อรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา
ท่านผู้หญิง อรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | อรนุช ทองเนื้อดี 13 เมษายน พ.ศ. 2486 |
มีชื่อเสียงจาก | นางสนองพระโอษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่ายมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ |
คู่สมรส | จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
บุตร | จิรุตม์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
บิดามารดา | วารี ทองเนื้อดี สุนทรี ทองเนื้อดี |
ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา[1] นางสนองพระโอษฐ์และผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่าย มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นภริยาจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี
ประวัติ
[แก้]ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองเนื้อดี)[2] เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของวารี กับสุนทรี ทองเนื้อดี มีพี่น้อง 5 คน จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชินี และ FRANCES KING SECRETARIAL COLLEGE ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาสมรสกับจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี, อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, อดีตเลขาธิการพระราชวัง, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีบุตร 2 คน คือ
- จิรุตม์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ชื่อเล่น เอ้
- จิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ชื่อเล่น โอ๊ต[3]
ท่านผู้หญิงอรนุช ได้ทำงานในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เลขาของผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ,แผนกโฆษณา หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์,เลขาของกรรมการผู้จัดการ,ผู้ช่วยหัวหน้า เอ.อี.ทำโฆษณาให้ลูกค้า บริษัทกล๊าสแอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง,เลขาฯ ทำงานทางศูนย์วิจัยทางทหาร ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ อเมริกันมาสำรวจข้อมูลลุ่มแม่น้ำโขง,บริษัทอุตสาหกรรมพรมไทย และ เลขาฯ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ
ต่อมาท่านผู้หญิงอรนุชได้ถวายงานเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่าย มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2539
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00054960.PDF เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์
- ↑ "อรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุขหรรษาฟังพี่น้องร้องเพลง". คมชัดลึก. 5 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (7ข): 7. 4 พฤษภาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ท่านผู้หญิง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ราชสกุลอิศรางกูร
- ณ อยุธยา
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์