อูย์เตร์
| |||||||
ก่อตั้ง | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 (57 ปี) (ภายใต้แอโรฟลอต) 28 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | มอสโก–วนูคาวา ซูร์กุต | ||||||
บริษัทลูก | อูย์เตร์-คาร์โก | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 58 | ||||||
จุดหมาย | 53 | ||||||
การซื้อขาย | MCX:UTAR | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ฮันตี-มันซิสค์ ประเทศรัสเซีย | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
เว็บไซต์ | utair |
อูย์เตร์ (รัสเซีย: ОАО «Авиакомпания «ЮТэйр») เป็นสายการบินสัญชาติรัสเซีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติวนูคาวาในมอสโกและท่าอากาศยานนานาชาติซูร์กุตในซูร์กุต และมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานฮันตี-มันซิสค์[3] อูย์เตร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 72 แห่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงบริการเฮลิคอปเตอร์และเที่ยวบินเช่าเหมาลำพิเศษที่ให้บริการโดยอากาศยานปีกตรึงและเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนการขนส่งทางอากาศให้กับโครงการน้ำมันและก๊าซในไซบีเรีย
ประวัติ
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแอโรฟลอตทูเมนเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่เติบโตอย่างรวดเร็วในไซบีเรียตะวันตก[4] ซึ่งต่อมาจะถูกยุบและทดแทนด้วย ทูเมนาเวียทรานส์เอวิเอชัน (ทีอะที) ในปี 1991 [5] และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอูย์เตร์ในปี 2002[5] สายการบินมีการแบ่งอัตราการถือหุ้นให้กับฝ่ายบริหารเขตฮันตี-มันซิสกี้ (23%), ฝ่ายบริหารเมืองซูร์กุต (19%), ผู้ถือหุ้นและบริษัทในรัสเซีย (33%), สหพันธรัฐรัสเซีย (2%) และนักลงทุนเอกชนต่างชาติ (20%)
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 อูย์เตร์ได้ประกาศแผนการที่จะทดแทนตูโปเลฟ ตู-134 ด้วยเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100[6] และในเดือนธันวาคมได้สั่งซื้อเป็นจำนวน 24 ลำโดยมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2013[7]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 อูเตร์ประสบปัญหาทางการเงินและไม่สามารถชำระเงินประกันได้[8] จนได้ประกาศแผนฟื้นฟูกิจการ โดยได้ลดจำนวนฝูงบินกว่า 50 ลำในปี 2015 และได้ยังยกเลิกคำสั่งซื้อซุคฮอยซูเปอร์เจ็ต 100 ทั้งหมดอีกด้วย[9] รวมถึงได้ยุติการให้บริการสายการบินลูกอูย์เตร์เอกซ์เพรส[10]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015 ได้มีการขายอาเซอร์แอร์และอูย์เตร์-ยูเครน ซึ่งเป็นสายการบินลูกของสายการบิน ให้กับบริษัทการท่องเที่ยว Anex Tourism Group สัญชาติตุรกี[11]เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2017 อูย์เตร์ได้ประกาศรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อจาก อูย์เตร์เอวิเอชัน เป็น อูเตร์[12]
เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2022 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้จำกัดเที่ยวบินบนเครื่องบินที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาสำหรับแอโรฟลอต, อาวิอาสตาร์, อาเซอร์แอร์, เบลาเวีย, รอซิยาห์แอร์ไลน์ และอูย์เตร์ โดยสหรัฐถูกมองว่าต้องการเรียกคืนทรัพย์สินทางปัญญา[13] เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน สหรัฐได้ขยายข้อจำกัดกับสายการบินทั้ง 6 สาย หลังจากตรวจพบการละเมิดมาตรการคว่ำบาตร โดยผลกระทบจากข้อจำกัดดังกล่าวคือเครื่องบินที่ผลิตในสหรัฐจะต้องถูกระงับการบินทั้งหมด[13]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 อูย์เตร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 72 แห่งในเอเชียและยุโรป
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 อูย์แตร์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้::[14]
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 อูย์เตร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[18][19]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
B | E | รวม | อ้างอิง | |||||
เอทีอาร์ 72-500 | 15 | — | — | 70 | 70 | [20] | ||
โบอิง 737-400 | 6 | — | 6 | 144 | 150 | [21] | รวม RA-73069 (MSN 28478) โบอิง 737 คลาสสิกลำสุดท้าย[22] | |
โบอิง 737-500 | 19 | — | 8 | 108 | 116 | [23] | ||
— | 126 | 126 | ||||||
โบอิง 737-800 | 15 | — | 8 | 165 | 173 | [24] | ||
โบอิง 767-200อีอาร์ | 3 | — | – | 249 | 249 | [25] | หนึ่งในผู้บริการรายใหญ่ที่สุด | |
รวม | 58 | — |
อูย์เตร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 20.4 ปี
ฝูงบินในอดีต
[แก้]อูย์เตร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[26]
เครื่องบิน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แอร์บัส เอ321-200 | 2013 | 2015 | อากาศยานแอร์บัสเพียงชนิดเดียวของสายการบิน |
อานโตนอฟ อาน-24 | 1993 | 2014 | |
เอทีอาร์ 42-300 | 2005 | 2014 | |
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ100แอลอาร์ | 2010 | 2014 | |
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ200แอลอาร์ | 2010 | 2014 | |
โบอิง 757-200 | 2010 | 2015 | |
โบอิง 767-300 | 2014 | 2015 | |
ตูโปเลฟ ตู-134 | 1999 | 2014 | |
ตูโปเลฟ ตู-154เอ็ม | 1992 | 2014 | หนึ่งในผู้ให้บริการสุดท้ายของรัสเซีย |
ยาโกเลฟ ยัค-40 | 1992 | 2012 | |
ยาโกเลฟ ยัค-42 | 2006 | 2013 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Federal State Unitary Enterprise "State Air Traffic Management Corporation", Airline Reference, Vol. 1, Russian Federation, 20 February 2007, p. 500
- ↑ ICAO Doc 8585
- ↑ "2010 Annual Report." (Archive) UTair Aviation. 58. Retrieved on 27 February 2012. "Airport, Khanti-Mansiysk, Tyumen region, 628012 Russian Federation". - Russian (Archive): "628012, Российская Федерация, город Ханты-Мансийск, аэропорт"
- ↑ Wragg 2007, p. 181.
- ↑ 5.0 5.1 Mills 2016, p. 52.
- ↑ "UTAir selects two Superjet variants to replace Tu-134s". สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
- ↑ "Utair purchases 24 Sukhoi jets". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ Doff, Natasha (20 November 2014). "UTair Misses Bond Payment in Russia Funding-Crunch Sign". Bloomberg.
- ↑ "Superjet Boost". Airliner World: 10. October 2015.
- ↑ "Russia suspends UTair-Express' AOC". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
- ↑ ch-aviation.com - Russia's UTair Group offloads Azur Air unit to Turkey's ATG 7 December 2015
- ↑ "Авиакомпания "ЮТэйр" - Встречайте новый Utair". www.utair.ru (ภาษารัสเซีย). ПАО «Авиакомпания «ЮТэйр». สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
- ↑ 13.0 13.1 "US Broadens Restrictions on Belarus National Airline After Violations". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). 2022-06-16.
- ↑ "Авиакомпания "ЮТэйр" - Авиакомпании-партнёры". utair.ru (ภาษารัสเซีย). Utair. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
- ↑ Liu, Jim (26 April 2019). "FlyOne / Utair begins codeshare partnership from March 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
- ↑ Yuri Plokhotnichenko (2 June 2018). ""Руслайн" совместно с Utair намерен летать из Москвы в Саратов". travel.ru.
- ↑ "Profile on UTair Aviation". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
- ↑ "Utair aircrafts [sic]". Utair. สืบค้นเมื่อ 2 July 2022.
- ↑ "UTair Aviation Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-12.
- ↑ "ATR 72-500 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ "Boeing 737-400 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ planespotters.net - RA-73069 UTair Aviation Boeing 737-400 retrieved 2 July 2022
- ↑ "Boeing 737-500 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ "Boeing 737-800 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ "Boeing 767-200 Salon scheme". Utair. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.
- ↑ "ЮТэйр Авиапарк". russianplanes.net.
บรรณานุกรม
[แก้]- Wragg, David W. (2007). The World's Major Airlines (ภาษาอังกฤษ). Sutton: Sutton Publishing. p. 303. ISBN 9780750944816.
- Mills, Gordon (2016). The Airline Revolution: Economic analysis of airline performance and public policy (ภาษาอังกฤษ). London: Routledge. p. 382. ISBN 9781317045311.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ UTair Aviation