ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังต้องห้าม"

พิกัด: 39°54′56″N 116°23′27″E / 39.91556°N 116.39083°E / 39.91556; 116.39083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 61: บรรทัด 61:


== ชื่อ ==
== ชื่อ ==
ชื่อ "พระราชวังต้องห้าม" นั้นแปลมาจากชื่อในภาษาจีนว่า ''จื่อจิ้น เฉิง'' ({{zh|c={{linktext|紫禁城}}|p=Zǐjīnchéng}} แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมือง ต้องห้าม สีม่วง") ชื่อ ''จื่อจิ้น เฉิง'' ปรากฎขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2119<ref>p26, Barmé, Geremie R (2008). The Forbidden City. Harvard University Press.</ref> สำหรับในภาษาอังกฤษเรียกพระราชวังนี้ว่า ''เมืองต้องห้าม'' (Forbidden City) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ''พระราชวังต้องห้าม'' (Forbidden Palace)<ref>See, e.g., {{cite journal|title=Perspective of urban land use in Beijing|journal=GeoJournal|date=April 1990|first=Guo-hui|last=Gan|volume=20|issue=4|pages=359–364|doi=10.1007/bf00174975}}</ref>
พระราชวังต้องห้ามเป็นที่รู้จักในหลากหลายชื่อ ในภาษาจีนนั้น ชาวจีนจะเรียกพระราชวังต้องห้ามว่า '''กู้กง''' ([[ภาษาจีน|จีน]]: 故宫; [[พินอิน]]: Gùgōng) ซึ่งแปลว่า พระราชวังเก่า นอกจากนี้ คำนี้ยังใช้เรียกพระราชวังเก่าตามเมืองต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศจีนด้วย


ชื่อ ''จื่อจิ้น เฉิง'' เป็นชื่อที่มีความสำคัญหลายระดับ คำว่า ''จื่อ'' หรือ "สีม่วง" อ้างอิงถึง[[ดาวเหนือ]] ซึ่งจีนโบราณเรียกดาวดวงนี้ว่า ''ดาวจื่อเว่ย'' และใน[[ดวงจีน]]แบบดั้งเดิมถือว่าเป็นสรวงสวรรค์ที่ประทับของ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] ล้อมรอบด้วยกลุ่มดาวโดยรอบ [[กลุ่มดาวจีน|การปิดล้อมจื่อเว่ย]] ({{zh|c={{linktext|紫微垣}}|p=Zǐwēiyuán}}) ถือเป็นราชอาณาจักรของเง็กเซียนฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ของพระองค์ พระราชวังต้องห้ามถือเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นโลกคู่กัน คำว่า ''จิ้น'' หรือ "ต้องห้าม" อ้างอิงถึงความจริงที่ว่าไม่มีผู้ใดที่สามารถผ่านเข้าออกพระราชวังได้ โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จจักรพรรดิ ส่วนคำว่า ''เฉิง'' หมายถึง "เมือง"<ref name="Yu 18"/>
ส่วนคำที่เรารู้จักกันดีว่า "พระราชวังต้องห้าม" นั้น แปลมาจากภาษาจีน '''จื่อจิ้น เฉิง''' ([[ภาษาจีน|จีน]]: 紫禁城; [[พินอิน]]: Zǐjìn Chéng) ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีเลือดหมู" ด้วยเหตุที่ว่า ห้ามสามัญชนเข้าไปในบริเวณวังหลวงโดยเด็ดขาด และสีเลือดหมูนั้นเป็นสีอาคารและหลังคาโดยทั่วไป

ในทุกวันนี้ สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักใรทั่วไปว่า ''กู้กง'' ({{zh|c={{linktext|故宫}}|p=Gùgōng}}) ซึ่งหมายถึง "พระราชวังเก่า"<ref>"กู้กง" ในความรู้สึกโดยทั่วไปยังสามารถอ้างอิงถึงพระราชวังเก่าทั้งหมดได้ด้วย อีกตัวอย่างที่โดดเด่นคือพระราชวังหลวงเก่า ([[พระราชวังมุกเดน]]) ใน[[เสิ่นหยาง]]</ref> ส่วนพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนอาคารเหล่านั้นรู้จักในชื่อ "พิพิธภัณฑ์พระราชวัง" ({{zh|c={{linktext|故宫博物院}}|p=Gùgōng Bówùyùan}})


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:17, 20 กรกฎาคม 2561

พิพิธภัณฑ์พระราชวัง
故宫博物院
ประตูเสินอู่เหมิน ประตูด้านทิศเหนือ มีป้ายตัวอักษรด้านล่างอ่านว่า "พิพิธภัณฑ์พระราชวัง" (故宫博物院)
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1925
ที่ตั้ง4 ถนนจิ่งชานเฉียน เขตตงเฉิง ปักกิ่ง
พิกัดภูมิศาสตร์39°54′58″N 116°23′53″E / 39.915987°N 116.397925°E / 39.915987; 116.397925
จำนวนผู้เยี่ยมชม16.7 ล้านคน[1]
ภัณฑารักษ์ชาน จี่ เซียง
สถาปนิกไคว่ เซียง
เว็บไซต์en.dpm.org.cn (ภาษาอังกฤษ)
www.dpm.org.cn (ภาษาจีน)
พระราชวังแห่ง
ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง
ในปักกิ่งและเสิ่นหยาง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศกรุงปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) และ มณฑลเหลียวหนิง (พระราชวังเสิ่นหยาง)  จีน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน (39°54′56″N 116°23′27″E / 39.91556°N 116.39083°E / 39.91556; 116.39083) เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 980 หลัง[2] มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง[3] และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร[4] ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963

พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย

แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้

ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)

ชื่อ

ชื่อ "พระราชวังต้องห้าม" นั้นแปลมาจากชื่อในภาษาจีนว่า จื่อจิ้น เฉิง (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjīnchéng แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมือง ต้องห้าม สีม่วง") ชื่อ จื่อจิ้น เฉิง ปรากฎขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2119[5] สำหรับในภาษาอังกฤษเรียกพระราชวังนี้ว่า เมืองต้องห้าม (Forbidden City) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พระราชวังต้องห้าม (Forbidden Palace)[6]

ชื่อ จื่อจิ้น เฉิง เป็นชื่อที่มีความสำคัญหลายระดับ คำว่า จื่อ หรือ "สีม่วง" อ้างอิงถึงดาวเหนือ ซึ่งจีนโบราณเรียกดาวดวงนี้ว่า ดาวจื่อเว่ย และในดวงจีนแบบดั้งเดิมถือว่าเป็นสรวงสวรรค์ที่ประทับของเง็กเซียนฮ่องเต้ ล้อมรอบด้วยกลุ่มดาวโดยรอบ การปิดล้อมจื่อเว่ย (จีน: 紫微垣; พินอิน: Zǐwēiyuán) ถือเป็นราชอาณาจักรของเง็กเซียนฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ของพระองค์ พระราชวังต้องห้ามถือเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นโลกคู่กัน คำว่า จิ้น หรือ "ต้องห้าม" อ้างอิงถึงความจริงที่ว่าไม่มีผู้ใดที่สามารถผ่านเข้าออกพระราชวังได้ โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จจักรพรรดิ ส่วนคำว่า เฉิง หมายถึง "เมือง"[7]

ในทุกวันนี้ สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักใรทั่วไปว่า กู้กง (จีน: 故宫; พินอิน: Gùgōng) ซึ่งหมายถึง "พระราชวังเก่า"[8] ส่วนพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนอาคารเหล่านั้นรู้จักในชื่อ "พิพิธภัณฑ์พระราชวัง" (จีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan)

ประวัติ

ภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในสมัยราชวงศ์หมิงเป็นจิตรกรรมแบบราชวงศ์หมิง
ภาพวาดพระราชวังต้องห้ามในหนังสือเยอรมัน The Garden Arbor (ค.ศ. 1853)

เมื่อองค์ชายจูตี้ พระราชโอรสในจักรพรรดิหงอู่เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิจักรพรรดิหย่งเล่อแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังปักกิ่ง การก่อสร้างพระราชวังหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1949 และต่อมาจึงกลายมาเป็นพระราชวังต้องห้าม[7]

การก่อสร้างดำเนินไปเป็นระยะเวลา 14 ปี และใช้กรรมกรมากกว่าหนึ่งล้านคน[9] วัสดุที่ถูกนำมาใช้ ประกอบด้วย ท่อนไม้ชั้นเยี่ยมจากไม้ Phoebe zhennan (จีน: 楠木; พินอิน: nánmù) ซึ่งพบได้ทางป่าด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และหินอ่อนขนาดใหญ่จากเหมืองใกล้กับปักกิ่ง[10] พื้นของตำหนักส่วนใหญ่ถูกปูด้วย "อิฐทองคำ" (จีน: ; พินอิน: jīnzhuān) ซึ่งเป็นอิฐเผาพิเศษจากซูโจว[9]

ตั้งแต่ พ.ศ. 1963 ถึง พ.ศ. 2187 พระราชวังต้องห้ามเป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 พระราชวังแห่งนี้ถูกยึดครองโดยกลุ่มกบฎที่นำโดยหลี่ จื้อเฉิง โดยเขาประกาศตัวเองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชุน[11] แต่ไม่ช้าเขาก็ต้องลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามไปก่อนที่กองทัพซึ่งเป็นกองผสมของอดีตผู้บัญชาการอู่ ซานกุ่ยแห่งราชวงศ์หมิงและกองกำลังแมนจู จะเข้ายึดชิงบางส่วนของพระราชวังต้องห้ามคืน[12]

ต่อมาในเดือนตุลาคม กองกำลังแมนจูประสบความสำเร็จอย่างสูงในภาคเหนือของจีน และมีการจัดพระราชพิธีขึ้นที่พระราชวังต้องห้าม ในการประกาศการเสวยราชย์ของจักรพรรดิซุ่นจื้อในฐานะทรงปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมดภายใต้ราชวงศ์ชิง[13] ราชสำนักชิงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำหนักบางหลังเพื่อเน้น "ความสามัคคี" มากกว่า "ความยิ่งใหญ่"[14] สร้างป้ายชื่อสองภาษา (ภาษาจีนและภาษาแมนจู)[15] และได้นำองค์ประกอบเชมันเข้าสู่พระราชวัง[16]

ในปี พ.ศ. 2403 ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองกำลังแองโกล-เฟรนซ์ได้เข้ามายึดครองพระราชวังต้องห้ามและครองไว้จนสิ้นสุดสงคราม[17] ในปี พ.ศ. 2443 พระพันปีฉือสี่ทรงลี้ภัยออกจากพระราชวังต้องห้ามในช่วงที่เกิดกบฏนักมวย และทรงปล่อยให้พระราชวังต้องห้ามถูกยึดครองโดยกองกำลังตามอำนาจในสนธิสัญญาจนถึงปีถัดมา[17]

ประตูตงหวาเหมินที่ถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการบูรณะ 16 ปี

หลังจากที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ 24 พระองค์ ในจำนวนนั้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง 14 พระองค์ และราชวงศ์ชิง 10 พระองค์ พระราชวังต้องห้ามถูกยุติการเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของประเทศจีนลงในปี พ.ศ. 2455 พร้อมกับการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจีน จากข้อตกลงกับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนใหม่ อดีตจักรพรรดิผู่อี๋จะยังคงพำนักอยู่ภายในเขตพระราชฐานชั้นในได้ ในขณะที่เขตพระราชฐานชั้นนอกนั้นยกให้ใช้เป็นสาธารณะ[18] จนกระทั่งอดีตจักรพรรดิผู่อี๋ถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้ามภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2467[19] พิพิธภัณฑ์พระราชวังถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2468[20] ในปี พ.ศ. 2476 การบุกรุกจีนของญี่ปุ่น ได้บังคับให้ย้ายสมบัติประจำชาติภายในพระราชวังต้องห้ามออกไป[21] ส่วนหนึ่งของสมบัติถูกส่งกลับคืนเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[22] แต่อีกส่วนหนึ่งถูกอพยพไปยังไต้หวันในปี พ.ศ. 2491 ภายใต้คำสั่งของเจียง ไคเชก เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งปราชัยในสงครามกลางเมืองจีน สมบัติที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่มีคุณภาพสูงถูกเก็บไว้จนถึงปี พ.ศ. 2508 มันถูกนำมันจัดแสดงแก่สาธารณะอีกครั้ง เป็นสมบัติชิ้นหลักของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไทเป[23]

หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 ความเสียหายบางประการได้เกิดขึ้นกับพระราชวังต้องห้ามเนื่องจากถูกกวาดล้างในการปฏิวัติที่กระตือรือร้นจนเกินไป[24] ในช่วงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การทำลายล้างเพิ่มเติมถูกป้องกันเมื่อนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลส่งกองทัพออกไปปกป้องพระราชวังต้องห้าม[25]

พระราชวังต้องห้ามถูกประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยยูเนสโก ในชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง"[26] เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑ์พระราชวัง ซึ่งมีการดำเนินโครงการการบูรณะสิบหกปี เพื่อซ่อมแซมและบูรณะอาคารทั้งหมดภายในพระราชวังต้องห้ามให้กลับไปอยู่ในสภาพก่อนปี พ.ศ. 2455[27]

ในปัจจุบันนี้การแสดงตัวขององค์กรการค้าในพระราชวังต้องห้ามกำลังก่อให้เกิดการโต้แย้ง[28] ร้านสตาร์บัคส์ถูกเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2543 จุดประกายความรู้สึกไม่เห็นด้วยและในที่สุดก็ถูกปิดร้านในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[29][30] สื่อจีนยังมีการแจ้งว่ามีร้านขายของที่ระลึก 2 แห่งซึ่งปฏิเสธชาวจีนและยอมรับเงินจากชาวต่างชาติในปี พ.ศ. 2549[31]

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับการเลี้ยงรับรองอาหารค่ำในพระราชวังต้องห้าม นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนมา[32]

โครงสร้างและสถาปัตยกรรม

The Forbidden City viewed from Jingshan Hill
แปลนของพระราชวังต้องห้าม
- – - เส้นแบ่งโดยประมาณระหว่างเขตพระราชฐานชั้นใน (ด้านเหนือ) และเขตพระราชฐานชั้นนอก (ด้านใต้)

พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่บนหัวใจปักกิ่ง (the heart of Beijing) นักดาราศาสตร์ชาวจีนโบราณสร้างให้ที่ตั้งนี้เป็นเครื่องหมายแห่งจักรวาล[33]

การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามใช้ช่างฝีมือกว่าหนึ่งแสนคน คนงานมากกว่าหนึ่งล้านคน ไม้ที่ใช้เป็นไม้หนามมู่ เป็นไม้เนื้อแข็งชั้นดี เอามาจากมณฑลซื่อชวน กว่างตง และยูนาน ส่วนไม้ซุงขนมาจากซื่อชวน เจียงซี เจ๋อเจียง ส่านซี และฮูนาน การตัดและการขนย้ายเป็นเรื่องสุดโหด ไม้เมื่อตัดแล้ว จะต้องทิ้งไว้บนเขาอย่างนั้น รอให้น้ำป่าหลากทะลักพัดมันลงมาเอง จากนั้นจึงค่อยบรรทุกขึ้นเรือมาปักกิ่ง

หินที่ใช้ในการก่อสร้าง นำมาจากฟ่างซาน การขนย้ายต้องจ้างชาวไร่ ขาวนา ในการขนย้ายหินถึง 2,000 คน หินแต่ละก้อนยาว 10 เมตร กว้าง 3 เมตร หนา 1.6 เมตร หากเคลื่อนย้ายผ่านภูมิภาคที่เป็นน้ำแข็ง ต้องราดน้ำลงไปเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เมื่อมาถึงปักกิ่ง ต้องใช้ม้าและล่อลากหินเป็นพันๆ ตัว

อิฐนำมาจากหลินจิ้ง ในมณฑลซานตง การสร้างต้องใช้อิฐมากกว่าสิบล้านก้อน เพื่อใช้ปูพื้นพระราชวัง และขั้นตอนในการปูพื้นมีกรรมวิธีกว่ายี่สิบขั้นตอน แต่ละพื้นที่ใช้เวลาปูพื้นร่วมปี[34]

กำแพงและประตูวัง

ประตูทั้ง 4 ทิศของพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามมีประตู 4 แห่ง ประตูใหญ่เรียกว่า "อู่เหมิน" มีรูปร่างเหมือนอักษรตัว "ยู" ของภาษาอังกฤษยิ่งใหญ่หรูหราอลังการ หลังประตู "อู่เหมิน" มีสะพานหินอ่อน 5 แห่งทอดไปสู่ประตู "ไท่เหอเหมิน" ส่วนประตูทิศตะวันออกมีชื่อว่า "ตงหวาเหมิน" ประตูทิศตะวันตกชื่อว่า "ซีหวาเหมิน" และประตูทิศเหนือชื่อว่า "เสินอู่เหมิน" ที่มุมสี่ด้านของพระราชวังต้องห้ามมี "ป้อม" ที่วิจิตรประณีต ซึ่งมีความสูง 27.5 เมตร มีหลังคารูปไม้กางเขน สามชั้น มีชายคายื่นออกมาเป็นชั้นๆ ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์พิเศษในด้านการออกแบบ ประตู "อู่เหมิน" ซึ่งเป็นประตูใหญ่ของพระราชวังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "อู่เฟิ่งโหลว" เชื่อมด้วยกำแพงที่มีความสูง 12 เมตรในทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ที่ล้อมรอบจัตุรัสรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นพลับพลาสองชั้น ด้านหน้าเป็นพระที่นั่งที่มีความกว้างเท่ากับห้อง 9 ห้อง มีหลังคาสองชั้น นอกจากนี้ ยังมีพลับพลาอีก 4 แห่งตามกำแพงทั้งสองข้าง และสร้างระเบียงเชื่อมกันไว้ด้วย หอพลับพลาแบบนี้เรียกว่า "ประตูพลับพลา" เป็นประตูระดับสูงสุดในสมัยโบราณของจีน สิ่งก่อสร้างแห่งนี้มีความสง่างามมาก เป็นจุดสูงที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ประตู "อู่เหมิน" เป็นที่ประกาศพระบรมราชโองการและประกาศสงครามกับต่างประเทศ เมื่อมีพระบรมราชโองการของจักรพรรดิหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ ข้าราชการฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นล้วนต้องรวมตัวกันอยู่ที่จัตุรัสหน้าประตู "อู่เหมิน" เพื่อฟังอย่างพร้อมเพรียวกัน ช่องกลางของประตู "อู่เหมิน" มีแต่จักรพรรดิเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าออกได้ ยกเวิ้นพระมเหสีสามารถเดินผ่านประตูได้ในระหว่างพิธีอภิเษกสมรสจอหงวน ปางั่ง ถ้ำฮวยผู้สอบได้สามอันดับแรกในการสอบจอหงวนที่พระที่นั่ง "เป่าเหอ" สามารถเดินออกประตูนี้ได้หนึ่งครั้ง ด้านข้าราชการฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นต้องเดินเข้าออกประตูทิศตะวันออก ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ต้องเข้าออกประตูทิศตะวันตก

ประตู "เสินอู่เหมิน" เป็นประตูหลัง ในสมัยราชวงศ์หมิง เรียกว่าประตู "เฮียนบู๊" ตามชื่อของสัตว์สิริมงคลที่คอยเฝ้าทิศทั้งสี่ในสมัยโบราณของจีน ความเชื่อเดิมนั้นระบุว่า ซ้ายเช็งเล้ง หรือมังกรดำ ขวาแปะโฮ้ว หรือเสือขาว ด้านหน้าจูเจียก หรือหงษ์แดง ส่วนด้านหลังคือเฮียนบู๊ หรือเต่าเขียว เป็นผู้อาลักขาทิศเหนือ ด้วยเหตุนี้ ประตูทิศเหนือของพระราชวังในสมัยโบราณจีนส่วนใหญ่ตั้งชื่อว่า "เฮียนบู๊" ในรัชสมัยคังซีฮ่องเต้ เนื่องจากคำนี้มีเสียงพ้องกับชื่อของจักรพรรดิคังซี จึงเปลี่ยนชื่อเป็นประตู "เสินอู่เหมิน" ประตูแห่งนี้ก็เป็นประตูแบบมีพลับพลาอีกแห่งหนึ่ง สร้างเป็นหลังคาสองชั้นซึ่งมีระดับสูงสุดในสมัยโบราณของจีน แต่พระที่นั่งที่อยู่บนกำแพงมีความกว้างเพียงแค่ 5 ห้อง แถมไม่มีกำแพงยืดออกไปข้างๆ ด้วย จึงนับว่ามีระดับต่ำกว่าประตู "อู่เหมิน" ประตู "เสินอู่เหมิน" เป็นประตูที่ใช้เป็นประจำของพระราชวังต้องห้าม ปัจจุบันเป็นประตูใหญ่ของพิพิธภัณฑ์กู้กง

ประตู "ตงหวาเหมิน" และประตู "ซีหวาเหมิน" ตั้งอยู่ที่ปีกสองฝั่งของพระราชวังต้องห้าม หน้าประตู "ซีหวาเหมิน" มีหินที่เป็นสัญลักษณ์ว่าให้ลงม้า หลังประตูมี "แม่น้ำทอง" ไหลจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ และมีสะพานหินแห่งหนึ่ง จากสะพานไปทิศเหนือมีประตูเล็กอีกสามแห่ง ประตู "ตงหวาเหมิน" และ "ซีหวาเหมิน" เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน มีฐานสีแดง มีลายสลักรูปเขาพระสุเมรุทำด้วยหินอ่อนสีขาวสะอาด ในตอนกลางเปิดประตู 3 แห่ง มีกำแพงสองชั้น ชั้นนอกทรงสี่เหลี่ยม ชั้นในทรงกลม และบนกำแพงได้สร้างหอพลับพลาไว้ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองและหลังคาสองชั้น มีความกว้างเท่ากับห้อง 5 ห้อง ความลึกเท่ากับห้อง 3 ห้อง ภายหลังจักรพรรดิสิ้นพระชนม์แล้ว ต้องส่งพระศพออกทางประตู "ตงหวาเหมิน" จึงเรียกแบบไม่สุภาพว่า "ประตูผี"

ภายในประตู "อู่เหมิน" มีลานที่กว้างใหญ่แห่งหนึ่ง และมีสะพานอยู่เหนือ "แม่น้ำทอง" ที่ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จากที่นี่ไปทางทิศเหนือก็มาถึงประตู "ไท่เหอเหมิน" สองข้างมีห้องพักของข้าราชการและระเบียง มีสะพานอยู่เหนือ "แม่น้ำทอง" 5แห่ง ประกอบด้วยราวสะพานหินอ่อนสีขาว เสมือนสายหยก

เขตพระราชฐานชั้นนอก

แม่น้ำน้ำสีทอง (The Golden Water River) เป็นกระแสน้ำเทียมที่ไหลไปทั่วพระราชวังต้องห้าม
ประตูไถ่เหอเหมิน
ตำหนักไถ่เหอ
ป้ายชื่อแนวตั้งของตำหนักไถ่เหอ
พลับพลาหงยี่
เพดานของตำหนักเจียวไถ่
ภาพใกล้ของด้านขวาของประตูไถ่เหอเหมิน
ถังน้ำสัญลักษณ์ด้านหน้าของตำหนักไถ่เหอ

ตามธรรมเนียม พระราชวังต้องห้ามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก (外朝) หรือส่วนหน้า (前朝) ประกอบด้วยส่วนทางใต้ ถูกใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการพระราชพิธี และเขตพระราชฐานชั้นใน (内廷) หรือวังหลัง (后宫) ประกอบด้วยส่วนทางเหนือ ถูกใช้เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ และถูกใข้ในการบริหารกิจการรัฐประจำวัน (มีเส้นแบ่งโดยประมาณสีแดงตามแผนผังด้านบนเป็นเส้นแบ่งเขต) โดยทั่วไปแล้ว พระราชวังต้องห้ามมีแกนแนวตั้งเป็นสามแฉก อาคารที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ที่แฉกตรงกลางในแนวเหนือ–ใต้[35]

เมื่อเข้าจากประตูอู่เหมิน จะพบกับพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีแม่น้ำน้ำสีทองที่คดเคี้ยวไหลผ่าน ซึ่งมีสะพานข้ามทั้งหมดห้าสะพาน เมื่อข้ามสะพานไป เบื้องหน้าจะเป็นประตูไถ่เหอเหมิน (F) ตั้งอยู่ โดยด้านหลังถัดไปจากประตูคือพื้นที่จตุรัสของตำหนักไถ่เหอ[36] ซึ่งเป็นตำหนักที่ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูงจากจตุรัสนี้ โดยมีตำหนักทั้งหมดสามตำหนักตั้งอยู่บนแท่นหิน ซึ่งเป็นจุดสนใจของพระราชวังที่ซับซ้อนนี้ ประกอบด้วย (จากด้านทางใต้) ตำหนักไถ่เหอ (太和殿) ตำหนักจงเหอ (中和殿) และตำหนักเป่าเหอ (保和殿)[37]

ตำหนักไถ่เหอ (G) เป็นตำหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่สูงกว่าปริมณฑลโดยรอบประมาณ 30 เมตรเศษ ตำหนักนี้เป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจของฮ่องเต้ และเป็นโครงสร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกห้ามุข ซึ่งเลข 9 และ 5 เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์ฮ่องเต้[38] บนเพดานตรงกลางของตำหนักนั้นเป็นช่องทึบที่ถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยมังกรกำลังม้วนตัว ที่ปากของมังกรนั้นห้อยด้วยทรงกลมโลหะที่ถูกจัดไว้คล้ายกับโคมระย้า เรียกว่า "กระจกซวนหยวน"[39] ในสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้ทรงโปรดให้สร้างตำหนักนี้ขึ้นเพื่อไว้ทรงบริหารกิจการรัฐ ต่อมาในราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้เสด็จพระราชดำเนินมายังตำหนักนี้บ่อยครั้งขึ้น ทำให้ตำหนักนี้ถูกใช้งานบ่อยขึ้น และตำหนักไถ่เหอนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการพระราชพิธีเท่านั้น เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีสถาปนา และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[40]

ตำหนักจงเหอ มีขนาดรองลงมา เป็นตำหนักทรงจตุรัส ถูกใช้สำหรับให้ฮ่องเต้ทรงเตรียมพระองค์เอง และเป็นที่สำหรับทรงพักผ่อนในช่วงก่อนและในระหว่างพระราชพิธี[41] ด้านหลังเป็นตำหนักเป่าเหอ ใช้สำหรับฝึกซ้อมการพระราชพิธี และยังถูกใช้เป็นสนามสอบขั้นสุดท้ายของการสอบขุนนางด้วย[42] ทั้งสามตำหนักมีบัลลังก์หลวง ซึ่งบัลลังก์ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดประดิษฐานอยู่ภายในตำหนักไถ่เหอ[43]

บันไดตรงกลางที่ตรงขึ้นสู่แท่นจากด้านเหนือและด้านใต้เป็นบันไดพระราชพิธี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินของฮ่องเต้ โดยมีรูปแกะสลักนูนต่ำประดับอยู่ บันไดด้านเหนืออยู่ด้านหลังตำหนักเป่าเหอ ตัวบันไดแกะสลักขึ้นจากหินชิ้นเดียวขนาดยาว 16.57 เมตร กว้าง 3.07 เมตร และหนา 1.7 เมตร มีน้ำหนัก 200 ตันเศษและเป็นวัตถุแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[9] บันไดด้านใต้อยู่ด้านหน้าของตำหนักไถ่เหอ มีความยาวกว่า แต่ประกอบจากหินสองชิ้นเชื่อมกันด้วยคอนกรีต รอยต่อถูกซ่อนไว้อย่างชาญฉลาดโดยใช้การแกะสลักนูนต่ำที่ทับซ้อนกัน ถูกค้นพบจากการผุพังที่ทำให้ช่องว่างนั้นขยายขึ้นในศตวรรษที่ 20[44]

ด้านใต้ฝั่งตะวันตกและด้านใต้ฝั่งตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นนอกเป็นตำหนักอู่หยิง (H) และตำหนักเหวินฮวา (J) ซึ่งในอดีตเคยถูกใช้สำหรับฮ่องเต้ทรงเสด็จออกรับเหล่ารัฐมนตรีและการเปิดศาล ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์ในพระราชวัง อีกตำหนักถูกใช้เป็นสถานที่บรรยายพิธีการทางศาสนาโดยนักพรตขงจื้อขั้นสูงที่ได้รับการยกย่อง และต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานราชเลขาธิการ สำเนาของหนังสือซื่อคูเฉียนชูถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ ส่วนด้านเหนือฝั่งตะวันออกเป็นพระที่นั่งหน่านซัน (南三所) (K) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท[36]


เขตพระราชฐานชั้นใน

• เขตพระราชวังชั้นใน(วังใน) ประกอบด้วยตำหนักเฉียนชิงกง เจียวไถ่เตี่ยน คุนหมิงกง ตำหนักตะวันออกและตะวันตก เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ดำเนินการประจำวันทางการเมือง อาทิ ตรวจเอกสาร ลงพระนามอนุมัติ ตัดสินความ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์ พระราชินี พระสนม พระโอรส และพระธิดา รวมไปถึงมีพระราชอุทยานของฮ่องเต้ เขตวังในจะมีพระตำหนักที่มีความสำคัญอยู่ 2 หลังคือ • เฉียนชิงกง เป็นตำหนักด้านหน้าของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ เพื่อตรวจเอกสารลงพระนามอนุมัติราชการแผ่นดินประจำวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1644 ทหารและชาวนาของหลี่จื้อเฉินทำการปฏิวัติ นำกำลังบุกเข้าปักกิ่ง ซึ่งตรงกับรัชกาลฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง จักรพรรดิฉงเจินชักกระบี่ฟันพระธิดาของพระองค์จนขาดสะพายแล่ง แล้วทรงหนีออกจากพระราชวังไปแขวนคอตายที่ต้นสน ณ ภูเขาเหมยซาน(ปัจจุบันเรียกว่า ภูเขาจิ่งซาน) ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง • หย่างซินเตี้ยน เป็นตำหนักอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวังใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ นัดพบปะพูดคุยกับพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งเรื่องการเมืองและการทหารในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อและกวางซี่ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการหลังม่านของพระนางซูสีไทเฮา รวมทั้งในสมัยฮ่องเต้องค์สุด ท้าย เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ จักพรรดิปูยีก็ทรงสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1962 ณ ตำหนักแห่งนี้

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

พระราชวังต้องห้ามได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 เมื่อปี พ.ศ. 2530 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 พระราชวังเฉิ่นหยาง พระราชวังพักตากอากาศของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง ได้ลงทะเบียนร่วมกับพระราชวังต้องห้ามภายใต้ชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง" ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง

  1. 故宫2017年接待观众逾1699万人次 创历史新纪录 (ภาษาจีนตัวย่อ). China News Service. 31 December 2017. สืบค้นเมื่อ 24 March 2018.
  2. 故宫到底有多少间房 [How many rooms in the Forbidden City] (ภาษาจีนตัวย่อ). Singtao Net. 27 กันยายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?newsID=4623400246500
  4. http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-2658.html
  5. p26, Barmé, Geremie R (2008). The Forbidden City. Harvard University Press.
  6. See, e.g., Gan, Guo-hui (April 1990). "Perspective of urban land use in Beijing". GeoJournal. 20 (4): 359–364. doi:10.1007/bf00174975.
  7. 7.0 7.1 p. 18, Yu, Zhuoyun (1984). Palaces of the Forbidden City. New York: Viking. ISBN 0-670-53721-7.
  8. "กู้กง" ในความรู้สึกโดยทั่วไปยังสามารถอ้างอิงถึงพระราชวังเก่าทั้งหมดได้ด้วย อีกตัวอย่างที่โดดเด่นคือพระราชวังหลวงเก่า (พระราชวังมุกเดน) ในเสิ่นหยาง
  9. 9.0 9.1 9.2 p. 15, Yang, Xiagui (2003). The Invisible Palace. Li, Shaobai (photography); Chen, Huang (translation). Beijing: Foreign Language Press. ISBN 7-119-03432-4.
  10. China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "I. Building the Forbidden City" (Documentary). China: CCTV.
  11. p. 69, Yang (2003)
  12. p. 3734, Wu, Han (1980). 朝鲜李朝实录中的中国史料 (Chinese historical material in the Annals of the Joseon Yi dynasty). Beijing: Zhonghua Book Company. CN / D829.312.
  13. Guo, Muoruo (1944-03-20). "甲申三百年祭 (Commemorating 300th anniversary of the Jia-Sheng Year)". New China Daily (ภาษาChinese).{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CCTV2
  15. "故宫外朝宫殿为何无满文? (Why is there no Manchu on the halls of the Outer Court?)". People Net (ภาษาChinese). 16 มิถุนายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  16. Zhou Suqin. "坤宁宫 (Palace of Earthly Tranquility)" (ภาษาChinese). The Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "XI. Flight of the National Treasures" (Documentary). China: CCTV.
  18. p. 137, Yang (2003)
  19. Yan, Chongnian (2004). "国民—战犯—公民 (National – War criminal – Citizen)". 正说清朝十二帝 (True Stories of the Twelve Qing Emperors) (ภาษาChinese). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN 7-101-04445-X.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  20. Cao Kun (2005-10-06). "故宫X档案: 开院门票 掏五毛钱可劲逛 (Forbidden City X-Files: Opening admission 50 cents)". Beijing Legal Evening (ภาษาChinese). People Net. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  21. See map of the evacuation routes at: "National Palace Museum – Tradition & Continuity". National Palace Museum. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  22. "National Palace Museum – Tradition & Continuity". National Palace Museum. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  23. "三大院长南京说文物 (Three museum directors talk artefacts in Nanjing)". Jiangnan Times (ภาษาChinese). People Net. 19 ตุลาคม 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  24. Chen, Jie (2006-02-04). "故宫曾有多种可怕改造方案 (Several horrifying reconstruction proposals had been made for the Forbidden City)". Yangcheng Evening News (ภาษาChinese). Eastday. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  25. Xie, Yinming; Qu, Wanlin (2006-11-07). ""文化大革命"中谁保护了故宫 (Who protected the Forbidden City in the Cultural Revolution?)". CPC Documents (ภาษาChinese). People Net. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  26. The Forbidden City was listed as the "Imperial Palace of the Ming and Qing Dynasties" (Official Document). In 2004, Mukden Palace in Shenyang was added as an extension item to the property, which then became known as "Imperial Palaces of the Ming and Qing Dynasties in Beijing and Shenyang": "UNESCO World Heritage List: Imperial Palaces of the Ming and Qing Dynasties in Beijing and Shenyang". สืบค้นเมื่อ 2007-05-04.
  27. Palace Museum. "Forbidden City restoration project website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  28. "闾丘露薇:星巴克怎么进的故宫?(Luqiu Luwei: How did Starbucks get into the Forbidden City)" (ภาษาChinese). People Net. 2007-01-16. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์); see also the original blog post here [1] (in Chinese).
  29. Mellissa Allison (2007-07-13). "Starbucks closes Forbidden City store". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
  30. Reuters (11 ธันวาคม 2000). "Starbucks brews storm in China's Forbidden City". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  31. "Two stores inside Forbidden City refuse entry to Chinese nationals" (ภาษาChinese). Xinhua Net. 23 สิงหาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  32. "President Trump granted rare dinner in China's Forbidden City". 8 November 2017.
  33. http://www.dpm.org.cn/English/default.asp
  34. http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-2658.html
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Yu 25
  36. 36.0 36.1 p. 49, Yu (1984)
  37. p. 48, Yu (1984)
  38. The Palace Museum. "Yin, Yang and the Five Elements in the Forbidden City" (ภาษาChinese). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  39. p. 253, Yu (1984)
  40. The Palace Museum. "太和殿 (Hall of Supreme Harmony)" (ภาษาChinese). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  41. The Palace Museum. "中和殿 (Hall of Central Harmony)" (ภาษาChinese). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  42. The Palace Museum. "保和殿 (Hall of Preserving Harmony)" (ภาษาChinese). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  43. p. 70, Yu (1984)
  44. For an explanation and illustration of the joint, see p. 213, Yu (1984)

39°54′56″N 116°23′27″E / 39.91556°N 116.39083°E / 39.91556; 116.39083{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้