เอเค 47
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
เอเค 47[N 1] | |
---|---|
เอเค-47 ไทป์ 2 พร้อมติดดาบปลายปืน | |
ชนิด | ปืนเล็กยาวจู่โจม |
แหล่งกำเนิด | สหภาพโซเวียต |
บทบาท | |
ประจำการ | ค.ศ. 1949–1974 (สหภาพโซเวียต) ค.ศ. 1949–ปัจจุบัน (ประเทศอื่น ๆ) |
ผู้ใช้งาน | ดูประเทศผู้ใช้งาน |
สงคราม | ดูการศึก |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | มีฮาอิล คาลาชนิคอฟ |
ช่วงการออกแบบ | ค.ศ. 1946–1948[1] |
บริษัทผู้ผลิต | คาลาชนิคอฟคอนเซิร์น และอื่น ๆ อีกมาก รวมถึงนอริงโก |
ช่วงการผลิต | ค.ศ. 1948–ปัจจุบัน[2][3] |
จำนวนที่ผลิต | เอเค 47 ประมาณ 75 ล้านกระบอก, อาวุธของตระกูลคาลาชนิคอฟ 100 ล้านกระบอก[4][5] |
แบบอื่น | ดูรุ่น |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | ปราศจากแมกกาซีน: 3.47 kg (7.7 lb) แมกกาซีน ว่างเปล่า: 0.43 kg (0.95 lb) (ส่งออกแต่แรก)[6] 0.33 kg (0.73 lb) (หล็กกล้า)[7] 0.25 kg (0.55 lb) (พลาสติก)[8] 0.17 kg (0.37 lb) (โลหะผสมที่มีน้ำหนักเบา)[7] |
ความยาว | พานท้ายไม้: 880 mm (35 in)[8] 875 mm (34.4 in) ยืดพานท้าย 645 mm (25.4 in) พับพานท้าย[6] |
ความยาวลำกล้อง | ความยาวโดยรวม: 415 mm (16.3 in)[8] ความยาวลำกล้องปืนเล็กยาว: 369 mm (14.5 in)[8] |
กระสุน | 7.62×39 มม. |
การทำงาน | แรงดันแก๊ส, ลูกเลื่อนหมุนตัว |
อัตราการยิง | อัตราเร็วในการยิงทางทฤษฎี: 600 นัดต่อนาที[8] อัตราเร็วในการยิงต่อสู้: กึ่งอัตโนมัติ 40 นัดต่อนาที[8] การระเบิด 100 นัดต่อนาที[8] |
ความเร็วปากกระบอก | 715 m/s (2,350 ft/s)[8] |
ระยะหวังผล | 350 ม. (380 หลา)[8] |
ระบบป้อนกระสุน | ซองกระสุนแบบกล่องถอดได้ 30 นัด[8] นอกจากนี้ยังมีแบบกล่อง 5, 10, 20 และ 40 นัด รวมถึงใช้แมกกาซีนแบบจาน 75 และ 100 นัดได้ |
ศูนย์เล็ง | ศูนย์เปิดปรับได้ 100–800 ม. รัศมีศูนย์: 378 mm (14.9 in)[8] |
เอเค-47 เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า อัฟโตแม็ท คาลาชนิคอฟ (รัสเซีย: Автома́т Кала́шникова, อักษรโรมัน: Avtomát Kaláshnikova, แปลตรงตัว: 'Kalashnikov’s automatic device'; ยังเป็นที่รู้จักกันคือ คาลาชนิคอฟ และ เอเค) เป็นปืนไรเฟิลจู่โจมด้วยกระสุนขนาด 7.62×39มม. ทำงานด้วยระบบแรงดันแก๊ส(gas-operated) ที่ถูกพัฒนาขึ้นในสหภาพโซเวียตโดยนาย มีฮาอิล คาลาชนิคอฟ เป็นอาวุธปืนรุ่นต้นกำเนิดของปืนไรเฟิลตระกูลคาลาชนิคอฟ(หรือ "เอเค") ส่วนตัวเลขท้ายว่า 47 หมายถึงปีที่สร้างปืนรุ่นนี้จนเสร็จสิ้น
งานออกแบบปืนรุ่นเอเค-47 เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ในปี ค.ศ. 1946 เอเค-47 ได้ถูกนำเสนอสำหรับการพิจารณาคดีทหาร และในปี ค.ศ. 1948 รุ่นที่ยังอยู่ในคลังได้ถูกนำเสนอให้เข้าสู่หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ถูกรับเลือกโดยหน่วยทหารของกองทัพบกโซเวียต การพัฒนาในช่วงแรกของการออกแบบคือ รุ่นเอเคเอ็ส (S—Skladnoy หรือ"พับได้") ซึ่งถูกติดตั้งด้วยพานท้ายปืนที่ทำมาจากเหล็กที่สามารถพับเก็บได้ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1949 เอเค-47 ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากกองทัพโซเวียต[9] และถูกใช้งานโดยรัฐสมาชิกส่วนใหญ่ของกติกาสัญญาวอร์ซอ
แม้ว่าจะผ่านพ้นไป 7 ทศวรรษ แต่ละรุ่นและรูปแบบต่างๆ ยังคงเป็นปืนไรเฟิลที่ได้รับความนิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจากด้วยความน่าเชื่อถือภายใต้สภาวการณ์ที่เลวร้าย ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเมื่อนำมาเทียบกับอาวุธปืนฝั่งตะวันตกในยุคสมัยเดียวกัน ด้วยสภาพความพร้อมที่จะใช้งานในแทบทุกภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และใช้งานที่ง่ายดาย เอเค-47 ได้ถูกผลิตในหลายประเทศและได้แสดงให้เห็นถึงการใช้งานของกองกำลังติดอาวุธ เช่นเดียวกับกองกำลังรบนอกแบบและการก่อการกำเริบทั่วโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาอาวุธปืนประจำตัวของทหารแต่ละบุคคลที่ประจำการในหน่วยต่างๆ อีกมากมายและอาวุธปืนพิเศษ ในปี ค.ศ. 2004 "จากจำนวนอาวุธปืนทั่วโลกประมาณ 500 ล้านกระบอก มีจำนวนราวประมาณ 100 ล้านกระบอกเป็นอาวุธรุ่นตระกุลคาลาชนิคอฟ ซึ่งสามในสี่ส่วนเป็นปืนรุ่นเอเค-47"[4]
ประวัติ
[แก้]ปืนเอเค-47 ได้รับการออกแบบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 และพัฒนาจนเป็นรูปแบบมาตรฐานในปี พ.ศ. 2490 เขาก็เห็นว่าไม่ยุติธรรมเลยที่กองทัพนาซีเยอรมันได้ใช้อาวุธปืนอัตโนมัติอันทันสมัยมากมายหลายรุ่น ตั้งแต่ปืนเล็กยาว ปืนกลมือเอ็มพี 40 ปืนกลเบาเอ็มจี 34 และปืนกลเบาเอ็มจี 42 รวมทั้งรถถังยานเกราะอีกมากมาย ในขณะที่กองทัพโซเวียตกลับมีเพียงปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์อันคร่ำครึมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมไปถึงปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติเอสวีที-40กับปืนกลมือ PPSH-41 เท่านั้น ส่วนปืนกลระดับหมู่ก็มีเพียงปืนกลเดกท์ยาร์ยอฟ โดยรถถังยานเกราะกับยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพโซเวียตในขณะนั้น ถ้าไม่เป็นของเก่าตกค้างมาจากช่วงสงครามโลกครั้งที่2ส่วนมากก็อยู่ในสภาพเก่าและไม่พร้อมใช้เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณซ่อมแซม
ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรต่างได้ยึดอาวุธและเทคโนโลยีทางการทหารของนาซีเยอรมันไปเป็นต้นแบบในการผลิตอาวุธของตนเอง โดยคาลาชนิคอฟเองก็ได้นำรูปทรงของปืนเล็กยาวอัตโนมัติ StG 44 และเอสเคเค-45มาใช้เป็นแบบ ส่วนระบบกลไกบางส่วนนำมาจากปืนเอ็ม1กาแรนด์(M1 Garand )รวมทั้งได้นำกระสุนขนาด 7.62x54 mm. R และ 7.92x33 mm. Kurz มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยได้มีการออกแบบและพัฒนาในเรื่องของกระสุนก่อน ซึ่งกระสุนมาตรฐานของกองทัพโซเวียตในขณะนั้นคือกระสุนขนาด 7.62x54 ม.ม.ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2434 โดยได้นำกระสุนขนาด 7.62x41 ม.ม.ที่มาจากโครงการAS-44มาใช้ทดสอบและมีการพัฒนาปืนไรเฟิลอัตโนมัติขึ้นมาใช้กับกระสุนขนาดนี้ด้วยคือปืนเอเค-46 ซึ่งยังมีรูปทรงคล้ายกับปืนเอสทีจี 44 อยู่มาก แต่เนื่องจากประสิทธิภาพของปืนและกระสุนไม่ดีเท่าที่ควรนักจึงได้มีการปรับปรุงปืนและกระสุนใหม่อีกครั้ง โดยมีการปรับปรุงกระสุนก่อนจนเป็นกระสุนขนาด 7.62x39 ม.ม.ซึ่งได้นำมาใช้ครั้งแรกกับปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติเอสเคเอสหรือปืนเซกาเซ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก่อน พร้อมทั้งนำปืนไรเฟิลอัตโนมัติเอเค-46 มาปรับปรุงระบบกลไกและรูปทรงอีกครั้ง โดยได้เอารูปทรงของปืนเอสเคเอสเข้ามาร่วมในการออกแบบด้วย จนออกมาเป็นปืนเอเค-47 ที่มีรูปทรงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
คุณสมบัติ
[แก้]ปืนเอเค-47 เองเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปืนที่มีน้ำหนักพอสมควร มีขนาดใหญ่โตและมีขนาดกระสุนที่น้อย สามารถเลือกทำการยิงได้ 3 โหมด คือ ห้ามไก อัตโนมัติ และกึ่งอัตโนมัต สามารถถอดล้างในสนามได้ง่ายมาก นับเป็นปืนเล็กยาวจู่โจมแบบหนึ่งที่ยังมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยมีการผลิตปืนเอเค-47 และปืนรูปแบบอื่น ๆ ที่พัฒนาโดยใช้ปืนเอเค-47 เป็นต้นแบบเป็นจำนวนมากกว่าปืนเล็กยาวจู่โจมชนิดอื่น ๆ และยังคงมีการผลิตและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปีพ.ศ. 2502 ก็ได้มีการนำปืนเอเค-47 มาทำการแก้ไขปรับปรุงระบบกลไกและวิธีการผลิตต่างๆให้ดีขึ้นและเรียกในชื่อใหม่ว่าเอเคเอ็ม (AKM : Avtomat Kalashnikova Modernizirovannyj หรือ Kalashnikov Automatic rifle, Modified) ซึ่งปืนรุ่นนี้จะมีการปั้มขึ้นรูปโครงปืนด้วยเครื่องจักรและมีการทำสัญลักษณ์ด้วยการปั้มดุนแผ่นเหล็กโครงปืนให้เป็นเพียงช่องเล็กๆรวมทั้งมีการดัดแปลงปากลำกล้องให้เป็นรูปเฉียงปากฉลามเพื่อลดอาการสะบัดขึ้นเมื่อทำการยิง ซึ่งผิดกับกระบวนการผลิตของปืนเอเค-47 ที่มีการผลิตด้วยการนำแผ่นเหล็กมาเซาะร่องและปั้มดุนโครงปืนเข้าไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่เหนือช่องใส่ซองกระสุน และปากลำกล้องตัดตรงทำให้เวลายิงด้วยระบบอัตโนมัติ ปืนจะสะบัดเป็นอย่างมาก ส่วนอำนาจการทำลายล้างนั้น ยังถือว่ายังสร้างความเสียหาย เนื่องจากกระสุนขนาด 7.62x39 ในระยะ200-300เมตร ความแรงของกระสุนยังคงที่อยู่เมื่อเข้าสู่เนื้อเยื่อกระสุนทะลุออกไปก่อนที่จะหันเหก่อนแต่ในระยะ 400-500 เมตร รูเข้าประมาณ 8 มิลลิเมตร รูออกอาจจะ 30-40 มิลลิเมตรก็ได้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 กองทัพโซเวียตก็ได้มีการนำปืน เอเค-47 และปืนเอเคเอ็มมาทำการปรับปรุงและพัฒนาอีกครั้งจนเป็นปืนเอเค-74 และนำมาใช้กับกระสุนขนาด 5.45x39 ม.ม.รุ่นเอ็ม74 หรือ 5เอ็น7 ซึ่งได้รับพัฒนาและปรับปรุงมาจากกระสุนขนาด 5.56x45 ม.ม.แบบนาโตของกองทัพสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาโตสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมได้ เช่น เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.แบบติดตั้งใต้ลำกล้อง รุ่น จีพี-25 ดาบปลายปืน ฯลฯ เป็นต้น
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ข้อมูลตารางครอบคลุมเอเค-47 พร้อมโครงปืนไทป์ 3
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Monetchikov 2005, chpts. 6 and 7 : (if AK-46 and AK-47 are to be seen as separate designs).
- ↑ Ezell, Edward Clinton (1986). The AK47 Story, Evolution of the Kalashnikov Weapons. Stackpole Books. p. 112. ISBN 978-0-811709163.
- ↑ Poyer, Joe (2004). The AK-47 and AK-74 Kalashnikov Rifles and Their Variations. North Cape Publications inc. p. 8. ISBN 1-882391-33-0.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อk3
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfoxnews
- ↑ 6.0 6.1 НСД. 7,62-мм автомат АК 1967, pp. 161–162.
- ↑ 7.0 7.1 НСД. 7,62-мм автомат АКМ (АКМС) 1983, pp. 149–150.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อizhmash
- ↑ Monetchikov 2005, p. 67; Bolotin 1995, p. 129.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- US Army Operator's Manual for the AK-47 Assault Rifle
- AK Site – Kalashnikov Home Page (Mirror) ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 29 กันยายน 2007)
- Nazarian's Gun's Recognition Guide (MANUAL) AK 47 Manual (.pdf) เก็บถาวร 2008-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Timeless, Ubiquitous AK-47 เก็บถาวร 2013-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – slideshow by Time magazine
- Legendary Kalashnikov: Story of AK-47 Rifle (RT's Documentary)
- AK-47: The Weapon Changed the Face of War – audio report by NPR
- The AK-47: The Gun That Changed The Battlefield – audio report by NPR
- AK-47 Documentary: Part 1 & Part 2 by Al Jazeera English
- AK-47 Full Auto, U.S. Army in Iraq from the Internet Archive
- Years of the gun: A political history of the AK-47 in Pakistan by Dawn News