กฤษณา อโศกสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุกัญญา ชลศึกษ์
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (92 ปี)
นามปากกากฤษณา อโศกสิน
อาชีพนักเขียน

สุกัญญา ชลศึกษ์ หรือรู้จักในนามปากกาว่า กฤษณา อโศกสิน เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เป็นนักเขียนนวนิยายชาวไทย มีผลงานการประพันธ์มากกว่า 200 ชิ้น หลายเรื่องเขียนสะท้อนสังคมไทยจนได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีแห่งนวนิยายชีวิต[1] ผลงานเขียนที่ได้รับความนิยมเช่น จำหลักไว้ในแผ่นดิน, เวียงแว่นฟ้า, หนึ่งฟ้าดินเดียว, ขุนหอคำ, ไฟทะเล, น้ำเล่นไฟ, ข้ามสีทันดร, ถ่านเก่าไฟใหม่, พญาไร้ใบ, ตะเกียงแก้ว, ลายแทงในถ้ำแก้ว, กาฬปักษี, น้ำเซาะทราย ฯลฯ ผลงานหลายเรื่องได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์

การงาน[แก้]

กฤษณา อโศกสิน ชื่นชอบในการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาตั้งแต่ยังเด็ก โดยเริ่มเขียนเรื่องสั้นให้เพื่อนในชั้นเรียนอ่านกัน จนเมื่ออายุ 15 ปี ได้ส่งเรื่องสั้นเรื่องแรก "ของขวัญวันใหม่" ใช้นามปากกา "กัญญ์ชลา" ให้หนังสือ ไทยใหม่วันจันทร์ ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์[2] ได้ใช้นามปากกากฤษณา อโศกสิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จากนวนิยายเรื่อง วิหคที่หลงทาง เป็นเรื่องยาวเรื่องแรก ตีพิมพ์ใน สตรีสาร ซึ่งเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาก[3]

หลังจากจบการศึกษาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2489 ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เสมียน กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงทำงานเป็นนักเขียนไปด้วย โดยมีผลงานเรื่องสั้นลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และทยอยลงตีพิมพ์ออกมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยเรื่อง รวมถึงมีผลงานนวนิยาย ไม่ว่าจะเรื่อง หยาดน้ำค้าง, ดอกหญ้า และ ดวงตาสวรรค์ เป็นต้น

ระหว่าง พ.ศ. 2510–2520 เป็นช่วงเวลาที่กฤษณา อโศกสิน ทำงานเขียนหลายแห่ง ส่วนมากเป็นรายสัปดาห์เช่น แม่ศรีเรือน, นพเก้า, ศรีสยาม, ดวงดาว ผลงานหลายเรื่องได้รับนำไปสร้างเป็นละครและภาพยนตร์ เช่น เรือมนุษย์, ดวงตาสวรรค์, น้ำผึ้งขม, เมียหลวง, ข้ามสีทันดร, เนื้อนาง, ลายหงส์ และ ปีกทอง เป็นอาทิ[4]

กฤษณา อโศกสินได้รับรางวัลรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2528 ประเภทนวนิยายเรื่อง ปูนปิดทอง ได้ รางวัล สปอ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ปี พ.ศ. 2511 จากเรื่อง เรือมนุษย์ และปี พ.ศ. 2515 จากเรื่อง ตะวันตกดิน เป็น 1 ใน 50 นักเขียนทั่วโลกผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวรรณกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี กาเบียลา มิสตรัล และได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) เมื่อ พ.ศ. 2531[5]

นอกจากนั้นยังได้ตั้งเว็บไซต์ชื่อว่า fiction log[6]

การศึกษา[แก้]

กฤษณา อโศกสิน ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับมติเห็นชอบให้สมควรได้รับพระราชทานปริญญาบัตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2545

ต่อมาสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีมติเห็นชอบให้กฤษณา อโศกสินได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย โดยได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2565

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

กฤษณา อโศกสิน เป็นบุตรคนโตในพี่น้อง 6 คน บิดาเป็นหัวหน้ากองสหกรณ์ธนกิจ และผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ถูกกุมขังเป็นนักโทษการเมือง เนื่องจากรัฐประหาร ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บั้นปลายชีวิตบิดาได้บวชและเสียชีวิตที่แคนาดา ตอนอายุ 64 ปี ส่วนมารดาเสียชีวิตจากเหตุการณ์เรือล่มตั้งแต่กฤษณา อโศกสิน อายุได้ 13 ปี[1]

กฤษณา อโศกสินได้สมรสและมีบุตรธิดารวม 4 คน เป็นชาย 3 คน และผู้หญิง 1 คน[6]

ผลงาน[แก้]

นามปากกา กฤษณา อโศกสิน[แก้]

  • กายนาง
  • กิ่งมัลลิกา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2528 ช่อง 7)
  • เกสรดอกสวาท
  • เกิดมาสวย
  • กระจกขอบทอง
  • กระเช้าสีดา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 ช่อง 3 และ 2564 ช่อง one)
  • กระท่อมปลายนา
  • ข้ามบรรพกาล
  • ข้ามเมฆา
  • ข้ามมหาสาคร
  • ข้ามสีทันดร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2542 ช่อง 7 และ 2561 ช่อง 3)
  • ขุนหอคำ
  • เข็มซ่อนปลาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2539 ช่อง 3 และ 2565 ช่อง 7)
  • ขอบน้ำจรดขอบฟ้า
  • ขอบฟ้าจรดขอบน้ำ
  • ขอบฟ้าใหม่
  • คาวน้ำค้าง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2545 ช่อง ITV)
  • ควันเทียน
  • ความรักแสนกล (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2524 ช่อง 5 และ 2528 ช่อง 3)
  • เงาจันทร์
  • จันทร์ยาตรา
  • จ้าวอสุรินทร์
  • จำหลักไว้ในแผ่นดิน
  • ฉากทอง
  • ชาวกรง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2541 ช่อง 3)
  • ชิงช้าดอกบานชื่น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2546 ช่อง 5)
  • ชีวิตเป็นของเรา
  • ชลธีพิศวาส (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 7)
  • ดาดฟ้าดาว
  • ดาวเหนือ
  • ดวงตาสีอำพัน
  • เดือนครึ่งดวง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2525 ช่อง 9 อสมท. 2530 ช่อง 7 และ 2548 ช่อง 3)
  • ดอกไม้ไร้นาม
  • ตะวันตกดิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2526 ช่อง 7 และ 2564 ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • ตัวละครของฉัน
  • ถ่านเก่าไฟใหม่ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2542 ช่อง 3)
  • เถาวัลย์สวาท (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2525 ช่อง 5)
  • ถนนไปดวงดาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2525 ช่อง 3)
  • ถนนสายเสน่หา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2523 ช่อง 3)
  • ทะเลโลกย์
  • ทรายย้อมสี (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2541 ช่อง 3 และ 2560 ช่อง 8)
  • น้ำค้างกลางดึก
  • น้ำค้างยามเช้า
  • น้ำท่วมเมฆ
  • น้ำผึ้งขม และ ระฆังวงเดือน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 7 ครั้ง 2514 ช่อง 4 บางขุนพรหม 2520 ช่อง 9 อสมท. 2523 ช่อง 5 2529 ช่อง 7 2543, 2552 และ 2561 ช่อง 3)
  • น้ำเซาะทราย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง 2516 ช่อง 4 บางขุนพรหม 2522 ช่อง 5 2536 และ 2560 ช่อง 7 2544 ช่อง 3)
  • น้ำเล่นไฟ
  • นางพญาหลวง
  • เนื้อทอง
  • เนื้อนาง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2529 ช่อง 7 และ 2563 ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • เนื้อใน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2563 ช่อง GMM25)
  • บันไดเมฆ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2530 ช่อง 3)
  • บันไดไม้รัก
  • บัลลังก์ใยบัว
  • บาดาลใจ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2525 ช่อง 5 , 2536 และ 2551 ช่อง 3)
  • บ้านขนนก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2528 ช่อง 3)
  • บาปสลาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2523 ช่อง 9 อสมท.)
  • ใบไม้เปลี่ยนสี
  • บุษบกใบไม้
  • บุหลันรัญจวน
  • ป่ากามเทพ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 ช่อง 3 และ 2562 ช่อง GMM25)
  • ปีกทอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2525 ช่อง 3 2542 ช่อง 7 และ 2559 ช่อง GMM25)
  • ปูนปิดทอง ได้รับรางวัลซีไรต์ นวนิยาย ประจำปี 2528
  • เปลวเทียน
  • ไปสู่ฉิมพลี
  • ประตูที่ปิดตาย
  • ปลาผิดน้ำ
  • ฝ้ายแกมแพร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2524 ช่อง 9 อสมท. 2530 ช่อง 5 และ 2563 ช่อง GMM25 )
  • ฝันหลงฤดู
  • ฝนกลางฝุ่น
  • พันไว้ด้วยใบรัก
  • พญาไร้ใบ
  • เพชรในเรือน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2536 ช่อง 3)
  • เพลงบินใบงิ้ว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2536 ช่อง 9 อสมท. และ 2565 ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • เพลงสาป
  • เพลิงกินรี (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2523 ช่อง 3 )
  • เพลิงบุญ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2539 และ 2560 ช่อง 3)
  • พระจันทร์หลงเงา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2524 ช่อง 5 และ 2526 ช่อง 3)
  • พลอยพราวแสง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง 9 อสมท.)
  • พฤกษาสวาท (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2527 และ 2550 ช่อง 3 , 2538 ช่อง 5)
  • ไฟหนาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2524 ช่อง 5)
  • ไฟในทรวง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2525 ช่อง 5 2541 ช่อง 3)
  • ไฟพ่าย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2519 ช่อง 3)
  • ภมร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2562 ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • มารสวาท
  • ไม้ป่า (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2541 ช่อง 3)
  • ไม้ผลัดใบ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2526 ช่อง 3)
  • เมรัยสีกุหลาบ
  • เมียหลวง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง 2512 ช่อง 4 2524 ช่อง 5 2532 และ 2552 ช่อง 7 2542 และ 2560 ช่อง 3 ยกเว้น 2566 ฉายทางช่อง WeTV)
  • แมลงและมาลี
  • มณีดิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2524 ช่อง 3)
  • หยาดน้ำค้าง
  • ระบำมาร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2526 ช่อง 3 และ 2561 ช่อง 7)
  • รากแก้ว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2565 ช่อง 3)
  • ริมหน้าต่างกระจก
  • รูปทอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2561 ช่อง GMM25)
  • เรือมนุษย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2528 ช่อง 9 อสมท. และ 2562 ช่อง 7)
  • รสรักปักอุรา
  • รสอมฤต
  • หลงไฟ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2560 ช่อง GMM 25)
  • หลังลับแล
  • เหลี่ยมกุหลาบ
  • ลานภุมรา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2526 ช่อง 3)
  • ลายดอกไม้ร่วง
  • ลายดอกหญ้า
  • ลายสลักอักษรา
  • ลายหงส์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2531 ช่อง 3 และ 2559 ช่อง GMM25)
  • ลีลาพระพาย
  • ลูกไม้ลายดอกรัก
  • ล่องทะเลดาว
  • เลื่อมสลับลาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2526 และ 2558 ช่อง 7 , 2541 ช่อง 3)
  • โลกของมัทรี
  • ลมที่เปลี่ยนทาง
  • ลมบูรพา
  • ลมพัดชายน้ำ
  • วังอาชาไนย
  • วิมานไฟ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง 2515 ช่อง 4 บางขุนพรหม , 2524 ช่อง 9 อสมท. , 2533 ช่อง 3 , 2548 ช่อง 5 และ 2567 ช่อง one)
  • วิมานไม้ฉำฉา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2533 ช่อง 3)
  • วิหคที่หลงทาง
  • วิหคโสภา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 3)
  • เวิ้งระกำ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2530 ช่อง 7)
  • เวียงแว่นฟ้า
  • ศัตรูหัวใจ
  • ศาลานกน้อย
  • ศาลาหกเหลี่ยม
  • ศัตรูหัวใจ
  • สะพานข้ามดาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2537 ช่อง 7)
  • สามคม (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2542 ช่อง 3)
  • สายรุ้งสลาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2530 ช่อง 3)
  • เสียงนกจากพราก
  • สมมติว่าเขารักฉัน
  • สวรรค์เบี่ยง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง 2514 ช่อง 4 บางขุนพรหม 2521 ช่อง 9 อสมท. 2531 และ 2541 ช่อง 7 2551 ช่อง 3)
  • ห้องที่จัดไม่เสร็จ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 3)
  • หน้าต่างบานแรก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2545 ช่อง ITV)
  • หนามกุหลาบ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2525 ช่อง 5)
  • หนามดอกไม้
  • หนึ่งห้องหัวใจ
  • หนึ่งฟ้าดินเดียว
  • หนึ่งในหล้า
  • อุทยานเครื่องเทศ
  • อุโมงค์เวลา

นามปากกา กัญญ์ชลา[แก้]

  • กรงทอง
  • ชีวิตเป็นของเรา
  • ดอกหญ้า-ดวงตาสวรรค์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2521 และ 2554 ช่อง 3 2533 ช่อง 7 )
  • ตะเกียงแก้ว
  • ในกระแสชล
  • บ่วงดวงใจ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2528 และ 2541 ช่อง 3)
  • ประตูสีเทา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2523 ช่อง 3)
  • ฝันกลางฤดูฝน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2519 และ 2524 ช่อง 5 2532 ช่อง 3)
  • ฝนหยาดสุดท้าย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2527 ช่อง 3)
  • พระจันทร์หลงเงา
  • ไฟทะเล (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2526 ช่อง 5)
  • รอบรวงข้าว
  • ลานลูกไม้ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2530 ช่อง 3)
  • หลังคาใบบัว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2546 ช่อง ITV และ 2566 ช่องอมรินทร์)
  • สาปสวาท (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2516 ช่อง 4 บางขุนพรหม 2526 และ 2533 ช่อง 9 อสมท.)
  • เสื้อสีฝุ่น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2526 ช่อง 5 2545 และ 2557 ช่อง 3)

นามปากกา สไบเมือง[แก้]

  • กาฬปักษี
  • ความมืดแห่งคูหาทอง
  • ลายแทงในถ้ำแก้ว
  • เสียงแห่งมัชณิมยาม
  • มายาในวารี
  • ไพรีในเมรัย

เรื่องสั้น และ อื่นๆ[แก้]

  • ยอดเจดีย์ทอง สองฟากอิรวดี
  • เสียงหัวเราะและน้ำตาในศิลานคร
  • สารคดี ม่านไหมลายทอง (เขียนร่วมกับ นันทวัน หยุ่น)
  • ปลายสายฝนที่ทาคายามา
  • ตัวละครของฉัน (เขียนเบื้องหลังผลงานของ กฤษณา อโศกสิน)
  • วรรคเพชร
  • กลิ่นฟาง (The Sweet Scent of Hay) เป็นการประพันธ์เรื่องของ กฤษณา อโศกสิน โดยมี Wanda (วาสนา ชลศึกษ์ เคนแมน) เป็นผู้แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ทั้งอรรถรสของเนื้อหาและยังได้รับความสุข สนุกเพลิดเพลิน และความรู้ จากการอ่านเรื่องสั้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน
  • หมึกสองสี...พี่กับน้อง (เขียนร่วมกับ นายา)
  • รวมเรื่องสั้น เพชรสีน้ำเงิน (เขียนร่วมกับ ชูวงศ์ ฉายะจินดา , ชมัยภร แสงกระจ่าง , แก้วเก้า ว.วินิจฉัยกุล , นราวดี , กิ่งฉัตร , ปิยะพร ศักดิ์เกษม , นายา และ ประภัสสร เสวิกุล )

รางวัล[แก้]

รางวัล ส.ป.อ.[แก้]

  • พ.ศ. 2511 จากเรื่อง เรือมนุษย์
  • พ.ศ. 2515 จากเรื่อง ตะวันตกดิน

รางวัลซีไรต์ (S.E.A. WRITE AWARD)[แก้]

  • พ.ศ. 2528 จากเรื่อง ปูนปิดทอง

รางวัลดีเด่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ[แก้]

  • บุษบกใบไม้ ปี พ.ศ. 2529
  • ไฟทะเล ปี พ.ศ. 2531
  • ข้ามสีทันดร ปี พ.ศ. 2541
  • พญาไร้ใบ ปี พ.ศ. 2542
  • จำหลักไว้ในแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2548
  • น้ำเล่นไฟ ปี พ.ศ. 2554

รางวัลชมเชย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ[แก้]

  • รากแก้ว ปี พ.ศ. 2517
  • ไม้ผลัดใบ ปี พ.ศ. 2519
  • ลมที่เปลี่ยนทาง ปี พ.ศ. 2520
  • บ้านขนนก ปี พ.ศ. 2522
  • ไฟหนาว ปี พ.ศ. 2523
  • กระเช้าสีดา ปี พ.ศ. 2528
  • ภมร ปี พ.ศ. 2531
  • ถ่านเก่าไฟใหม่ ปี พ.ศ. 2532
  • เพลงบินใบงิ้ว ปี พ.ศ. 2534
  • ชาวกรง ปี พ.ศ. 2536
  • เนื้อใน ปี พ.ศ. 2539
  • พญาไร้ใบ ปี พ.ศ. 2542
  • เวียงแว่นฟ้า ปี พ.ศ. 2544
  • ตะเกียงแก้ว ปี พ.ศ. 2548

รางวัลชมเชย จากสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ[แก้]

  • พ.ศ. 2515 จากเรื่อง ฝันกลางฤดูฝน

รางวัลอื่น ๆ[แก้]

  • บุษบกใบไม้ ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2529
  • ได้รับการประกาศยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2531
  • ข้ามสีทันดร ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2541 และ หน้าต่างบานแรก ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปี 2554
  • ได้รับเหรียญที่ระลึกจากศูนย์วัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ แห่งประเทศชิลี ที่จัดทำขึ้นเพื่อมอบเป็นเกียรติแก่ศิลปินผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวรรณกรรมทั่วโลกจำนวน 50 คน เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี Gabriela Mistral ซึ่งเป็นนักเขียนหญิงชาวชิลีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี พ.ศ. 2539
  • ได้รับรางวัลลุ่มน้ำโขง (Mekong River Literature Award) ประจำปี พ.ศ. 2557 ที่ประเทศกัมพูชา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ราชินีแห่งนวนิยายชีวิต กฤษณา อโศกสิน". ไทยรัฐ.
  2. ""กฤษณา อโศกสิน" ผู้เดินทางไกล 7 ทศวรรษ จากน้ำหมึกสู่ปากกาไฟฟ้า". ไทยโพสต์.
  3. "วันเกิด กฤษณา อโศกสิน". สนุก.คอม.
  4. "กฤษณา อโศกสิน – รางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2528".
  5. วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. "กฤษณามนุษย์". ศิลปวัฒนธรรม.
  6. 6.0 6.1 ""นิยายคือชีวิต"หมั่นลับสมองด้วยงานเขียน เทคนิคสูงวัยมีคุณภาพ"กฤษณา อโศกสิน"". ไทยโพสต์.