โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา"
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา" Nakornluang Udomrat Wittaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 124 หมู่ที่ 90 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ.ร. (ภาษาไทย) และ U.R. (ภาษาอังกฤษ) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล แบบสหศึกษา |
คำขวัญ | คำขวัญ วิชาดี มีจรรยา กีฬาเก่ง คติธรรม วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร) |
สถาปนา | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี 170 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | ท่านพระครูอุดมนครกิจ เจ้าอาวาสวัดตะโหนด และนายรัชต์ ศรีวิหค ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ครู/อาจารย์ | จำนวนบุคลากร |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
จำนวนนักเรียน | จำนวนนักเรียน |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
สี | ████ สีฟ้า และ สีเหลือง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียน |
ต้นไม้ | ต้นหางนกยูง |
เว็บไซต์ | www.udomrat.ac.th |
โรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา" (ภาษาอังกฤษ: Nakornluang Udomrat Wittaya School) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ปัจจุบันโรงเรียนนครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา" เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.1-ม.6) เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ปี พ.ศ. 2535 และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ระดับ ScQA ปี พ.ศ. 2563
ประวัติ
[แก้][1] โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 124 หมู่ที่ 5 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260 (โฉนดที่ 4130 สารบัญเล่มที่ 42 หน้าที่ 30) ระยะแรกใช้ที่ดินของวัดตะโหนดซึ่งเป็นป่าหนาทึบ โดยท่านพระครูอุดมนครกิจเจ้าอาวาส และนายรัชต์ ศรีวิหค ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นก่อตั้งขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนครหลวง” ทำการเปิดเรียนครั้งแรกเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 อาศัยเรียนที่โรงเรียนวัดลาย (ทวีปัญญา) ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมา พ.ศ. 2496 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคาร เป็นเงิน 400,000 บาท และประชาชนในท้องถิ่นร่วมบริจาคอีก 50,000 บาท สร้างอาคารแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลังเป็นอาคารหลังแรก ภายหลังใช้ชื่อว่า โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ตามนามท่านผู้มีอุปการคุณทั้งสอง ปี พ.ศ. 2519 คณะครูนำโดยนายประจวบ สมุทร ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น ได้พิจารณาขยายพื้นที่โดยจัดซื้อที่ดินฝั่งตรงข้าม รับบริจาคเงินได้ 175,000 บาท สมทบเงินงบประมาณ 100,000 บาท และเจ้าของที่ดินบริจาคที่ดินเพิ่ม ได้รวม 19 ไร่ รวมที่ดินของวัดเดิม 10 ไร่ รวมเป็นที่ดินของโรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ทั้งสิ้น 29 ไร่ ปีงบประมาณ 2515 และ 2519 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค กรมสามัญศึกษา 1 หลัง ปีงบประมาณ 2524 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค กรมสามัญศึกษาอีก 1 หลัง นอกจากนั้นได้รับงบประมาณสร้างอาคารประกอบและบ้านพักครู ในปีงบประมาณ 2561 ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุม แบบ 100/27
รายนามผู้บริหาร
[แก้]ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 - ปัจจุบัน มีรายนามผู้บริหารสถานศึกษาเรียงตามลำดับ ดังนี้
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเจตน์ ศรี (รักษาการ) | พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2494 |
2 | นายเทพ สุขรัตณี (รักษาการ) | พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2495 |
3 | นายสว่าง ชูติวัตร | (ครูใหญ่: คนที่ 1) พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2502 |
4 | นายสำรวม สมดี (รักษาการ) | พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2503 |
5 | นายอานนท์ นันทปรีชา | (ครูใหญ่: คนที่ 2) พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2505 |
6 | นายสำรวล กล่อมฤกษ์ (รักษาการ) | พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2506 |
7 | นายวิสุทธิ์ ญาณพิทักษ์ | (ครูใหญ่: คนที่ 3) พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2510 |
8 | นายประเทือง ทองนพ (รักษาการ) | พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2511 |
9 | นายประจวบ สมุทร | (ครูใหญ่และอาจารย์ใหญ่: คนที่ 4) พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2525 |
10 | นายเชาวน์ ภู่ศรี (รักษาการ) | พ.ศ. 2525 |
11 | นายสุวัฒน์ ปานมุข | (อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 5) พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2530 |
12 | นายทองหล่อ รื่นพล | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 6) พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2533 |
13 | นางหยด เจริญกูล | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 7) พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536 |
14 | นายวิเชียร คุ้มเสถียร | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 8) พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2541 |
15 | นายโสภณ ยิ้มช้อย | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 9) พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 |
16 | นายประเสริฐ ถาวรชัยสิทธิ์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 10) พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 |
17 | นายประเศียร วงศ์โยธา | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 11) พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 |
18 | นางสาวกนกลักษณ์<สุนิสา> สุมโนจิตราภรณ์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 12) พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549 |
19 | นางปรียา กาญจนกิจ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 13) พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551 |
20 | นางชนม์ณกานต์ พูลสวัสดิ์ (รักษาการ) | พ.ศ. 2551 |
21 | นางสาวสุนทรี ดิษฐลักษณ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 14) พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554 |
22 | นายสุชีพ บุญวงษ์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 15) พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557 |
23 | นางปราณี กระทุ่มเขตต์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 16) พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559 |
24 | นางอารมย์ ธรรมวิจารณ์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 17) พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 |
25 | นางจรุณี รักษาจิตร์ (รักษาการ) | พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 |
26 | ดร.เจนวุฒิ บุญชูพงศ์ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 18) พ.ศ. 2561 - 2566 |
27 | นายสมทรง อนุภาพ | (ผู้อำนวยการโรงเรียน: คนที่ 19) พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.