ข้ามไปเนื้อหา

อากิระ โยชิโนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อากิระ โยชิโนะ
吉野 彰
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
ซูอิตะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
การศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโต (ปริญญาตรีและโท)
มหาวิทยาลัยโอซากะ (ปริญญาเอก)
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (2019)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาไฟฟ้าเคมี
สถาบันที่ทำงานอาซาฮิคาเซ
มหาวิทยาลัยเมโจ
ได้รับอิทธิพลจากเค็งอิจิ ฟูกูอิ
จอห์น บี. กูดอีนาฟ

อากิระ โยชิโนะ (ญี่ปุ่น: 吉野 彰โรมาจิYoshino Akira) เป็นนักเคมีชาวญี่ปุ่น โยชิโนะเป็นนักวิจัยในบริษัทอาซาฮิคาเซ (ญี่ปุ่น: 旭化成株式会社โรมาจิAsahi Kasei Kabushiki-gaisha) และศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมโจ เขาเป็นคนแรกที่คิดค้นแบตเตอรี่ลิเทียมที่ปลอดภัยและผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้[1] ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์วางตัก เป็นต้น โยชิโนะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2562[1] ร่วมกับจอห์น บี. กูดอีนาฟและเอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม

วัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

โยชิโนะเกิดที่เมืองซูอิตะ จังหวัดโอซากะ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2491[2] เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ใน พ.ศ. 2513 และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในอีกสองปีต่อมาจากสถาบันเดียวกัน และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอซากะใน พ.ศ. 2548[3][4]

ขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกียวโต โยชิโนะได้มีโอกาสเข้าเรียนกับเค็งอิจิ ฟูกูอิซึ่งเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี[5]

การทำงาน

[แก้]

หลังจบปริญญาโทแล้วโยชิโนะเข้าทำงานที่บริษัทอาซาฮิคาเซ[6][7] เขาเข้าทำงานที่ห้องปฏิบัติการคาวาซากิใน พ.ศ. 2525 และได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ไอออนใน พ.ศ. 2535[7] ต่อมาใน พ.ศ. 2537 เขาได้เลื่อนชั้นเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเทคนิคสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของบริษัทเอแอนด์ทีแบตเตอรี่[7] ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของอาซาฮิคาเซและโตชิบา อาซาฮิคาเซได้แต่งตั้งให้เป็นนักวิจัยระดับสูงใน พ.ศ. 2546 และอีกสองปีถัดมาโยชิโนะได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการทั่วไปโดยมีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเอง[7] ใน พ.ศ. 2560 โยชิโนะได้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมโจและนักวิจัยกิตติมศักดิ์ในบริษัทอาซาฮิคาเซ[7]

การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

[แก้]

โยชิโนะเริ่มพัฒนาแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้โดยใช้พอลิอะเซทิลีนใน พ.ศ. 2524[8] พอลิอะเซทิลีนเป็นพอลิเมอร์นำไฟฟ้าที่ค้นพบโดยฮิเดกิ ชิรากาวะซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2543[7] สองปีถัดมาโยชิโนะได้ดัดแปลงแบตเตอรี่ต้นแบบโดยใช้ลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์ (LiCoO2) เป็นแคโทด (ขั้วลบ) และพอลิอะเซทิลีนเป็นแอโนด (ขั้วบวก) ซึ่งลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์นั้นค้นพบใน พ.ศ. 2522 โดยเอ็น. เอ. กอดชอลล์และคณะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[9][10][11] และโดยจอห์น บี. กูดอีนาฟและโคอิจิ มิซูชิมะจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[7] ขั้วแอโนดของแบตเตอรี่นี้ไม่มีโลหะลิเทียมอยู่ แต่ในระหว่างประจุไฟนั้นลิเทียมไอออนจะแพร่จากขั้วแคโทด LiCoO2 ไปยังขั้วแอโนด ซึ่งเป็นต้นแบบไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน[7]

พอลิอะเซทิลีนมีความหนาแน่นต่ำ ทำให้ต้องใช้เนื้อที่มากและทำให้แบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านความเสถียร โยชิโนะจึงเปลี่ยนมาใช้คาร์บอนเป็นขั้วแอโนดแทน ใน พ.ศ. 2528 โยชิโนะจดสิทธิบัตรแบตเตอรี่ลิเทียมที่เขาประดิษฐ์[7][12][13] ซึ่งถือเป็นการกำเนิดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบที่ใช้ในปัจจุบัน[7] แบตเตอรี่ในลักษณะนี้จัดจำหน่ายโดยโซนี่ใน พ.ศ. 2534 และเอแอนด์ทีแบตเตอรี่ (กิจการร่วมค้าระหว่างอาซาฮิคาเซและโตชิบา) ใน พ.ศ. 2535[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Specia, Megan (9 ตุลาคม 2562). "Nobel Prize in Chemistry Honors Work on Lithium-Ion Batteries - John B. Goodenough, M. Stanley Whittingham and Akira Yoshino were recognized for research that has "laid the foundation of a wireless, fossil fuel-free society."". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. https://www.asahi-kasei.co.jp/asahi/jp/news/2013/pdf/ze140108.pdf
  3. "Akira Yoshino: Inventing The Lithium Ion Battery". 1 มิถุนายน 2561.
  4. Profile of Akira Yoshino and Overview of His Invention of the Lithium-ion Battery
  5. 芦原千晶 (30 กันยายน 2561). "<あの頃> リチウムイオン電池開発の研究者・吉野彰さん". 中日新聞. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Profile of Dr. Akira Yoshino" (PDF). Asahi Kasei. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 "Profile of Akira Yoshino, Dr.Eng., and Overview of His Invention of the Lithium-ion Battery" (PDF). อาซาฮิคาเซ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Fehrenbacher, Katie (26 เมษายน 2561). "A conversation with a lithium-ion battery pioneer". GreenBiz. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. "It was over 35 years ago, in 1981, when I started my research on batteries....This research initiative started not fully focused on batteries. It started from the study on polyacetylene" {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. N. A. Godshall, I. D. Raistrick, and R. A. Huggins, Journal of the Electrochemical Society, Abstract 162, Vol. 126, p. 322C; "Thermodynamic Investigations of Ternary Lithium-Transition Metal-Oxide Systems for Lithium Batteries" (August 1979).
  10. N. A. Godshall, I. D. Raistrick, and R. A. Huggins, Journal of the Electrochemical Society, Extended Abstract 162, Vol. 79-2, pp. 420-422; "Thermodynamic Investigations of Ternary Lithium-Transition Metal-Oxide Systems for Lithium Batteries" (October 1979).
  11. Ned A. Godshall, "Electrochemical and Thermodynamic Investigation of Ternary Lithium -Transition Metal-Oxide Cathode Materials for Lithium Batteries: Li2MnO4 spinel, LiCoO2, and LiFeO2", Presentation at 156th Meeting of the Electrochemical Society, Los Angeles, CA, (17 October 1979).
  12. แม่แบบ:Ref patent, Priority Data 10 May 1985, by Espacenet Patent search
  13. "JP 2642206". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15., by USPTO PATENT FULL-TEXT AND IMAGE DATABASE
  14. Masaki Yoshio, Akiya Kozawa, and Ralph J. Brodd (2009). "Introduction: Development of Lithium-Ion Batteries" (PDF). Springer. p. xvii. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)