สุลต่านมุสตาฟาที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มุสตาฟาที่ 3 (/ˈmʊstəfə/; Ottoman Turkish: مصطفى ثالث Muṣṭafā-yi sālis; 28 มกราคม 1717 – 21 มกราคม 1774) เป็นสุลต่านของจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปี 1757 ถึง 1774 พระองค์เป็นพระโอรสในสุลต่านอาเหม็ดที่ 3 (1703–30) และ พระชายา Mihrişah Kadın พระอนุชาของพระองค์ อับดุลฮามิดที่ 1 ขึ้นเป็นสุลต่านองค์ถัดไป (1774–89)

มุสทาฟาที่ 3
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
ครองราชย์30 ตุลาคม ค.ศ. 1757 – 21 มกราคม ค.ศ. 1774
ราชาภิเษก30 ตุลาคม ค.ศ. 1757
ก่อนหน้าสุลต่านออสมันที่ 3
ถัดไปสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 1
พระราชสมภพ28 มกราคม พ.ศ. 1717
Edirne Palace Edirne Ottoman Empire
สวรรคต21 มกราคม พ.ศ. 1774 (56 พรรษา)
Topkapı Palace Istanbul Ottoman Empire
ประดิษฐานพระบรมศพLaleli Mosque Fatih Istanbul
อัครมเหสีMihrişah Sultan
Aynülhayat Kadın
Adilşah Kadın
Fehime Kadin
Rifat Kadin
Binnaz Kadin
Gülman Hanim
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระบิดาอะเหม็ดที่ 3
พระมารดาMihrişah Kadın
ศาสนาซุนนีอิสลาม
ลายพระอภิไธย
พิธีต้อนรับ Comte de Saint Priest ที่ Ottoman Porte Antoine de Favray ปี 1767
เหรียญของมุสทาฟาที่ 3

ก่อนขึ้นครองราชย์[แก้]

สุลต่านมุสตาฟาที่ 3 พระราชสมภพที่พระราชวัง Edirne ในวันที่ 28 มกราคม 1717 เป็นพระโอรสในสุลต่าน อะเหม็ดที่ 3 และ Mihrişah Kadın ในปี 1720 พิธีสุหนัตครั้งยิ่งใหญ่ถูกจัดขึ้นเป็นเวลา 15 วัน จัดขึ้นให้กับมุสตาฟา และ พี่น้องของเขา เมห์เหม็ด สุไลมาน และ บาเยซิด ในปี 1730 หลังการปฎิวัติของ Patrona Halil นำไปสู่การถอดถอนสุลต่านอะเหม็ดที่ 3 พระบิดาของพระองค์ลงจากตำแหน่ง ญาติของพระองค์ มาห์หมุด ขึ้นเป็น สุลต่าน มาห์หมุดที่ 1 มุสตาฟา พระบิดา และ เหล่าพระเชษฐา/อนุชา จึงถูกกักบริเวณไว้ที่พระราชวังทอปกาปี ในปี 1756 หลังการสิ้นพระชนม์ของ เมห์เหม็ด ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ พระองค์จึงขึ้นเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์คนถัดไป

รัชสมัย[แก้]

มุสตาฟาที่ 3 ขึ้นครองราชย์ต่อจาก ออสมันที่ 3 ในวันที่ 30 ตุลาคม 1757

สไตล์การบริหาร

หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงยึดมั่นในความยุติธรรม โดยออกข้อกำหนดต่างๆเพื่อสร้างความเจริญกับอิสตันบูล เช่น ออกข้อกำหนดในการควบคุมเหรียญ สร้างโรงเก็บข้าวขนาดใหญ่ ซ่อมบำรุงท่อระบายน้ำ และ ออกนโยบายการคลังแบบเข้มงวด พระองค์มักจะเสด็จออกนอกวังบ่อยครั้งเพื่อตรวจว่า กฎหมายของพระองค์มีคนปฎิบัติตามหรือไม่

สนธิสัญญากับปรัสเซีย

มุสตาฟาที่ 3 พระองค์ชื่นชมพระเจ้าฟรีดิชมหาราช แห่งปรัสเซียเป็นอย่างมาก ในปี 1761 พระองค์จึงเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพกับปรัสเซีย โดยทั้ง 2 ฝ่ายมีเป้าหมาย ทางฝ่ายพระเจ้าฟรีดิชแห่งปรัสเซีย ต้องการพันธมิตรในการต่อต้านราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ส่วนทางฝ่ายสุลต่านมุสตาฟาที่ 3 พระองค์ต้องการทำให้กองทัพออตโตมันทันสมัยมากขึ้น โดยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ พระองค์ทรงจ้างครูฝึกทหารที่มีความสามารถในเบอร์ลินมากกว่าจากปารีส และ ลอนดอน เพื่อที่จะมาฝึกกองทัพของจักรวรรดิ ในปี 1763 ทั้ง 2 ประเทศ มีการแลกเปลี่ยนทางลการทูตเป็นครั้งแรก


สงครามรัสเซีย - ตุรกี (1768-1774)

มหาอำมาตย์ Koca Ragıp ดำรงตำแหน่งมหาอำมาตย์จนกระทั่งปี 1763 โดยออกนโยบายที่เน้นสร้างสันติภาพกับเพื่อนบ้านรอบข้าง แต่ด้วยอิทธิพลของรัสเซีย เหนือคาบสมุทรคอเคซัส และ ความพยายามที่จะเข้าครอบครองโปแลนด์ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และ ออตโตมันขึ้น ผู้สืบทอดตำแหน่งมหาอำมาตย์ Koca Ragıp มหาอำมาตย์ Muhsinzade Mehmed ยังคงนโยบายสร้างสันติภาพกับประเทศรอบข้างเอาไว้ โดยทางสุลต่านยืนกรานที่จะทำสงคราม โดยกล่าววว่า (ฉันจะทำให้พวกนอกรีตรู้จักโอนอ่อนบ้าง) นำไปสู่การลาออกของมหาอำมาตย์ Muhsinzade Mehmed ในปี 1768 มุสตาฟาที่ 3 คาดหวังชัยชนะอย่างง่ายดายเหนือรัสเซีย แต่ในความเป็นจริงนั้น ออตโตมัน ไม่ได้เตรียมพร้อมในสงครามระยะยาว ในช่วงสงครามการปฎิรูปการทหารยังคงดำเนินการต่อไปด้วยการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสอย่าง François Baron de Tott โดยได้ทำให้กองทหารปืนใหญ่ทันสมัยขึ้น และ การตั้งโรงเรียนวิศวกรรมทหารเรือ ในปี 1773 สงครามได้สร้างหายนะกับกองทัพออตโตมัน รัสเซียได้รับชัยชนะ และ ผนวกแคว้น ไครเมีย โรมาเนีย และ บางส่วนของบัลแกเรีย เข้าเป็นส่วนหนึ่ง

สถาปัตยกรรม

มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์หลายแห่งรวมถึงมัสยิด Fatih ที่ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยสุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ และเขายังได้สร้างมัสยิด Laleli และพระองค์ได้เทพื้นที่ตามแนวชายฝั่งเพื่อสร้างย่านใหม่อย่าง Yenikapı นอกจากนี้พระองค์ยังได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างหลายๆงานในรัชสมัยของพระองค์ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 1766-1767

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

ด้านกวี

มุสทาฟาที่ 3

He was a poet, his poetry being written under the pseudonym of Cihangir.[1]

พระองค์เป็นนักกวี โดยใช้ชื่อประพันธ์นามแฝงว่า Cihangir

(ภาษาตุรกี)

"Yıkılupdur bu cihan sanma ki bizde düzele Devleti çarh-ı deni verdi kamu müptezele Şimdi erbab-ı saadette gezen hep hazele İşimiz kaldı hemen merhamet-i lem yezele."

(ภาษาอังกฤษ)

"This world has ruined, don't even think with us it recovers, It was the lousy fate that has delivered the power to vulgars, Now the perfidious ones have populated the Imperial Palace, It's now the mercy of the everlasting God that runs our business.

(ภาษาไทย)

“โลกนี้เสื่อมสลายแล้ว อย่าคิดว่าเราจะฟื้นคืน มันเป็นชะตากรรมอันโหดร้ายของพระเจ้าที่มอบพลังให้กับพวกหยาบช้า ตอนนี้พวกฉ้อฉลได้เข้ามาอยู่ในพระราชวังหลวงแล้ว เราได้แต่หวังว่าความเมตตาอันเป็นอนันต์ของพระผู้เป็นเจ้าจะช่วยให้ประเทศของเราดำเนินต่อไปได้"

สวรรคต[แก้]

มุสตาฟาที่ 3 เสด็จสวรรคตเนื่องจากอาการพระหทัยวาย ในวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 1774 ที่พระราชวังทอปกาปี พระบรมศพประดิษฐาน ณ มัสยิด Laleli ใน อิสตันบูล พระอนุชาของพระองค์ อับดุล ฮามิดที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน การสวรรคตของพระองค์ได้ทิ้งความเสื่อมของจักรวรรดิไว้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการบริหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. Lord Kinross, Ottoman Centuries, (Perennial, 2002), 406.