มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

พิกัด: 37°25′42″N 122°10′08″W / 37.4282293°N 122.1688576°W / 37.4282293; -122.1688576[9]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Stanford University)
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
Leland Stanford Junior University
คติพจน์Die Luft der Freiheit weht (เยอรมัน)[1]
คติพจน์อังกฤษ
"The wind of freedom blows"[1]
ประเภทเอกชน มหาวิทยาลัยวิจัย
สถาปนา1891; 133 ปีที่แล้ว (1891)[2][3]
ผู้สถาปนาLeland และ Jane Stanford
ได้รับการรับรองWSCUC
สังกัดวิชาการ
ทุนทรัพย์$36.3 พันล้าน (2022)[4]
งบประมาณ$7.4 พันล้าน (2021–22)[5]
อธิการบดีMarc Tessier-Lavigne
ผู้เป็นประธานPersis Drell
อาจารย์2,279[6]
เจ้าหน้าที่15,314[7]
ผู้ศึกษา17,246 (ฤดูใบไม้ร่วง 2021)[8]
ปริญญาตรี7,858 (ฤดูใบไม้ร่วง 2021)[8]
บัณฑิตศึกษา9,388 (ฤดูใบไม้ร่วง 2021)[8]
ที่ตั้ง, ,
สหรัฐ

37°25′42″N 122°10′08″W / 37.4282293°N 122.1688576°W / 37.4282293; -122.1688576[9]
วิทยาเขตชานเมืองขนาดใหญ่[10] 8,180 เอเคอร์ (33.1 ตารางกิโลเมตร)[6]
วิทยาเขตอื่น ๆ
หนังสือพิมพ์The Stanford Daily
สีแดงคาร์ดินัลและขาว[11]
         
ฉายาCardinal
เครือข่ายกีฬา
มาสคอต
Stanford Tree (ไม่เป็นทางการ - ไม่มีมาสคอตของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ)[12]
เว็บไซต์stanford.edu
ภาพในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (อังกฤษ: Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมืองสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม. (37 ไมล์) สแตนฟอร์ดตั้งอยู่ในศูนย์กลางของซิลิคอนแวลลีย์ในเคาน์ตีซานตาคลารา และมหาวิทยาลัยอยู่ในบริเวณเมืองพาโลอัลโต มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1891 โดยเริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1885[13]

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับสองของโลกโดย Academic Ranking of World Universities, QS World University Rankings และ Times Higher Education มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดถูกจัดให้อยู่ในระดับเดียวกับ Harvard, Yale, Princeton, MIT, Caltech บางครั้งเรียกย่อ ๆ ในกลุ่มเด็กนักเรียน High School ว่ากลุ่ม HYPSMC หมายถึงกลุ่มมหาวิทยาลัยที่สมัครเข้าเรียนยาก[14] นอกจากนี้สแตนฟอร์ดยังได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งในสามมหาวิทยาลัยชั้นนำทางเทคโนโลยี นอกเหนือจาก MIT และ Caltech และมีนักวิจัยรางวัลโนเบลจำนวนมาก โดยเฉพาะในสาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ สแตนฟอร์ดยังมีคลังข้อมูลและศูนย์เก็บเอกสารทางด้านศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับสากล เช่น US Federal Government Archive ห้องเก็บหนังสือโบราณ และยังมีบุคลากรชั้นแนวหน้าในสาขาต่าง ๆ ทุกสาขา

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เตรียมพร้อมให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ เช่น Nike, Hewlett-Packard, Electronic Arts, Sun Microsystems, Nvidia, Yahoo!, Cisco Systems, Silicon Graphics และ Google เป็นต้น

การกีฬา[แก้]

จุดเด่นของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่แตกต่างจากโรงเรียนชั้นนำอื่น ๆ คือเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งในทางวิชาการและในด้านการกีฬา สแตนฟอร์ดอยู่ใน NCAA Division I-A อยู่ในแปซิฟิก-เทน และชนะเลิศการใน 70 รายการนับแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา และได้รางวัลถ้วย Director’s cup ซึ่งมอบให้กับมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในด้านการกีฬา เป็นเวลา 11 ปีติดต่อกันจากทั้งหมด 12 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2004 นักกีฬาของสแตนฟอร์ด ได้เหรียญรางวัลกีฬาโอลิมปิก 47 เหรียญ และชนะเลิศในระดับวิทยาลัย (NCAA Championship) 39 ครั้ง

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมีคู่แข่งในทางกีฬา คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ โดยทุก ๆ ปีจะมีการแข่งขันกีฬาอเมริกันฟุตบอลกัน ชื่อว่า The Big Game ในวันอาทิตย์ของเดือนพฤศจิกายน ในช่วงสัปดาห์นั้นจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับ Big Game ไปตลอดสัปดาห์

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

สแตนฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ

วงการการเมือง
วงการทูต
  • ซูซาน ไรส์ (Susan Rice) ทูตของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ
วงการธุรกิจและผู้ประกอบการ
วงการกีฬา
ศิษย์เก่าชาวไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Casper, Gerhard (October 5, 1995). Die Luft der Freiheit weht—On and Off (Speech). สืบค้นเมื่อ August 20, 2021.
  2. "History: Stanford University". Stanford University. สืบค้นเมื่อ June 3, 2020.
  3. "Chapter 1: The University and the Faculty". Faculty Handbook. Stanford University. September 7, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.
  4. "Stanford University reports return on investment portfolio, value of endowment". October 26, 2022. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2022
  5. "Finances – Facts 2020". May 6, 2020. สืบค้นเมื่อ June 2, 2020.
  6. 6.0 6.1 Communications, Stanford Office of University. "Introduction: Stanford University Facts". Stanford Facts at a Glance (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 22, 2022.
  7. "Stanford Factbook 2021" (PDF). Stanford University. November 9, 2021. สืบค้นเมื่อ January 22, 2022.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Stanford Facts". Stanford University. สืบค้นเมื่อ January 22, 2022.
  9. "Stanford University". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey. January 19, 1981.
  10. "IPEDS-Stanford University". สืบค้นเมื่อ January 16, 2022.
  11. "Color". Stanford Identity Toolkit. Stanford University. สืบค้นเมื่อ January 16, 2022.
  12. The Stanford Tree is the mascot of the band but not the university.
  13. "ประวัติมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
  14. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]