เสือ โจรพันธุ์เสือ
เสือ โจรพันธุ์เสือ | |
---|---|
กำกับ | ธนิตย์ จิตนุกูล |
อำนวยการสร้าง | นนทรีย์ นิมิบุตร |
นักแสดงนำ | อำพล ลำพูน ดอม เหตระกูล ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ ศานันทินี พันธุ์ชูจิต และ ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น |
วันฉาย | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 |
ความยาว | 105 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เสือ โจรพันธุ์เสือ (อังกฤษ: Crime King) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2541 โดยเริ่มออกฉายครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 นำแสดงโดย อำพล ลำพูน, ดอม เหตระกูล, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, ศานันทินี พันธุ์ชูจิต, ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ ร่วมด้วย ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ยอดรัก สลักใจ, สุเทพ ถวัลย์วิวัฒนกุล, นนทรีย์ นิมิบุตร, สุริยัน อริยวงศ์โสภณ, ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย กำกับการแสดงโดย ธนิตย์ จิตนุกูล [1]
เนื้อเรื่อง
[แก้]ประเทศสยามในยุค พ.ศ. 2489 หลังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นดินลุกเป็นไฟ ผู้เดือดร้อนไปทั่วกลียุค ข้าวยากหมากแพง เกิดโจรผู้ร้ายออกปล้นสดมภ์ไปทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะในภาคกลาง แต่เสือใบ (อำพล ลำพูน) จอมโจรมีชื่อแห่งลพบุรีกลับปล้นคนรวยที่คดโกงเพื่อช่วยคนจน ทางกรมตำรวจจึงเรียก ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณคีรี (ดอม เหตระกูล) นายตำรวจมือปราบเพื่อให้ปราบเสือใบโดยเฉพาะ เสือใบมีลูกน้องคู่กาย ชื่อ เสือยอด สิงห์ปืนคู่ (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ) ผู้ใช้ปืนคู่เป็นอาวุธ
เมื่อทั้งคู่ได้เจอกัน ผู้กองยอดยิ่งรู้ประวัติว่า เสือใบมิใช่คนธรรมดา แต่เป็นคุณหลวงหนุ่มชื่อ เรวัติ วิชชุประภา เป็นบุตรชายของ พระยาบริรักษ์ประชาราษฎร์ (ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา) อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ถูกใส่ความหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้ต้องออกจากราชการและยังถูกตามฆ่า ทำให้ลูกชายเพียงคนเดียวต้องหนีเข้าป่าไปเป็นโจร
แม้ผู้กองยอดยิ่งจะพยายามเกลี้ยกล่อมอย่างไร เสือใบก็ไม่อาจเปลี่ยนใจ ท้ายที่สุดทั้งสองก็ต้องดวลปืนตัดสินกันด้วยชีวิต
นักแสดง
[แก้]- อำพล ลำพูน...เสือใบ / เรวัติ วิชชุประภา
- ดอม เหตระกูล...ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณคีรี
- ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ...เสือยอด สิงห์ปืนคู่
- ศานันทินี พันธุ์ชูจิต...พิไลวรรณ
- ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์...เสือเภา
- ปีเตอร์ ไมอ๊อกซี่...ผู้หมวดมาโนช
- ยอดรัก สลักใจ...หมอเกียรติ
- สุเทพ โฮป...ซัน
- ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย...นิวัฒน์
- ศิริลักษณ์ เถกิงสุข...บุหรง
- ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา...พระยาบริรักษ์ประชาราษฎร์
- คริส หอวัง...หนูติ๋ว
- เขาทราย แกแล็คซี่...เสือม้วย
- วิทิต แลต...เสือเจิด
- กรกฏ ธนภัทร...เสือเชิด
- เจนภพ จบกระบวนวรรณ...นายประเทือง
- นนทรีย์ นิมิบุตร...เสืออุ๋ย
- ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย...นิวัฒน์
- ไกรสีห์ แก้ววิมล...อธิบดีกรมตำรวจ
- ธานินทร์ สงวนวงษ์...ผู้หมวดประสิทธิ์
- วิพุธ กุลวงศ์...ผู้หมวดสะท้าน
- สมเดช สันติประชา...นายสนิท
- อุดม อุดมโรจน์...นายชำนาญ
- ศักดิ์ชัย ศรีบุญนาค...เสือผิว
- ฤทธิชัย รอดศัตรู...เสือช้อย
- เดชา เสนาวัฒน์...เสือกบ
- เขมชาติ เย็นนุ่ม...เสือปาด
- ธีรนิตต์ ธำรงค์วินิจฉัย...นายโกสิน
- รัชช์ บุญชุ่ม...ผู้กองอรรถ
- จักรกฤษ มณีนิล...ผู้หมวดสมยศ
- กาญจนา แสงสี...บัว
- เจนจิรา จันทร์สุดา...กระถิน
- พรรณี โต๊ะนายี...ราตรี
- มนัสชนก มณีทอง...บัวผัน
- ไชยา สุดใจดี...เสือดี
- สุวัจนี ไชยมุสิก...สาวที่นั่งบนรถประจำทาง
- ดร. อภิวัฒน์ วัฒนางกูร...เลขานุการรัฐมนตรี
- ไมเคิล เวลสช์...เสือหน่อย
- สุชิน ควรสงวน...ตำรวจที่มาต้อนรับผู้กองยอดยิ่ง
เบื้องหลัง
[แก้]เสือ โจรพันธุ์เสือ ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง เสือใบ ของป. อินทรปาลิต นักเขียนชื่อดังในอดีต เดิมทีผู้สร้างจะให้ชื่อว่า 72 ชั่วโมง จับตายเสือใบ แต่ได้เปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เป็นภาพยนตร์ในการแสดงเรื่องแรกของอำพล ลำพูน หลังจากไม่ได้แสดงภาพยนตร์มานานนับสิบปี และเป็นบทบาทการแสดงครั้งแรกด้วยของดอม เหตระกูล นายแบบหนุ่มลูกชายเจ้าของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
การผลิต
[แก้]การถ่ายทำภาพยนตร์
[แก้]ถ่ายทำทั้งที่ กรุงเทพมหานคร, เทศบาลนครเชียงใหม่ และภาคใต้ โดยจัดฉากให้เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2489
สื่อตามบ้าน
[แก้]ภาพยนตร์ได้วางจำหน่ายเป็นดีวีดี ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
รางวัล
[แก้]บทบาทการแสดงของทั้งอำพล ลำพูน และดอม เหตระกูล ทำให้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2541 ไปครอง นอกจากนี้ภาพยนตร์ก็ได้รับรางวัลไปอีกหลายรางวัลด้วยกัน
- ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม (อำพล ลำพูน)
- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดอม เหตระกูล)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ฑีฆายุ ธรรมนิตยกุล, สาธิต ประดิษฐ์สาร, ขวัญลดา แซ่ลิ้ม, สมพร สิริธวลิตร)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กมลวรรณ วิริยะภักดี, เสนอ เลาะวิถี, รัชฎาวรรณ อ่อนเผ่า)
- แต่งหน้าแต่งผมยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ เพชรทอง, มงคลการ เมืองทิพย์)
- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ)
- ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ศิริลักษณ์ เถกิงสุข)
- ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (วิเชียร เรืองวิชญกุล)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ฑีมายุ ธรรมนิตยกุล, สาธิต ประดิษฐ์สาร, ขวัญลัดดา แซ่นิ้ม และสมพร ศิริชวลิต)
- เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กมลวรรณ วิริยะภักดี, เสนอ เลาะวิถี และ รัชฎาวรรณ อ่อนเผ่า)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เสือ โจรพันธุ์เสือ
- ↑ "รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2541". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
- ↑ "รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]