อาสนวิหารเดอรัม
อาสนวิหารเดอรัม | |
---|---|
คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม | |
อาสนวิหารเดอรัมเมื่อมองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ | |
54°46′25″N 1°34′34″W / 54.77361°N 1.57611°W | |
ที่ตั้ง | เดอรัม |
ประเทศ | อังกฤษ |
นิกาย | คริสตจักรแห่งอังกฤษ |
จารีต | Broad Church |
เว็บไซต์ | durhamcathedral.co.uk |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตย์ | นอร์มัน/โรมาเนสก์, กอทิก |
ปีสร้าง | ค.ศ. 1093–1133, ปรับเสริมจนถึง ค.ศ. 1490 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 469 ฟุต (143 เมตร) (ภายใน) |
เนฟกว้าง | 81 ฟุต (25 เมตร) (inc aisles) |
เนฟสูง | 73 ฟุต (22 เมตร) |
Choir height | 74 ฟุต (23 เมตร) |
จำนวนหอคอย | 3 |
ความสูงหอคอย | 218 ฟุต (66 เมตร) (หอคอยกลาง) 144 ฟุต (44 เมตร) (หอคอยตะวันตก) |
จำนวนยอดแหลม | 0 (2 บนหอคอยตะวันตกจนถึง ค.ศ. 1658) |
การปกครอง | |
มุขมณฑล | เดอรัม (ตั้งแต่ ค.ศ. 635 ในชื่อลินดิสฟาร์น, ค.ศ. 995 ในชื่อเดอรัม) |
แขวง | ยอร์ก |
นักบวช | |
มุขนายก | พอล บัตเลอร์ |
เจ้าคณะ | แอนดรูว์ เทรมเลตต์ |
ผู้นำสวด | ไมเคิล ฮัมเพล (Vice-Dean) |
ผู้แทน | ชาร์ลี อัลเลน |
Canon(s) | ไซมอน โอลิเวอร์ (Professor) |
ศิษยาภิบาล | ไมเคิล อีฟริตต์ |
ฆราวาส | |
ผู้อำนวยการเพลง | แดเนียล คุก (Organist and Master of the Choristers) |
นักออร์แกน | ฟรานเซสกา แมสซีย์ (Sub-Organist) |
Chapter clerk | อมันดา แอนเดอร์สัน |
Lay member(s) of chapter | แคทธี บาร์นส ไอวอร์ สโตลลิเดย์ (Treasurer) |
บางส่วน | ปราสาทและอาสนวิหารเดอรัม |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: ii, iv, vi |
อ้างอิง | 370 |
ขึ้นทะเบียน | 1986 (สมัยที่ 10th) |
คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (อังกฤษ: The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham
ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น
อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด
มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops
อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear)
สมัยแซ็กซอน
[แก้]มุขมณฑลเดอรัมย้ายมาจากลินเดสฟาร์น ที่ก่อตั้งโดยนักบุญไอดัน (St Aidan) โดยการนำของนักบุญออสวอลด์ราวปี ค.ศ. 635 มุขมณฑลอยู่มาได้ถึงปี ค.ศ. 664 ก็ย้ายไปรวมกับขึ้นกับมุขนายกแห่งยอร์ก แต่ก็ได้กลับมาเป็นมุขมณฑลอิสระอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 678 โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ในบริเวณนี้มีนักบวชที่ได้เป็นนักบุญหลายองค์รวมทั้งนักบุญคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์นผู้เป็นคนสำคัญในการสร้างอาสนวิหารเดอรัม
หลังจากที่โดนถูกรุกรานโดยไวกิงหลายครั้งนักพรตก็หนีจากลินเดสฟาร์นเมื่อ ค.ศ. 875 ไปพร้อมกับวัตถุมงคลของนักบุญคัธเบิร์ต สังฆมณฑลลินเดสฟาร์นก็ไม่ได้อยู่เป็นที่เป็นทางมาจนราวปี ค.ศ. 882 เมื่อมีชุมชนก่อตั้งตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งที่เชสเตอร์เลอสตรีท (Chester-le-Street) มุขมณฑลก็ตั้งอยู่ที่นี่จนปี ค.ศ. 995 เมื่อถูกรุกรานอีกจนเหล่านักพรตต้องอพยพหนีอีกครั้ง
ตามตำนานกล่าวว่านักพรตที่หนีการรุกรานไปเจอหญิงรีดนมที่กำลังตามหาวัวสีน้ำตาล (Dun Cow) นักพรตก็ตามไปด้วยจนไปถึงแหลมที่เป็นรูปห่วงที่แม่น้ำเวียร์ พอมาถึงที่นั้นโลงของนักบุญคัธเบิร์ตก็ไม่ยอมเคลื่อนไปไหน นักพรตจึงถือว่าเป็นสัญญาณว่าควรจะสร้างวัดตรงนั้น แต่เหตุผลหนึ่งที่น่าจะมีเหตุผลกว่าคือที่ดินที่เป็นแหลมตรงนั้นเป็นที่สูงซึ่งเป็นตำแหน่งที่ง่ายต่อการป้องกันตัวจากข้าศึก และชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งก็จะได้รับการคุ้มครองจากเอิร์ลแห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด์ด้วย เพราะมุขนายกแอลดุน (Aldhun) เป็นญาติสนิทกับเอิร์ล แต่กระนั้นทางผ่านทางหอด้านตะวันออกของลานปราสาทก็จึงเรียกว่า Dun Cow Lane
เมื่อเริ่มแรกทางโบสถ์ก็สร้างสิ่งก่อสร้างชั่วคราวจากไม้เพื่อจะได้เป็นที่ตั้งนักบุญคัธเบิร์ต ต่อมาก็ย้ายไปตั้งในสิ่งก่อสร้างใหม่ที่ถาวรกว่าที่อาจจะทำด้วยไม้ สิ่งก่อสร้างนี้เรียกว่า White Church แต่วัดนี้ก็อยู่ได้เพียงสามปีก็มีวัดใหม่สร้างด้วยหินขึ้นมาแทน เมื่อปี ค.ศ. 998 โดยยังใช้ชื่อเดิม พอมาถึงปี ค.ศ. 1018 หอด้านตะวันตกก็ยังสร้างไม่เสร็จ อาสนวิหารเดอรัมกลายมาเป็นสถานที่ดึงดูดนักแสวงบุญของลัทธินิยมนักบุญคัธเบิร์ต พระเจ้าคานุท (King Canute) เองก็ทรงนิยมนักบุญคัธเบิร์ต โดยพระราชทานสิทธิพิเศษและที่ดินให้แก่ชุมชนเดอรัม ชุมชนเดอรัมก็ขยายตัวเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ
ยุคกลาง
[แก้]อาสนวิหารปัจจุบันออกแบบโดยเจ้าชายมุขนายกวิลเลียมแห่งเซนต์คาริเลฟ (Prince-bishop, William of St. Carilef) และเริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1093 หลังจากที่วิลเลียมสิ้นพระชนม์ รานูลฟ แฟลมบาร์ด (Ranulf Flambard) ก็ดำเนินงานต่อ ลักษณะหลังคาเหนือทางเดินกลางเป็นโค้งแหลมเล็กน้อยแบบมีสัน (ribbed vault) รับด้วยเสาอิงสลับกับเสากลมใหญ่ กำแพงค้ำยันซ่อนอยู่ภายในส่วนโค้งเหนือทาง เดินข้าง ลักษณะหลังคาของอาสนวิหารเดอรัมเป็นลักษณะที่มาก่อนหน้าสถาปัตยกรรมกอทิกทางเหนือของฝรั่งเศสหลายสิบปีต่อมาซึ่งคงไปจากช่างสลักหินชาวนอร์มัน ถึงแม้โดยทั่วไปแล้วเดอรัมจะถือว่าเป็นอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ก็ตาม การใช้เพดานโค้งแหลมและสันบนเพดานและกำแพงค้ำยันทำให้สามารถวางผังโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้นได้ ทำให้การตกแต่งทำได้สวยขึ้น และทำให้สิ่งก่อสร้างสูงขึ้น กว้างขึ้น และทำหน้าต่างได้กว้างขึ้น
เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 มุขนายกฮิว เดอ พุยเซ็ท (Hugh de Puiset) ต่อเติมชาเปลกาลิลี (Galilee Chapel) ทางด้านตะวันตก หรือที่เรียกว่าชาเปลแม่พระ ชาเปลกาลิลีเป็นที่เก็บบุญราศีบีด และมุขนายกทอมัส แลงลีย์ซึ่งที่ฝังศพขวางประตูด้านตะวันตกของอาสนวิหาร ที่ฝังศพของนักบุญคัธเบิร์ตอยู่ทางด้านตะวันออก และครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ฝังศพที่หรูทำด้วยหินอ่อนสีครีมและทอง
โดยเจ้าชายมุขนายกวิลเลียมแห่งเซนต์คาริเลฟ รานูลฟ แฟลมบาร์ด และ บาทหลวงฮิว เดอ พุยเซ็ท ต่างก็ถูกฝังไว้ที่อาสนวิหารนี้ที่ในห้องประชุมนักบวชซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับระเบียงฉันนบถที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1140
ชาเปลเก้าแท่นบูชา (Chapel of the Nine Altars) มาสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านตะวันออกของอาสนวิหาร เริ่มโดยริชาร์ด เดอ พัวร์ (Richard le Poore) หอกลางถูกทำลายโดยฟ้าผ่า หอปัจจุบันสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15
ยุบอาสนวิหาร
[แก้]ที่ฝังศพของนักบุญคัธเบิร์ตถูกสั่งให้ทำลายโดยพระราชโองการของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เมื่อปี ค.ศ. 1538 จนเหลือเพียงส่วนที่เป็นหิน สองปีต่อมาในปี ค.ศ. 1540 อารามที่เดอรัมก็ถูกสั่งให้ยุบตามพระราชกฤษฎีกายุบอาราม แต่ส่วนที่ยังเหลืออย่างสมบูรณ์แบบคือระเบียงฉันนบถ และอธิการองค์สุดท้ายฮิว ไวท์เฮดได้มาเป็นดีนคนแรกของอาสนวิหาร
1600-1900
[แก้]เมื่อปี ค.ศ. 1650 อาสนวิหารเดอรัมกลายมาเป็นที่คุมขังเชลยศึกและขังนักโทษ จากสกอตแลนด์หลังจาก “ยุทธการดันบาร์ ค.ศ. 1650” (Battle of Dunbar (1650)) นักโทษเสียชีวิตไปราว 5000 คนถ้าไม่จากการเดินทางก็มาเสียชีวิตที่อาสนวิหาร ร่างของนักโทษเหล่านี้ถูกฝังในหลุมนิรนาม นักโทษที่รอดถูกส่งตัวไป อินเดียตะวันตก, รัฐเวอร์จิเนีย และ รัฐแมสซาชูเซตส์ และอีก 150 คนถูกส่งไปรัฐเมน เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1650
คูหาสวดมนต์ 9 แท่นบูชา มีหน้าต่างกุหลาบขนาดใหญ่จากคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาซ่อมใหม่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 และรูปปั้นของวิลเลียม แวน มิลเดิร์ท (William Van Mildert) ผู้เป็นสมเด็จบาทหลวงองค์สุดท้ายระหว่างปี ค.ศ. 1826 ถึงปี ค.ศ. 1836 ผู้เป็นแรงหนุนหลังในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเดอรัม
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
อาสนวิหารเดอรัม และปราสาทเดอรัม
-
บริเวณนักบวชหรือบริเวณสวดมนต์และร้องเพลงสวด ค.ศ. 1890
-
คูหาสวดมนต์กาลิลี ค.ศ. 1890
-
ทางเดินกลาง ค.ศ. 1890
-
ภายใน
-
ทิวทัศน์จากหอกลาง
-
ทิวทัศน์จากเซนต์มาร์กาเรต (St Margaret's)
-
ทิวทัศน์จาก South Street
-
ทิวทัศน์จากสะพานพรีเบ็นดส์ (Prebends Bridge)
-
ระเบียงฉันนบถ
-
อาสนวิหารยามเช้า
-
หน้าต่างกุหลาบจาก Chapel of the Nine Altars.