สุรชาติ เทียนทอง
สุรชาติ เทียนทอง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มกราคม พ.ศ. 2565 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | สิระ เจนจาคะ |
ถัดไป | ชยพล สท้อนดี |
เขตเลือกตั้ง | เขตหลักสี่ และเขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล) |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | สกลธี ภัททิยกุล บุญยอด สุขถิ่นไทย อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี |
ถัดไป | สิระ เจนจาคะ |
เขตเลือกตั้ง | เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง (เฉพาะแขวงสนามบิน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2522 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาราช (2550 – 2554) เพื่อไทย (2554 – ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ชื่อเล่น | อ๊อบ |
สุรชาติ เทียนทอง (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น อ๊อบ เป็นนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9[1] และอดีตโฆษกคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ผู้อำนวยการสถานีทราเวล แชนแนล ไทยแลนด์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]สุรชาติ เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2522 เป็นบุตรของนายเสนาะ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนางจิตรา โตศักดิ์สิทธิ์ มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านการจัดการบริการด้านการเงิน และ ปริญญาโทสาขาผู้นำองค์กร จากมหาวิทยาลัยจอห์นสัน แอนด์ เวลส์ สหรัฐอเมริกา[2]
หลังจากนั้นทำงานเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
งานการเมือง
[แก้]สุรชาติ เทียนทอง ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาราช แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 สุรชาติ พร้อมทั้งครอบครัวได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก โดยสามารถเอาชนะนายสกลธี ภัททิยกุลจากพรรคประชาธิปัตย์ และนางสาวศุภมาศ อิศรภักดีจากพรรคภูมิใจไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้[3]
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่แพ้ให้กับ สิระ เจนจาคะ จากพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 เขาได้ลงสมัครอีกครั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้ง[4][5]
ในปี พ.ศ. 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ห้า แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุรชาติ เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 9 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""สุรชาติ เทียนทอง" เฮ! กกต.รับรองผลเลือกตั้ง ส.ส.กทม.หลักสี่". bangkokbiznews. 2022-03-29.
- ↑ มติชน, เจาะใจ "สุรชาติ" ดับไฟแค้น "ปชป.+เพื่อไทย" ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ วางแผนพัฒนาประเทศอีก 20 ปีข้างหน้า
- ↑ มติชน, ตามไปดู เขตเลือกตั้ง พลิกล็อก โค่นเซียน แบบชนิด"หลงจู๊"คลั่ง นี่มันไต้ฝุ่นนี่หว่า !!!
- ↑ "รอ กกต.ประกาศรับรองผล 'สุรชาติ' คว้าชัย เลือกตั้งซ่อมเขต 9 กทม". มติชนออนไลน์. 2022-01-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กกต. ประกาศผลเลือกตั้งซ่อมหลักสี่ ให้ "สุรชาติ เทียนทอง" เป็น ส.ส.แล้ว". www.thairath.co.th. 2022-03-29.
- ↑ ครม. มีมติอนุมัติ /เห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ , เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สุรชาติ เทียนทอง ที่เฟซบุ๊ก
- สุรชาติ เทียนทอง ที่เฟซบุ๊ก (แฟนเพจ)