร็งในระดับที่ยอมรับได้ แต่ก็เสี่ยงมะเร็งในระดับที่ยอมรับไม่ได้[50] จนถึงทำให้สรุปว่า

"...ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานปลาเลี้ยงจากประเทศสกอตแลนด์ นอร์เวย์ และแคนาดาตะวันออกเกิน 3 ครั้งต่อปี ไม่ควรทานปลาเลี้ยงจากรัฐเมน แคนาดาตะวันตก และรัฐวอชิงตันเกิน 3-6 ครั้งต่อปี และปลาเลี้ยงจากประเทศชิลีเกิน 6 ครั้งต่อปี ปลาแซลมอนชัมธรรมชาติสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยบ่อยถึง 1 ครั้งต่ออาทิตย์ ปลาแซลมอนชมพู, ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาแซลมอนโคโฮ 2 ครั้งต่อเดือน และปลาแซลมอนชินูกประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน[47]"

แต่ก็มีเรื่องดีที่ตรวจพบ งานศึกษาต่อมาในปี 2005 ที่ชักตัวอย่างปลาเดียวกันกับงานศึกษาก่อนแสดงว่า ปลาแซลมอนเลี้ยงมีระดับกรดไขมันที่มีประโยชน์เป็น 2-3 เท่าของปลาธรรมชาติ[51] เพราะงานวิเคราะห์ความเสี่ยงมะเร็งจะเทียบกับประโยชน์ของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในปลา จึงต้องพิจารณาระดับไขมันในตัวอย่างที่ตรวจสอบ เพราะ PCB เป็นสารที่ชอบไขมัน (lipophilic) ดังนั้นจึงพบอย่างเข้มข้นกว่าในปลาที่มีไขมันสูงโดยทั่วไป[52] ระดับ PCB ที่สูงกว่าในปลาเลี้ยงก็เพราะมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 ที่สูงกว่า

ในปี 2005 รัสเซียห้ามการนำเข้าปลาแช่เย็นจากนอร์เวย์ หลังจากตรวจพบตัวอย่างปลาเลี้ยงที่มีระดับโลหะหนักสูง ตามรัฐมนตรีการเกษตรรัสเซีย ระดับตะกั่วที่พบอยู่ที่ 10-18 เท่าสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยของประเทศ และระดับแคดเมียมก็สูงกว่าเกือบ 4 เท่า[53]

ส่วนงานศึกษาปี 2008 ที่เทียบความเสี่ยงกับประโยชน์ของปลาในกลุ่มประชากรที่ไวความเสี่ยงได้สรุปตรงกันข้ามกับข้อแนะนำปี 2005 เพราะ[54]

  • ระดับเฉลี่ยสารซึ่งพบในปลาแซลมอนเลี้ยงในงานปี 2005 คือ 37 ppb ก็เป็นค่าแค่ 2% ของค่าสูงสุดซึ่งตั้งโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) ที่ 2,000 ppb และก็ยังน้อยกว่าค่าของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐสำหรับหญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมลูกที่ 50 ppb ซึ่งเป็นค่าที่ตั้งน้อยกว่ามาก
  • ประโยชน์ของการทานปลาแซลมอนไม่ว่าจะเลี้ยงหรือธรรมชาติก็ยังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจมีเพราะสารปนเปื้อน

แนวทางอาหารของแคนาดาแนะนำให้รับประทานปลาสองที่ทุกสัปดาห์และให้เลือกปลาเช่นปลาชาร์ (สกุล Salvelinus ในวงศ์ปลาแซลมอน) ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาเทราต์[55] ส่วนแนวทางอาหารสหรัฐปี 2010 ให้ทานอาหารทะเลหลายชนิดประมาณ 8 ออนซ์ต่ออาทิตย์ (ประมาณ 227 ก.) หรือ 12 ออนซ์ (ประมาณ 340 ก.) สำหรับแม่ที่ให้นมลูก โดยไม่มีขีดกำหนดหรือข้อจำกัดในการกินปลาแซลมอนเลี้ยงหรือธรรมชาติ[56] ส่วนรายงาน "อัปเดตของการเฝ้าตรวจระดับ dioxins และ PCBs ในอาหารและอาหารสัตว์" ที่ส่งแก่ EFSA ในปี 2012 ระบุว่าปลาแซลมอนและปลาเทราต์ที่เลี้ยงโดยเฉลี่ยมี dioxins และ PCBs น้อยกว่าปลาธรรมชาติ[57]

ประธานขององค์การนอกภาครัฐที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์ คือ Green Warriors of Norway อ้างว่า จำนวนปลาที่เลี้ยงในนอร์เวย์ไม่อาจยั่งยืนได้ เพราะปริมาณอาหารปลาที่ไม่ได้กินและขี้ปลาที่กลายเป็นมลพิษในท้องทะเล ในขณะที่สารเคมีที่ใช้ต้าน sea lice ก็รวมเข้าไปในโซ่อาหาร เขากล่าวว่า "ถ้าคนรู้เรื่องนี้ ก็จะไม่กินปลาแซลมอน" โดยเรียกปลาเลี้ยงว่า "เป็นอาหารมีพิษมากที่สุดในโลก"[58] ประธานองค์กรต่อต้านการเลี้ยงปลา คือ Global Alliance Against Industrial Aquaculture ก็เห็นด้วย โดยกล่าวว่า มีการใช้สารเคมีบางอย่างเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในช่วงปี 2015-2016 การใช้ยาฆ่าแมลง emamectin ซึ่งมีพิษเพื่อฆ่า sea lice ก็กำลังเพิ่มอย่างรวดเร็ว และงานศึกษาต่าง ๆ ก็พบว่า ระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ฆ่า sea lice ได้เกินขีดความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมมากกว่า 100 เท่าภายใน 10 ปีก่อนปี 2017[46]

ผลกระทบต่อปลาแซลมอนธรรมชาติ[แก้]

ปลาแซลมอนเลี้ยงอาจหนีไปจากกรงตาข่ายได้ ถ้าไม่ใช่ปลาท้องถิ่น มันก็จะแข่งขันแย่งชิงอาหารและที่อยู่กับปลาท้องถิ่นธรรมชาติ[59][60] ถ้าปลาเลี้ยงเป็นปลาท้องถิ่น มันก็อาจผสมพันธุ์กับปลาท้องถิ่นธรรมชาติ ซึ่งอาจลดความหลากหลายทางพันธุกรรม ภูมิต้านทานโรค และการปรับตัวได้[61]

ในปี 2004 ปลาแซลมอนและปลาเทราต์ 500,000 ตัว ได้หนีไปจากกรงทะเลในนอร์เวย์ รอบ ๆ สกอตแลนด์ ปลา 600,000 ตัวได้หลุดออกไปจากกรงในช่วงเกิดพายุ[14] ชาวประมงพาณิชย์ที่มุ่งจับปลาแซลมอนธรรมชาติก็จับปลาแซลมอนเลี้ยงได้บ่อย ช่วงระยะหนึ่งที่หมู่เกาะแฟโร ในบรรดาปลาที่จับได้ทั้งหมด ถึง 20-40% เป็นปลาแซลมอนเลี้ยงที่หนีมา[62] ในปี 2017 ปลาแซลมอนแอตแลนติกเลี้ยงที่ไม่ใช่ปลาท้องถิ่น 263,000 ตัวได้หนีจากรงตาข่ายในทะเลรัฐวอชิงตัน[63]

sea lice (ในไฟลัมย่อย Crustacea) โดยเฉพาะสปีชีส์ Lepeophtheirus salmonis และหลายพันธุ์ในสกุล Caligus รวมทั้ง C. clemensi และ C. rogercresseyi อาจก่อโรคถึงตายทั้งในปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติ[64][65] sea lice เป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite) ที่กินหนอง เลือด และหนัง และมาเกาะผิวหนังของปลาแซลมอนธรรมชาติในระยะพัฒนาการต่าง ๆ คือ free-swimming planktonic nauplii และ copepodid larval โดยอาจคงอยู่หลายวัน[66][67][68]

ฟาร์มปลาแซลมอนที่เลี้ยงในกรงตาข่ายภายในทะเลเปิด (open-net salmon farm[B]) อาจเป็นจุดรวม sea lice อย่างมหาศาล ถ้าลูกปลาธรรมชาติผ่านมาในบริเวณน้ำกร่อยที่มีฟาร์มเช่นนี้มาก ลูกปลาก็จะติดปรสิตแล้วไม่สามารถรอดชีวิตได้[70][71] ปลาที่โตแล้วอาจรอดชีวิตจากปรสิตที่มีมากเช่นนี้ แต่ลูกปลาที่ยังเล็ก ผิวบาง ซึ่งกำลังอพยพไปสู่ทะเลก็จะเสี่ยงตายมาก รายงานปี 2007 (Krkosek et al) ระบุว่า ทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของแคนาดา อัตราการตายของปลาแซลมอนชมพูเนื่องกับ sea lice ในที่บางแห่งอาจสูงเป็นปกติถึง 80%[38]

ต่อมาปีเดียวกันโดยเป็นปฏิกิริยาต่อรายงานการสูญพันธุ์ปี 2007 ตามที่ว่า นักวิทยาศาสตร์ของสำนักงานการประมงรัฐบาลกลางแคนาดาสองท่านได้ตีพิมพ์ข้อความวิจารณ์รายงานโดยติดชื่อที่แปลว่า ทัศนคติเรื่องปลาแซลมอนชมพูและ Sea Lice: หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่สนับสนุนสมมติฐานการสูญพันธุ์[72] ต่อจากงานศึกษาเหล่านั้น ปลาแซลมอนชมพูก็ได้เพิ่มขึ้นในกลุ่มเกาะบร็อตตัน (Broughton Archipelago) ตามชายฝั่งรัฐบริติชโคลัมเบีย และก็มีการโต้แย้งในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์การประมงของรัฐบาลกาลางแคนาดาอีกกลุ่มหนึ่งที่สรุปว่า ไม่มีสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวน sea lice ที่พบในปลาแซลมอนเลี้ยงกับจำนวนปลาแซลมอนชมพูที่กลับไปสู่หมู่เกาะบร็อตตัน โดยกล่าวถึงทฤษฎีสูญพันธุ์ปี 2007 ว่า "ข้อมูลถูกเลือกใช้และข้อสรุปก็ไม่ตรงกับการกลับมาของปลาแซลมอนเมื่อเร็ว ๆ นี้"[39]

งานวิเคราะห์อภิมานของข้อมูลที่มีอยู่ปี 2008 แสดงว่า การเลี้ยงปลาแซลมอนลดการรอดชีวิตของปลาธรรมชาติพันธุ์เดียวกัน ซึ่งเป็นจริงสำหรับปลาแซลมอนแอตแลนติก ปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาแซลมอนชมพู ปลาแซลมอนชัม และปลาแซลมอนโคโฮ การรอดชีวิตบ่อยครั้งลดลงมากกว่า 50%[73] แต่งานศึกษาเหล่านี้เป็นการวิเคราะห์โดยสหสัมพันธ์ และมีสหสัมพันธ์ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุ โดยเฉพาะเมื่อปลาแซลมอนธรรมชาติก็ได้ลดลงเช่นกันในรัฐออริกอนและแคลิฟอร์เนียซึ่งไม่เลี้ยงปลาแซลมอน แม้งานเหล่านี้จะพยากรณ์การล้มของการกลับมาของแซลมอน แต่จำนวนปลาแซลมอนธรรมชาติที่จับได้ในแคนาดาปี 2010 ก็เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์[74]

งานศึกษาปี 2010 ที่ใช้ข้อมูลจำนวน sea lice บวกกับข้อมูลผลิตปลาจากฟาร์มแซลมอนในหมู่เกาะบร็อตตันเป็นครั้งแรกไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างจำนวน sea lice ในฟาร์มกับการรอดชีวิตของปลาแซลมอนธรรมชาติ ผู้เขียนสรุปว่า การล้มของกลุ่มประชากรในปี 2002 ไม่ได้เป็นเพราะ sea lice คือ แม้ sea lice ในฟาร์มปลาในช่วงที่ลูกปลาธรรมชาติออกสู่ทะเลในปี 2000 จะมีจำนวนมากกว่าปี 2001 จำนวนปลาแซลมอนที่กลับมาวางไข่ในปี 2001 (จากกลุ่มลูกปลาปี 2000) ก็ได้ทำประวัติ/สถิติ เทียบกับการล้มจำนวนประชากรถึง 97% ในปี 2002 (จากกลุ่มลูกปลาปี 2001) ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่า งานศึกษาที่ทำเบื้องต้นไม่ได้ตรวจสอบเหตุทางแบคทีเรียหรือไวรัสในเหตุการณ์ แม้จะมีรายงานว่ามีเลือดออกที่โคนครีบซึ่งเป็นอาการที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโดยไม่เกี่ยวกับการติด sea lice เมื่อเกิดในห้องทดลอง[75]

ปลาแซลมอนธรรมชาติจะกลับสู่น้ำจืดจากทะเลเพื่อวางไข่ และลูกปลาจะออกสู่ทะเลเมื่อโตขึ้น ปลาโดยมากกลับสู่แม่น้ำที่เกิดแม้จะมีบางส่วนที่หลงเข้าแม่น้ำอื่นไปบ้าง มีความเป็นห่วงเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมเกี่ยวกับการกลับมาวางไข่ของปลา ความฟื้นสภาพได้ของกลุ่มประชากรจะขึ้นอยู่กับปลาบางส่วนที่สามารถรอดชีวิตจากสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง เช่น อุณหภูมิร้อนหนาวสุด ๆ ผลของการเลี้ยงปลาต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน[9]

การดัดแปลงพันธุกรรม[แก้]

ปลาแซลมอนได้ดัดแปลงพันธุกรรมในแล็บเพื่อให้โตเร็วขึ้น บริษัท AquaBounty Technologies ได้พัฒนาปลาแซลมอนแอตแลนติกดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งโตเร็วแทบเป็นสองเท่า (ให้ปลาสามารถโตได้ภายใน 16-18 เดือน เทียบกับปลาปกติที่ 30 เดือน) โดยทนโรคทนหนาวได้ดีกว่า และยังกินอาหารน้อยกว่า 10% อีกด้วย ซึ่งทำโดยใช้ลำดับยีนของปลาแซลมอนชินูกที่มีผลต่อฮอร์โมนการเติบโต (growth hormone) และใช้ promoter sequence [C] จากปลาในอันดับปลากะพงพันธุ์ Zoarces americanus (Ocean pout) ที่มีผลต่อการผลิตสารกันเยือกแข็ง (antifreeze)[77] ปกติแล้วปลาแซลมอนจะผลิตฮอร์โมนการเติบโตต่อเมื่อมีแสง แต่ปลาแซลมอนดัดแปลงพันธุกรรมกลับไม่ระงับการผลิตฮอร์โมน

บริษัทได้ยื่นเรื่องขออนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ครั้งแรกในปี 1996[78] ในปี 2015 FDA ได้อนุมัติให้ผลิตปลาแซลมอนแปลงพันธุกรรม (AquAdvantage Salmon) เพื่อการพาณิชย์[79]

ความเป็นห่วงในเรื่องปลาแซลมอนที่ได้ยีนมาจากสัตว์อื่น (transgenic) ก็คือจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันหลุดออกไปอยู่เองตามธรรมชาติ งานศึกษาหนึ่งที่ทำในแล็บพบว่า ปลาแปลงพันธุกรรมที่อยู่กับปลาธรรมชาติรุ่นเดียวกันจะดุในการแข่งขันเพื่อทรัพยากร แต่ในที่สุดก็แพ้[80]

ผลกระทบต่อสัตว์ล่าเหยื่อธรรมชาติ[แก้]

กรงตาข่ายอาจล่อสัตว์หล่าเหยื่อธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งอาจมาติดที่ตาข่าย ทำให้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตาย ในรัฐแทสเมเนีย กรงตาข่ายเลี้ยงแซลมอนเคยพันกับนกออก ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงปลาบริษัทหนึ่งคือ Huon Aquaculture ช่วยสร้างศูนย์คืนสภาพประชากรนกแล้วใช้ตาข่ายที่ดีกว่า[81]

ผลกระทบต่อปลาที่เป็นเหยื่อ[แก้]

การใช้ปลาเหยื่อ (forage fish) เพื่อผลิตอาหารสัตว์ค่อนข้างจะคงที่เป็นเวลา 30 ปีแล้วโดยทำในอัตราสูงสุดที่คงยืนได้ (maximum sustainable yield) ในขณะที่ตลาดได้เปลี่ยนไปจากใช้อาหารเช่นนี้เลี้ยงไก่ สุกร และสัตว์เลี้ยง ไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเลี้ยง[17] ตลาดที่เปลี่ยนไปในขณะที่ระดับการผลิตที่คงที่จึงดูเหมือนจะเป็นการตัดสินทางเศรษฐกิจซึ่งก็แสดงนัยว่า การพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาไม่มีผลกระทบต่อการประมงปลาที่เป็นเหยื่อ

เพราะปลาปกติไม่ผลิตกรดไขมันโอเมกา-3 เอง แต่สะสมจากการกินสาหร่ายเซลล์เดียว (microalgae) ซึ่งผลิตกรดไขมันเช่นนี้ เช่นที่พบในปลาเหยื่อ คือ ปลาเฮร์ริงและปลาซาร์ดีน หรือจากการกินปลาเหยื่อดังที่พบในปลาล่าเหยื่อมีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน เพื่อให้ปลาแซลมอนได้กรดไขมันสูง ผลผลิตน้ำมันปลาของโลกเกินครึ่งจึงใช้เป็นอาหารปลาแซลมอนเลี้ยง[23] อนึ่ง ปลายังต้องกินโปรตีนซึ่งได้จากอาหารที่ทำจากปลาอันเป็นโปรตีนราคาถูกสุด ปลาแซลมอนเลี้ยงกินปลารวม ๆ กันมีน้ำหนักมากกว่าตน แม้ปลาแซลมอนจะเป็นปลาอาหารที่มนุษย์นิยมกว่า

Salmon Aquaculture Dialogue และ ASC Salmon Standard[แก้]

ในปี 2004 องค์กรนอกภาครัฐ World Wide Fund for Nature (WWF) ได้เริ่มงานประชุมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแซลมอน คือ Salmon Aquaculture Dialogue ซึ่งเป็นงานประชุมหนึ่งในบรรดางานประชุมเลี้ยงสัตว์น้ำที่จัด[13] จุดมุ่งหมายก็เพื่อสร้างมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับฟารม์ปลาแซลมอนและฟาร์มสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ (รวม 12 สปีชีส์จนถึงปี 2018) ตั้งแต่ปี 2012 มาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมได้ส่งต่อไปให้องค์กร Aquaculture Stewardship Council (ASC) ซึ่งตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อเป็นผู้บริหารและพัฒนามาตรฐานให้ยิ่งขึ้น มาตรฐานแรกที่เผยแพร่ในปี 2012 แล้วอัปเดตในปี 2017 หลังจากได้รับความเห็นจากสาธารณชน ก็คือ ASC Salmon Standard เก็บถาวร 2023-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[82] WWF เบื้องต้นได้ระบุ "ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหลัก 7 อย่าง" รวมทั้ง

การฟักไข่แล้วปล่อยลูกปลา[แก้]

รูปแบบการผลิตปลาแซลมอนอีกอย่างซึ่งปลอดภัยกว่าแต่ควบคุมได้ยากกว่า ก็คือการเลี้ยงปลาในที่ฟักไข่ (hatchery) จนกระทั่งโตพอเลี้ยงตัวเองได้ แล้วปล่อยลงในแม่น้ำเพื่อพยายามเพิ่มจำนวนประชากรปลาแซลมอน เป็นวิธีที่สามัญในประเทศต่าง ๆ เช่นสวีเดน ก่อนที่ชาวนอร์เวย์จะได้พัฒนาระบบฟาร์มแซลมอน แต่บริษัทเอกชนจะไม่ค่อยทำเช่นนี้ เพราะใคร ๆ (หรือสัตว์ใด ๆ) ก็สามารถจับปลาเมื่อกลับมาวางไข่ได้ บริษัทจึงได้ผลประโยชน์จำกัดจากการลงทุน เพราะเหตุนี้ ผู้ใช้วิธีนี้จึงเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรแซลมอนที่ลดลงเนื่องจากการประมงเกิน, การสร้างเขื่อน และการทำลายหรือรบกวนแหล่งที่อยู่ ผลลบก็มีบ้างเหมือนกัน เพราะยีนของปลาธรรมชาติจะลดน้อยถอยลง (เหตุ genetic dilution) ดังนั้น รัฐบาลระดับต่าง ๆ จึงเริ่มไม่ให้ปล่อยปลาเช่นนี้ แต่ให้ควบคุมการประมง ปรับปรุงแหล่งที่อยู่ของปลา และดูแลป้องกันเป็นหลัก

ocean ranching เป็นการเพิ่มจำนวนปลาอีกวิธีหนึ่งและกำลังพัฒนาอยู่ที่รัฐอะแลสกา คือจะปล่อยลูกปลาลงในทะเลห่างจากสายน้ำของแซลมอนธรรมชาติอื่น ๆ เมื่อถึงเวลาจะวางไข่ ปลาก็จะกลับมาสู่ที่ที่ปล่อย ซึ่งชาวประมงสามารถจับมันได้

สปีชีส์[แก้]

ปลาแซลมอนแอตแลนติก[แก้]

ปลาแซลมอนแอตแลนติก

ในสายน้ำที่เกิด การตกปลาปลาแซลมอนแอตแลนติกจัดเป็นยอดนันทนาการในช่วงกลับมาวางไข่ ในครั้งหนึ่ง สปีชีส์นี้สำคัญทั้งในการประมงพาณิชย์และการตกปลาหาอาหาร แต่การประมงปลาธรรมชาติทางพาณิชย์เป็นเรื่องที่ไม่ทำแล้ว หลังจากเกิดความเสียหายต่อแหล่งที่อยู่และการตกปลาเกิน ปัจจุบัน ปลาธรรมชาติขายในตลาดโลกเพียงแค่ 0.5% ของปลาแซลมอนแอตแลนติกที่ขายทั้งหมด ที่เหลือเป็นปลาเลี้ยงโดยมากมาจากฟาร์มในประเทศชิลี แคนาดา นอร์เวย์ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และรัฐแทสเมเนีย[90]

ปลาแซลมอนแอตแลนติกเป็นปลาที่เลือกเลี้ยงมากที่สุด เพราะจัดการได้ง่าย โตได้ดีในกรงตาข่ายทะเล มีราคาสูงในตลาด และปรับตัวเป็นปลาเลี้ยงได้ดีแม้เมื่ออยู่ไกลจากแหล่งที่อยู่ธรรมชาติ[9]

เพื่อทำพันธุ์ ปลาตัวผู้ตัวเมียที่โตแล้วจะวางยา แล้วรีดไข่และตัวอสุจิ และก็จะทำควาดสะอาดปลาแล้วเอาผ้าเช็ดให้แห้ง ผสมไข่กับตัวอสุจิ ล้างแล้วใส่ลงในน้ำจืด ส่วนปลาตัวพ่อแม่ก็จะฟื้นตัวในน้ำไหลที่สะอาดมีออกซิเจนดี[91] นักวิชาการยังได้ศึกษาการแช่แข็งถนอมไข่ไว้ (cryopreservation) ด้วย[92]

ลูกปลาระยะ fry ปกติจะเลี้ยงในบ่อน้ำจืดเป็นเวลา 12-20 เดือน เมื่อถึงระยะ smolt ก็จะนำไปอยู่ในทะเลเป็นเวลาอาจถึง 2 ปี ในช่วงนี้ ปลาจะโตเต็มที่ในกรงตาข่ายขนาดใหญ่นอกฝั่งของแคนาดา สหรัฐ และบางส่วนของยุโรป[90] ปกติแล้ว กรงจะมีตาข่ายสองชั้น ตาข่ายในจะพันรอบกรงซึ่งปลาอยู่ และตาข่ายนอกจะตรึงไว้ด้วยทุ่นลอยน้ำเพื่อกันสัตว์ล่าเหยื่อไม่ให้เข้าไป[91]

ปลาแซลมอนแอตแลนติกจำนวนมากหนีจากกรงไปสู่ทะเล ซึ่งถ้าผสมพันธุ์ต่อไปก็มักจะลดความหลากหลายทางพันธุกรรมของสปีชีส์ ลดอัตราการรอดตาย ทำให้จับปลาได้น้อยลง ทางฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ ปลาแซลมอนที่ไม่ใช่ปลาท้องถิ่นอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น โดยเฉพาะในอะแลสกาและบางส่วนของแคนาดา เพราะจะแข่งขันเพื่อทรัพยากรกับปลาแซลมอนท้องถิ่น มีโครงการใหญ่หลายอย่างที่พยายามป้องกันการหนีและการกระจายพันธุ์ของปลาแซลมอนแอตแลนติกในมหาสมุทรแปซิฟิกและที่อื่น ๆ[93]

แต่ความเสี่ยงที่ปลาแซลมอนแอตแลนติกจะกลายเป็นสปีชีส์ที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกาเหนือ ก็เป็นเรื่องน่าสงสัย เพราะรัฐบาลสหรัฐและแคนาดาได้พยายามกระจายพันธุ์ปลาเหล่านี้โดยปล่อยปลาเป็นล้าน ๆ ตัวในช่วง 100 ปีเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 แม้จะตั้งใจพยายามทำเช่นนี้ที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็ไม่เคยมีรายงานว่ามีปลาที่ตั้งกลุ่มประชากรได้สำเร็จ[94][95]

ในปี 2007 ปลาแซลมอนแอตแลนติกผลิตได้ 1,433,708 ตันทั่วโลกโดยมีมูลค่า 7,580 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 246,000 ล้านบาท)[96] อีกทศวรรษหนึ่งต่อมาในปี 2017 มีการผลิตปลาเลี้ยงถึง 2 ล้านตันทั่วโลก[97]

ปลาเรนโบว์เทราต์
ปลาเรนโบว์เทราต์ตัวผู้ระยะอยู่ในทะเล

ปลาเรนโบว์เทราต์[แก้]

ในปี 1989 ปลาเรนโบว์เทราต์หรือปลาสตีลเฮด (steelhead) ได้จัดพันธุ์ใหม่เป็นปลาเทราต์แปซิฟิกพันธุ์ Oncorhynchus mykiss จากเดิมซึ่งเป็น Salmo gairdneri (Columbia River redband trout) และจาก Salmo irideus (coastal rainbow trout) ชื่อว่าสตีลเฮดเป็นรูปแบบปลาเรนโบว์เทราต์ที่อยู่ในทะเลและวางไข่ในน้ำจืด และในบางที่ก็เรียกว่า steelhead salmon หรือ ocean trout ด้วย

ประเทศหลายประเทศทั่วโลกเลี้ยงปลาสตีลเฮด ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 การผลิตได้เพิ่มขึ้นเป็นเลขชี้กำลังเร็ว ๆ นี้โดยเฉพาะในยุโรปและในชิลี ทั่วโลกในปี 2007 ปลาสตีลเฮดขายได้ 604,695 ตันโดยมีมูลค่า 2,590 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 84,000 ล้านบาท)[98] ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดก็คือประเทศชิลี ในชิลีและนอร์เวย์ การผลิตปลาสตีลเฮดที่เลี้ยงในกรงตาข่ายทะเลได้ขยายขึ้นมากพอเพื่อส่งออก ส่วนการผลิตปลาเรนโบว์เทราต์บนบกเพื่อตลาดภายในประเทศได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี เดนมาร์ก และสเปน ประเทศที่ผลิตได้อย่างสำคัญอื่น ๆ รวมทั้งสหรัฐ อิหร่าน และสหราชอาณาจักร[98]

ปลาเรนโบว์เทราต์ รวมทั้งลูกปลาสตีลเฮดในน้ำจืด ปกติกินตัวอ่อน (larva), ดักแด้ (pupa) และแมลงน้ำที่โตแล้ว ทั่วไปเป็น caddisflies (จากอันดับ Trichoptera), stoneflies (จากอันดับ Plecoptera), แมลงชีปะขาว (จากอันดับ Ephemeroptera) และแมลงวันน้ำ (จากอันดับ Diptera) แต่ก็ยังกินไข่ปลาและแมลงบกที่โตแล้วด้วย ธรรมดาเป็นมด ด้วง ตั๊กแตน และจิ้งหรีด เหยื่ออื่น ๆ รวมทั้งปลาเล็ก ๆ จนถึงขนาด 1/3 ของตนเอง เครย์ฟิช กุ้ง และสัตว์พวกกุ้งกั้งปูอื่น ๆ เมื่อโตขึ้น ปลาโดยมากก็จะกินอาหารมากขึ้น สายพันธุ์ที่อยู่ในทะเลสาบอาจเปลี่ยนเป็นกินแพลงก์ตอน ในแม่น้ำและสายน้ำที่มีปลาวงศ์แซลมอนอื่น ๆ ปลาเรนโบว์เทราต์จะกินไข่ของปลาต่าง ๆ รวมทั้งของปลาแซลมอน, ปลาเทราต์สีน้ำตาล, ปลาเทราต์คัตโทรต (cutthroat trout พันธุ์ Oncorhynchus clarkii), mountain whitefish (Prosopium williamsoni) และปลาเรนโบว์เทราต์อื่น ๆ ปลายังกินเนื้อเน่าจากซากปลาอื่น ๆ ส่วนปลาสตีลเฮดในทะเลโดยหลักกินปลาอื่น หมึก และสัตว์อันดับ Amphipoda[99]

ปลาสตีลเฮดจะเลี้ยงด้วยอาหารที่ทำคล้ายกับอาหารธรรมชาติรวมทั้งเนื้อปลา น้ำมันปลา วิตามิน แร่ธาตุ และสารรงควัตถุประเภทแคโรทีนอยด์คือแอสตาแซนทิน ปลาเสี่ยงติดโรค enteric redmouth disease (มีอาการตกเลือดใต้ผิวหนังที่ปาก ครีบ และตา) เป็นพิเศษ มีงานวิจัยในรื่องนี้พอสมควรเพราะมีผลกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาอย่างสำคัญ แต่โรคไม่มีผลต่อมนุษย์[100]

ปลาแซลมอนโคโฮ[แก้]

ปลาแซลมอนโคโฮตัวผู้ระยะอยู่ในทะเล

ปลาที่ใช้ผสมพันธุ์ (broodfish) จะเลือกจากปลาแซลมอนในฟาร์ม และย้ายไปในถังน้ำจืดเพื่อให้โตเต็มที่แล้ววางผสมพันธุ์[15] ทั่วโลกปี 2007 ปลาเลี้ยงขายได้ 115,376 ตัน โดยมีมูลค่า 456 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 14,774 ล้านบาท)[101] ประเทศชิลีผลิตปลา 90% และญี่ปุ่นกับแคนาดาผลิตที่เหลือ[15]

ปลาแซลมอนชินูกตัวผู้ระยะอยู่ในทะเล
ปลาแซลมอนชินูกตัวผู้ระยะอยู่ในน้ำจืด

ปลาแซลมอนชินูก[แก้]

ปลาแซลมอนชินูกเป็นปลาประจำรัฐของรัฐออริกอน โดยเรียกปลาว่า king salmon เพราะขนาดใหญ่และเนื้ออร่อย ปลาจากแม่น้ำค็อปเปอร์ (Copper River) ในรัฐอะแลสการู้จักเป็นพิเศษเพราะสี รสอร่อย เนื้อแน่น และกรดไขมันโอเมกา-3 สูง[102] อะแลสก้าห้ามเลี้ยงปลาขายมาตั้งแต่ปี 1989 แล้ว (Alaska Stat. § 16.40.210[103])

ทั่วโลกในปี 2007 ปลาแซลมอนชินูกขายได้ 11,542 ตันโดยมีมูลค่า 83 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,689 ล้านบาท)[104] นิวซีแลนด์เป็นผู้ผลิตปลา king salmon รายใหญ่สุดโดยผลิตเกินครึ่งของโลก (7,400 ตันในปี 2005)[105] แซลมอนโดยมากเลี้ยงในทะเลในกรงตาข่ายลอยน้ำ (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า sea-cage ranching) ขนาดตัดขวางประมาณ 25 ม. ลึก 15 ม. ยึดอยู่กับพื้นทะเลในน้ำไหลเร็วใกล้ฝั่ง ลูกปลาระยะ smolt จะย้ายจากที่ฟักไข่ในน้ำจืดไปยังกรงที่มีแซลมอนหลายพันตัวแล้วอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต เลี้ยงด้วยเม็ดอาหารที่ทำจากปลา (fishmeal) ซึ่งมีโปรตีนและไขมันสูง[105]

ปลายังเลี้ยงในกรงตาข่ายที่ตั้งในน้ำจืดหรือเลี้ยงในรางน้ำ (raceway) โดยใช้เทคนิกคล้ายกับปลาที่เลี้ยงในทะเล มีการเลี้ยงปลาแซลมอนน้ำจืดที่คลองปั่นไฟฟ้ากำลังน้ำในนิวซีแลนด์ คือที่เมือง Lake Tekapo มีฟาร์มเลี้ยงปลาที่ได้น้ำเย็นไหลเร็วจากเทือกเขา Southern Alps เป็นฟาร์มเลี้ยงปลาที่อยู่สูงที่สุดในโลก สูงกว่าน้ำทะเล 677 ม.[106]

ก่อนฆ่า ปลาจะถูกวางยาสลบก่อนด้วยสมุนไพร แล้วใช้เดือยแหลมตอกเข้าไปในสมองส่วนหลัง หัวใจจะเต้นอยู่พักหนึ่งในขณะที่เอาเลือดออกทางเหงือกปลา วิธีการทำให้ปลาผ่อนคลายแล้วฆ่าทำให้ได้เนื้อแน่นเก็บไว้ได้นาน[105] การไร้โรคเพราะไม่มีปลาธรรมชาติและการไม่เลี้ยงปลาจนแน่นในกรงจึงหมายความว่า ผู้เลี้ยงปลาแซลมอนนิวซีแลนด์ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่บ่อยครั้งจำเป็นในที่อื่น ๆ[107]

กาลานุกรม[แก้]

  • ปี 1527 - อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน Hector Boece ได้บรรยายวงจรชีวิตของปลาแซลมอนแอตแลนติก[77]
  • 1763 - การทดลองผสมพันธุ์ปลาแซลมอนแอตแลนติกได้ทำในประเทศเยอรมนี ต่อมาได้ปรับปรุงในสกอตแลนด์และฝรั่งเศส[77]
  • 1854 - บริษัท Dohulla Fishery ได้สร้างที่วางไข่และสระเลี้ยงลูกปลาแซลมอนตามฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งในเมือง Ballyconneely ประเทศไอร์แลนด์[108]
  • 1864 - ลูกปลาระยะ fry ที่ได้เลี้ยงในที่ฟักไข่ได้ปล่อยลงใน River Plenty รัฐแทสเมเนีย เป็นความพยายามเพื่อสร้างกลุ่มประชากรปลาในออสเตรเลียที่ล้มเหลว[109]
  • 1892 - ลูกปลาระยะ fry ที่ได้เลี้ยงในที่ฟักไข่ได้ปล่อยลงใน Umkomass river ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นความพยายามเพื่อสร้างกลุ่มประชากรปลาในแอฟริกาที่ล้มเหลว[110]
  • ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งที่ฟักไข่ปลาแซลมอนในยุโรป อเมริกาเหนือและญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มจำนวนปลาธรรมชาติ
  • 1961 - ลูกปลาระยะ fry ที่ได้เลี้ยงในที่ฟักไข่ได้ปล่อยลงในแม่น้ำของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ เป็นความพยายามเพื่อสร้างกลุ่มประชากรปลาในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ที่ล้มเหลว[111]
  • ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 - สกอตแลนด์และนอร์เวย์ได้ตั้งฟาร์มปลาแซลมอนแรก ๆ ขึ้น
  • 1970 - ลูกปลาระยะ fry ที่ได้เลี้ยงในที่ฟักไข่ได้ปล่อยลงในแม่น้ำของหมู่เกาะ Kerguelen Islands เป็นความพยายามเพื่อสร้างกลุ่มประชากรปลาในมหาสมุทรอินเดียที่ล้มเหลว[112]
  • ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ฟาร์มแซลมอนได้ตั้งขึ้นในอเมริกาเหนือ
  • 1975 - ปรสิตนอก (ectoparasite) ชั้นหนอนตัวแบน (monogenea) สกุล Gyrodactylus ได้กระจายไปจากที่ฟักไข่ปลาของนอร์เวย์ไปยังปลาธรรมชาติ ซึ่งอาจสื่อโดยอุปกรณ์จับปลา แล้วทำลายล้างปลาแซลมอนธรรมชาติเป็นบางกลุ่ม[34]
  • ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ฟารม์ปลาแซลมอนตั้งขึ้นในชิลีและนิวซีแลนด์
  • 1984 - มีการค้นพบโรคโลหิตจางในแซลมอนที่ติดต่อได้ (ISAv) ในที่ฟักไข่ปลาแซลมอนแอตแลนติกในนอร์เวย์ โรคระบาดคราวนี้ทำให้ปลาตาย 80%
  • 1985 - ฟาร์มแซลมอนตั้งขึ้นในออสเตรเลีย
  • 1987 - มีรายงานแรกว่าปลาแซลมอนแอตแลนติกที่หนีจากฟาร์มไปได้ถูกจับโดยชาวประมงที่ตามจับปลาแซลมอนแปซิฟิก
  • 1988 - พายุเข้าถล่มหมู่เกาะแฟโรแล้วทำให้ปลาแซลมอนหลุดออกจากฟาร์มเป็นล้าน ๆ
  • 1989 - โรคแบคทีเรียระบาดคือ Furunculosis ได้แพร่ไปทั้งในปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติในนอร์เวย์
  • 1996 - ปลาแซลมอนเลี้ยงขายได้เป็นจำนวนมากกว่าปลาธรรมชาติ
  • 2007 - ฝูงแมงกะพรุนมีพิษ Pelagia noctiluca เต็มพื้นที่ 26 ตร.กม. (16,190 ไร่) เป็นพัน ๆ ล้านตัวได้ทำให้ปลาแซลมอนเลี้ยง 100,000 ตัวตายในไอร์แลนด์เหนือมีมูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (65 ล้านบาท)[113]
  • 2019 - ฟาร์มแซลมอนตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในตะวันออกกลางในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[114]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ปลาบรีม เป็นปลาทั้งน้ำจืดน้ำเค็มในสกุลต่าง ๆ เป็นคำที่ใช้โดยไม่ได้ระบุความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
  2. Open-net fish farms เป็นกรงทำด้วยตาข่ายลอยน้ำที่ยึดไว้โดยบ่อยครั้งอยู่ในอ่าวหรือเขตที่มีอะไรบังไว้[69]
  3. ในพันธุศาสตร์ โปรโหมตเตอร์ (promoter) เป็นบริเวณในดีเอ็นเอที่เริ่มการถอดรหัสยีนหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ๆ โปรโหมตเตอร์จะอยู่ใกล้จุดเริ่มการถอดรหัสของยีนในเส้น (strand) เดียวกันทางด้าน upstream ของดีเอ็นเอ (คือทาง 5' region ของ sense strand) และอาจยาว 100-1,000 คู่เบส (base pair)[76]

อ้างอิง[แก้]

  1. Based on data sourced from the relevant FAO Species Fact Sheets
  2. "aquaculture", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (สัตววิทยา) การเพาะเลี้ยงในน้ำ
  3. "Fish Farming Information and Resources". farms.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  4. Joseph John Charbonneau; James Caudill (September 2010). "Conserving America's Fisheries-An Assessment of Economic Contributions from Fisheries and Aquatic Resource Conservation" (PDF). US Fish and Wildlife Service. p. 20. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-21.
  5. "Cultured Aquatic Species Information Programme Salmo trutta". Food and Agriculture Organization of the United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-21.
  6. "Responsible Sourcing Guide: Farmed Atlantic Salmon" (PDF). Seafish. 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  7. 7.0 7.1 Pirquet, K. T. (2010). "Follow the Money" (PDF). Aquaculture North America. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-14.
  8. "Commercial Fisheries". Alaska Department of Fish and Game. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
  9. 9.0 9.1 9.2 Knapp, Gunnar; Roheim, Cathy A.; Anderson, James L. (January 2007). The Great Salmon Run: Competition Between Wild And Farmed Salmon (PDF) (Report). World Wildlife Fund. ISBN 0-89164-175-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
  10. "Incubation Biology". METRO EAST ANGLERS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2016-03-27.
  11. 11.0 11.1 "Sea Lice and Salmon: Elevating the dialogue on the farmed-wild salmon story" (PDF). Watershed Watch Salmon Society. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 2015-01-22.
  12. FAO (2008). "The State of World Fisheries and Aquaculture 2008" (PDF). Rome: FAO. p. 6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-12.
  13. 13.0 13.1 "Farmed Seafood". World Wildlife Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-21.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "It's all about salmon" (PDF). Seafood Choices Alliance. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "Oncorhynchus kisutch (Walbaum, 1792)". Rome: FAO, Cultured Aquatic Species Information Programme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-08.
  16. Naylor, R. L. (2005). "Search for Sustainable Solutions in Salmon Aquaculture". Stanford University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-12.
  17. 17.0 17.1 Shepherd, Jonathan; Jackson, Andrew; Mittaine, Jean-Francois (2007-07-04). "Fishmeal industry overview" (PDF). International Fishmeal and Fish Oil Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-27.
  18. Durham, Sharon (2010-10-13). "Alternative Fish Feeds Use Less Fishmeal and Fish Oils". USDA Agricultural Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  19. Avant, Sandra (2014-07-14). "Process Turns Barley into High-protein Fish Food". USDA Agricultural Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-06.
  20. Merrit, Mike (2013-01-13). "Sea-change as farm grows fish on land". The Scotsman.
  21. Kadir Alsagoff, Syed A.; Clonts, Howard A.; Jolly, Curtis M. (1990). "An integrated poultry, multi-species aquaculture for Malaysian rice farmers: A mixed integer programming approach". Agricultural Systems. 32 (3): 207–231. doi:10.1016/0308-521X(90)90002-8.
  22. Bell, J.G.; Pratoomyot, J.; Strachan, F.; Henderson, R.J.; Fontanillas, R.; Hebard, A.; Guy, D.R.; Hunter, D.; Tocher, D.R. (2010). "Growth, flesh adiposity and fatty acid composition of Atlantic salmon (Salmo salar) families with contrasting flesh adiposity: Effects of replacement of dietary fish oil with vegetable oils". Aquaculture. 306 (1–4): 225–232. doi:10.1016/j.aquaculture.2010.05.021.
  23. 23.0 23.1 FAO (2008), Fish oil, p. 58
  24. "Pigments in Salmon Aquaculture: How to Grow a Salmon-coloured Salmon". seafoodmonitor.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-02. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26. Astaxanthin (3,3'-hydroxy-β,β-carotene-4,4'-dione) is a carotenoid pigment, one of a large group of organic molecules related to vitamins and widely found in plants. In addition to providing red, orange, and yellow colours to various plant parts and playing a role in photosynthesis, carotenoids are powerful antioxidants, and some (notably various forms of carotene) are essential precursors to vitamin A synthesis in animals.
  25. Naylor, Rosamond L. (1998). "Nature's Subsidies to Shrimp and Salmon Farming" (PDF). Science. 282 (5390): 883–884. doi:10.1126/science.282.5390.883. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26.
  26. "Cargill, an intensely private firm, sheds light on the food chain". The Economist (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-12. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11.
  27. "CARGILL AQUA NUTRITION SUSTAINABILITY REPORT 2016" (PDF). Cargill. p. 20. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11.
  28. "Modern Salmon Harvest" (PDF). The Fishery and Aquaculture Industry Research Fund. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-06.
  29. FAO: Species fact sheets Rome.
  30. "Species Fact Sheet: Salmo salar, Linnaeus, 1758". FAO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02.
  31. Bertrand, Charron (April 2014). "Of Fairness… Seafood Watch & Farmed Salmon". Seafood Intelligence. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16.
  32. Bertrand, Charron, SeafoodIntelligence.com (May 2012). "Alaska salmon: ASMI vs. MSC?". Seafood Intelligence. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16.
  33. "2015 Alaska Preliminary Commercial Salmon Harvest and Exvessel Values". Alaska Department of Fish and Game (ADF&G). 2015-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31.
  34. 34.0 34.1 Stead, Selina M.; Laird, Lindsay (2002-01-14). The Handbook of Salmon Farming. Springer Science & Business Media. pp. 348-. ISBN 978-1-85233-119-1.
  35. "New Brunswick to help Chile beat disease". FIS. Fish Information and Services. 2008-12-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11.
  36. "Fact Sheet - Atlantic Salmon Aquaculture Research". Fisheries and Oceans Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29.
  37. "Scientific Evidence of Sea Lice from Fishfarms Seriously Harming Wild Stocks". saveourskeenasalmon.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-19.
  38. 38.0 38.1 Krkosek, M.; Ford, J. S.; Morton, A.; Lele, S.; Myers, R. A.; Lewis, M. A. (2007). "Declining Wild Salmon Populations in Relation to Parasites from Farm Salmon". Science. 318 (5857): 1772–5. doi:10.1126/science.1148744. PMID 18079401.
  39. 39.0 39.1 Riddell, B. E.; Beamish, R. J.; Richards, L. J.; Candy, J. R. (2008). "Comment on "Declining Wild Salmon Populations in Relation to Parasites from Farm Salmon"". Science. 322 (5909): 1790. doi:10.1126/science.1156341. PMID 19095926.
  40. "Cleaner-fish keep salmon healthy by eating lice". BBC. 2015-08-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09.
  41. "Integrated Sea Lice Management Strategies". Scottish Salmon Producers’ Organisation Limited. 2013-11-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23.
  42. Butler, Sarah (2017-01-13). "Salmon retail prices set to leap owing to infestations of sea lice". The Guardian. The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20. สืบค้นเมื่อ 2017-01-25.
  43. Guilford, Gwynn (2017-01-22). "The gross reason you'll be paying a lot more for salmon this year". Quartz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-27. สืบค้นเมื่อ 2017-01-25.
  44. Knapton, Sarah (2017-08-12). "Salmon farming has done 'enormous harm' to fish and environment, warns Jeremy Paxman". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-20.
  45. Dumiak, Michael. "Lice-Hunting Underwater Drone Protects Salmon With Lasers". IEEE Spectrum: Technology, Engineering, and Science News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
  46. 46.0 46.1 Vidal, John (2017-01-01). "Salmon farming in crisis: 'We are seeing a chemical arms race in the seas'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-10. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
  47. 47.0 47.1 Lang, S. S. (2005-12-22). "Stick to wild salmon unless heart disease is a risk factor, risk/benefit analysis of farmed and wild fish shows". Cornell Chronicle. Cornell University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12.
  48. Hites, R. A.; Foran, J. A.; Carpenter, D. O.; Hamilton, M. C.; Knuth, B. A.; Schwager, S. J. (2004). "Global Assessment of Organic Contaminants in Farmed Salmon". Science. 303 (5655): 226–9. doi:10.1126/science.1091447. PMID 14716013.
  49. Schwager, SJ (2005-05-01). "Risk-based consumption advice for farmed Atlantic and wild Pacific Salmon contaminated with dioxins and dioxin-like compounds". Environmental Health Perspectives. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07.
  50. Foran, J. A.; Good, D. H.; Carpenter, D. O.; Hamilton, M. C.; Knuth, B. A.; Schwager, S. J. (2005). "Quantitative analysis of the benefits and risks of consuming farmed and wild salmon". The Journal of Nutrition. 135 (11): 2639–43. doi:10.1093/jn/135.11.2639. PMID 16251623.
  51. Hamilton, M. Coreen; Hites, Ronald A.; Schwager, Steven J.; Foran, Jeffery A.; Knuth, Barbara A.; Carpenter, David O. (2005). "Lipid Composition and Contaminants in Farmed and Wild Salmon". Environmental Science & Technology. 39 (22): 8622–8629. doi:10.1021/es050898y.
  52. Elskus, Adria A; Collier, Tracy K; Monosson, Emily (2005). "Ch. 4 Interactions between lipids and persistent organic pollutants in fish". ใน Moon, TW; Mommsen, TP (บ.ก.). Environmental Toxicology. Elsevier. pp. 119-. doi:10.1016/S1873-0140(05)80007-4. ISBN 978-0-08-045873-1.
  53. "GAIN Report: Russia Bans Norwegian Fish" (PDF). USDA Foreign Agricultural Service. 2005-12-29. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-01.
  54. Santerre, Charles R. (2008). "Balancing the risks and benefits of fish for sensitive populations" (PDF). Journal of Foodservice. 19 (4): 205–212. CiteSeerX 10.1.1.570.4751. doi:10.1111/j.1748-0159.2008.00111.x. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-26.
  55. "Meat and Alternatives - Canada's Food Guide". Health Canada. 2012-11-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-28.
  56. "Dietary Guidelines". United States Department of Health and Human Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-28. สืบค้นเมื่อ 2016-10-26.
  57. "Update of the monitoring of levels of dioxins and PCBs in food and feed". EFSA Journal. 10 (7): 2832. 2012. doi:10.2903/j.efsa.2012.2832.
  58. Castle, Stephen (2017-11-06). "As wild salmon decline, Norway pressures its giant fish farms". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-14. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
  59. Fleming, I. A.; Hindar, K; Mjølnerød, I. B.; Jonsson, B; Balstad, T; Lamberg, A (2000). "Lifetime success and interactions of farm salmon invading a native population". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 267 (1452): 1517–1523. doi:10.1098/rspb.2000.1173. PMC 1690700. PMID 11007327.
  60. Volpe, John P.; Taylor, Eric B.; Rimmer, David W.; Glickman, Barry W. (2000). "Evidence of Natural Reproduction of Aquaculture-Escaped Atlantic Salmon in a Coastal British Columbia River". Conservation Biology. 14 (3): 899–903. doi:10.1046/j.1523-1739.2000.99194.x.
  61. Gardner, J; Peterson, DL (2003). "Making sense of the aquaculture debate: analysis of the issues related to netcage salmon farming and wild salmon in British Columbia" (PDF). Vancouver, BC: Pacific Fisheries Resource Conservation Council. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-26.
  62. Hansen L. P., J. A. Jacobsen and R. A. Lund (1999). "The incidence of escaped farmed Atlantic salmon, Salmo salar L., in the Faroese fishery and estimates of catches of wild salmon". ICES Journal of Marine Science. 56 (2): 200–206. doi:10.1006/jmsc.1998.0437.
  63. Lee, Kessina; Windrope, Amy; Murphy, Kyle (Jan 2018). 2017 Cypress Island Atlantic Salmon Net Pen Failure: An Investigation and Review (PDF) (Report). Washington State Department of Natural Resources. pp. 1–120.
  64. "Sea Lice and Salmon: Elevating the dialogue on the farmed-wild salmon story" (PDF). Watershed Watch Salmon Society. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-13.
  65. Bravo, S. (2003). "Sea lice in Chilean salmon farms". Bull. Eur. Assoc. Fish Pathol. 23: 197–200.
  66. Morton, A.; Routledge, R; Peet, C; Ladwig, A (2004). "Sea lice (Lepeophtheirus salmonis) infection rates on juvenile pink (Oncorhynchus gorbuscha) and chum (Oncorhynchus keta) salmon in the nearshore marine environment of British Columbia, Canada". Canadian Journal of Fisheries and Aquatic Sciences. 61 (2): 147–157. doi:10.1139/f04-016.
  67. Peet, C. R. (2007). Interactions between sea lice (Lepeophtheirus salmonis and Caligus clemensii), juvenile salmon (Oncorhynchus keta and Oncorhynchus gorbuscha) and salmon farms in British Columbia (PDF) (MSc). Victoria, British Columbia, Canada: University of Victoria. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-26.
  68. Krkošek, M; Gottesfeld, A; Proctor, B; Rolston, D; Carr-Harris, C; Lewis, M.A. (2007). "Effects of host migration, diversity and aquaculture on sea lice threats to Pacific salmon populations". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 274 (1629): 3141–9. doi:10.1098/rspb.2007.1122. PMC 2293942. PMID 17939989.
  69. Morton, Alexandra. "SALMON CONFIDENTIAL: The ugly truth about Canada's open-net salmon farms" (PDF). WHAT IS AFISH FARM?. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  70. Morton, Alexandra; Routledge, Rick; Krkosek, Martin (2008). "Sea Louse Infestation in Wild Juvenile Salmon and Pacific Herring Associated with Fish Farms off the East-Central Coast of Vancouver Island, British Columbia" (PDF). North American Journal of Fisheries Management. 28 (2): 523–532. doi:10.1577/M07-042.1. ISSN 0275-5947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-08-29.
  71. Krkosek, M.; Lewis, M. A.; Morton, A.; Frazer, L. N.; Volpe, J. P. (2006). "Epizootics of wild fish induced by farm fish". Proceedings of the National Academy of Sciences. 103 (42): 15506–15510. doi:10.1073/pnas.0603525103. ISSN 0027-8424.
  72. Brooks, Kenneth M.; Jones, Simon R. M. (2008). "Perspectives on Pink Salmon and Sea Lice: Scientific Evidence Fails to Support the Extinction Hypothesis". Reviews in Fisheries Science. 16 (4): 403–412. doi:10.1080/10641260801937131.
  73. Ford, Jennifer S; Myers, Ransom A (2008). "A Global Assessment of Salmon Aquaculture Impacts on Wild Salmonids". PLoS Biology. 6 (2): e33. doi:10.1371/journal.pbio.0060033. PMC 2235905. PMID 18271629.
  74. Larkin, Kate (2010-09-03). "Canada sees shock salmon glut". Nature News. doi:10.1038/news.2010.449.
  75. Marty, G. D.; Saksida, S. M.; Quinn, T. J. (2010). "Relationship of farm salmon, sea lice, and wild salmon populations". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (52): 22599–604. doi:10.1073/pnas.1009573108. PMC 3012511. PMID 21149706.
  76. "Analysis of Biological Networks: Transcriptional Networks - Promoter Sequence Analysis" (PDF). Tel Aviv University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2012-12-30.
  77. 77.0 77.1 77.2 Knapp, G; Roheim, CA; Anderson, JA (2007). Chapter 5: The World Salmon Farming Industry (PDF). The Great Salmon Run: Report of the Institute of Social and Economic Research. University of Alaska Anchorage. ISBN 0-89164-175-0. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-22.
  78. "Fast Growing GM Salmon Swims Close to US Markets". The Fish Site. 2009-02-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01.
  79. Medicine, Center for Veterinary. "Genetically Engineered Animals - AquAdvantage Salmon" (ภาษาอังกฤษ). FDA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ 2017-06-19.
  80. Devlin, R. H.; d'Andrade, M.; Uh, M.; Biagi, C. A. (2004). "Population effects of growth hormone transgenic coho salmon depend on food availability and genotype by environment interactions". Proceedings of the National Academy of Sciences. 101 (25): 9303–8. doi:10.1073/pnas.0400023101. PMC 438972. PMID 15192145.
  81. "Fish farmer sponsors new aviary for injured eagles". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2014-06-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-16. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
  82. ASC Salmon Standard (V1.1) (PDF). Aquaculture Stewardship Council. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-20. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
  83. "Salmon Aquaculture Dialogue: Benthic impacts report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-05.
  84. "Salmon Aquaculture Dialogue: Chemical report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-29.
  85. "Salmon Aquaculture Dialogue: Disease report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-05.
  86. "Salmon Aquaculture Dialogue: Sealice report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-05.
  87. "Salmon Aquaculture Dialogue: Escapes report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-11-20.
  88. "Salmon Aquaculture Dialogue: Feed report" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-05.
  89. "Salmon Aquaculture Dialogue: Nutrient loading" (PDF). World Wide Fund for Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-29.
  90. 90.0 90.1 Heen, K. (1993). Salmon Aquaculture. Halstead Press.
  91. 91.0 91.1 Sedgwick, S. (1988). Salmon Farming Handbook. Fishing News Books LTD.
  92. Bromage, N. (1995). Broodstock Management and Egg and Larval Quality. Blackwell Science.
  93. Mills, D. (1989). Ecology and Management of Atlantic Salmon. Springer-Verlag.
  94. Nash, Colin E.; Waknitz, F.William (2003). "Interactions of Atlantic salmon in the Pacific Northwest". Fisheries Research. 62 (3): 237–254. doi:10.1016/S0165-7836(03)00063-8. ISSN 0165-7836.
  95. MacCrimmon, Hugh R; Gots, Barra L (1979). World Distribution of Atlantic Salmon, Salmo salar. NRC Research Press.
  96. "Species Fact Sheet: Salmo salar, Linnaeus, 1758". FAO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02.
  97. Integrated Annual Report 2017 - Leading the Blue Revolution (PDF). Marine Harvest. 2018. p. 246. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-22.
  98. 98.0 98.1 "Species Fact Sheets: Oncorhynchus mykiss (Walbaum, 1792)". Rome: FAO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-01. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09.
  99. "BC Fish Facts-Steelhead" (PDF). British Columbia Ministry of Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.
  100. Bullock, G. L.; Cipriano, R. C. (1990). "LSC - Fish Disease Leaflet 82. Enteric Redmouth Disease of Salmonids". U.S. Department of the Interior, Fish and Wildlife Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13.
  101. "Species Fact Sheet: Oncorhynchus kisutch (Walbaum, 1792)". FAO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03.
  102. "Foodies...FREAK! Copper River Salmon Arrive". Seattlest. 2006-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-22.
  103. "Alaska Statutes - Section 16.40.210.: Finfish farming prohibited". Findlaw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  104. "Species Fact Sheet: Oncorhynchus tshawytscha (Walbaum, 1792)". FAO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03.
  105. 105.0 105.1 105.2 "Marine Aquaculture". Ministry of Fisheries (New Zealand). 2007-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20.
  106. Wassilieff, Maggy (2006-06-12). "Aquaculture: Salmon". Te Ara - the Encyclopedia of New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31.
  107. "Aquaculture in New Zealand" (PDF). aquaculture.govt.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-14.
  108. "History of Ballyconneely from earliest settlers to the present day". connemara.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26.
  109. Newton, Chris (2013). "The Strange Case of the Disappearing Salmon". The Trout's Tale - The Fish That Conquered an Empire. Ellesmere, Shropshire: Medlar Press. pp. 57–66. ISBN 978-1-907110-44-3.
  110. Newton, Chris (2013). "Scotland with Lions". The Trout's Tale - The Fish That Conquered an Empire. Ellesmere, Shropshire: Medlar Press. p. 106. ISBN 978-1-907110-44-3.
  111. Newton, Chris (2013). "Falklands' Silver". The Trout's Tale - The Fish That Conquered an Empire. Ellesmere, Shropshire: Medlar Press. p. 153. ISBN 978-1-907110-44-3.
  112. Newton, Chris (2013). "The Monsters of Kerguelen". The Trout's Tale - The Fish That Conquered an Empire. Ellesmere, Shropshire: Medlar Press. p. 163. ISBN 978-1-907110-44-3.
  113. "Billions of jellyfish wipe out salmon farm". MSNBC. 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-28.
  114. "Desert salmon farming becomes reality for Dubai-based company". The National. 2019-03-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]