ข้ามไปเนื้อหา

เชาวน์ มณีวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชาวน์ มณีวงษ์
หัวหน้าพรรคพลังชล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าสนธยา คุณปลื้ม
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรค
ถัดไปสนธยา คุณปลื้ม
อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2534 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปศาสตราจารย์ พจน์ สะเพียรชัย (รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 (88 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
พรรคการเมืองพลังชล

รองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์ (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2479) หัวหน้าพรรคพลังชล อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน และเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536

ประวัติ

[แก้]

รศ.เชาวน์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ที่ บ้านบางงาม ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี วัยเยาว์เป็นลูกศิษย์ได้รับการส่งเสริมการศึกษาจากพระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กศ.บ. (ประวัติศาสตร์) จากวิทยาลัยการศึกษา บางแสน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยบูรพา) เมื่อปี พ.ศ. 2501 และจบปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2519 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

การทำงาน

[แก้]

รศ.เชาวน์ รับราชการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตบางแสน และเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา[1] ในระหว่างปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2536 ต่อจากนั้นจึงได้หันมาทำงานการเมือง โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชลบุรี และลงสมัคร ส.ส.ในระบบสัดส่วน กลุ่ม 5 สังกัดพรรคชาติไทย[2] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองกับนายสนธยา คุณปลื้ม และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังชลคนแรก[3] และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 นายสนธยา คุณปลื้ม ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคพลังชลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังชล มีมติเลือกให้เขาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง แทนนายสนธยา คุณปลื้ม ที่ลาออกไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา
  2. "ผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน ชาติไทย หมายเลข 13". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
  3. “สนธยา” รับตั้งพรรคพลังชล วาดฝันกวาด ส.ส.12 ที่นั่ง[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคพลังชล)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒