เฮ่อ หลง
เฮ่อ หลง | |
---|---|
贺龙 | |
สมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง ตุลาคม พ.ศ. 2497 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (14 ปี 251 วัน) | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง ตุลาคม พ.ศ. 2497 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (14 ปี 251 วัน) | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 賀龍 22 มีนาคม พ.ศ. 2439 ซางจื๋อ มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (73 ปี) ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2469–2512) |
อาชีพ | นายทหาร นักการเมือง นักเขียน |
รางวัล | เครื่องอิสริยาภรณ์ 1 สิงหาคม (ชั้นที่ 1) (2498) เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (ชั้นที่ 1) (2498) เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (ชั้นที่ 1) (2498) |
ชื่อเล่น | 贺老总 (Hè lǎozǒng, "นายพลใหญ่เฮ่อ") 贺胡子 (Hè húzi, "mustachio He") |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
สังกัด | กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน |
ประจำการ | สาธารณรัฐจีน (2457–63) กองทัพปฏวัติแห่งชาติจีน (2463–70) พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2470–2512) |
ยศ | จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน |
บังคับบัญชา |
|
ผ่านศึก | |
เฮ่อ หลง (จีนตัวย่อ: 贺龙; จีนตัวเต็ม: 賀龍; พินอิน: Hè Lóng; เวด-ไจลส์: Ho Lung; 22 มีนาคม พ.ศ. 2439 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2512) เป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ชาวจีน และเป็นหนึ่งในสิบจอมพลของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เขามาจากครอบครัวยากจนในชนบทของมณฑลหูหนาน และครอบครัวของเขาไม่สามารถให้การศึกษาในระบบแก่เขาได้ เขาเริ่มต้นเส้นทางปฏิวัติหลังจากล้างแค้นให้การเสียชีวิตของลุง การหลบหนีไปอยู่นอกกฎหมายทำให้เขาดึงดูดเหล่าผู้จงรักภักดีจำนวนหนึ่ง กลายเป็นกองทัพส่วนตัวเล็ก ๆ ของเขา ต่อมากองกำลังของเขาได้เข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋ง และได้เข้าร่วมในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ
หลังจากเจียง ไคเชกเริ่มปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง เขาได้ประท้วงคัดค้านก๊กมินตั๋งด้วยการวางแผนและก่อการกบฏที่เมืองหนานชาง แต่ประสบความล้มเหลว หลังจากหลบหนีออกมา เขาได้จัดตั้งโซเวียตในเขตชนบทหูหนาน (และต่อมาที่กุ้ยโจว) แต่ด้วยแรงกดดันจากนโยบายปิดล้อมของเจียง ไคเชก ในที่สุดเขาก็จำต้องทิ้งฐานทัพเหล่านั้น เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกลในปี พ.ศ. 2478 ซึ่งช้ากว่ากองกำลังของเหมา เจ๋อตงและจู เต๋อ มากกว่าหนึ่งปี เขาได้พบกับกองกำลังที่นำโดยจาง กั๋วเทา ทว่าเขาไม่เห็นด้วยกับจางเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของกองทัพแดง เขาจึงนำกองกำลังของตนเองเข้าร่วมและสนับสนุนเหมา
หลังจากปักหลักและตั้งกองบัญชาการที่มณฑลฉ่านซี เขาได้นำกองกำลังทหารกองโจรในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ทั้งในช่วงสงครามกลางเมืองจีนและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และประสบความสำเร็จในการขยายพื้นที่ภายใต้การควบคุมของคอมมิวนิสต์ ปลายปี พ.ศ. 2488 เขาได้บัญชาการกองกำลังทหารจำนวน 170,000 นาย ก่อนที่กองกำลังของเขาจะถูกวางให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเผิง เต๋อหวย และเขาเองก็กลายเป็นรองผู้บัญชาการของเผิง ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 เขาถูกวางให้รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เขาได้ทำหน้าที่บริหารภูมิภาคนี้ในทั้งด้านพลเรือนและทหาร
หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 เขาได้ดำรงตำแหน่งทางพลเรือนและทหารจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นการยกย่องการสนับสนุนชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในสิบจอมพลแรกของจีน และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีของจีน ในปี พ.ศ. 2502 เขาไม่สนับสนุนความพยายามของเหมา เจ๋อตงที่จะกำจัดเผิง เต๋อหวย และพยายามที่จะฟื้นฟูเผิง หลังจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2509 เขาก็เป็นหนึ่งในผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนกลุ่มแรกที่ถูกปลดจากตำแหน่ง เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2512 จากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา
อ้างอิง
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2439
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2512
- จอมพลพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- นักการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากมณฑลหูหนาน
- นักการเมืองจากจางเจียเจี้ย
- นายพลกองทัพลู่ที่แปด
- ผู้ต่อต้านภาษี
- ผู้ถูกข่มเหงจนเสียชีวิตระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
- นักการเมืองสาธารณรัฐประชาชนจีนจากหูหนาน
- สมาชิกคณะกรรมาธิการกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 8