สมหวัง สารสาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมหวัง สารสาส
หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2525 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2528
ถัดไปพลตรีระวี วันเพ็ญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2454
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2540 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคปวงชนชาวไทย
คู่สมรสอินทุรัตนา บริพัตร (หย่า)
พนิดา สารสาส
บุพการีพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)
นางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์

ร้อยเอก สมหวัง สารสาส (13 ตุลาคม พ.ศ. 2454 – 1 มกราคม พ.ศ. 2540) เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์)

ประวัติ[แก้]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน คือ หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา, จริตราบ สารสาส, โศภิณ อัศวเกียรติ์ และเสลา สก๊อต[1]

จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แล้วเข้ารับราชการเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ขณะมียศเป็น ร้อยเอก ได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำธุรกิจบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด จดทะเบียน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ร่วมกับบุคคลอื่นอีก 8 คน[2]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เคยมอบช้างไทยชื่อ ฮานาโกะ ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาช้างฮานาโกะเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนญี่ปุ่น และสวนสัตว์อิโนคาชิระ จังหวัดโตเกียว ได้จัดงานวันเกิดให้ช้างฮานาโกะมาอย่างต่อเนื่อง[3]

งานการเมือง[แก้]

ปี พ.ศ. 2525 ร้อยเอกสมหวัง ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย และมี ดร.กมล ชาญเลขา เป็นรองหัวหน้าพรรค[4]

ครอบครัว[แก้]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส ได้สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ซึ่งลาออกจากฐานันดรเพื่อทำการสมรส[5] (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[6] มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน คือ ธรณินทร์ สารสาส, สินนภา สารสาส และสันติ สารสาส ต่อมาได้หย่าร้างกับอินทุรัตนา และสมรสใหม่กับพนิดา สารสาส (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์) มีบุตร-ธิดาด้วยกันสี่คน คือ วรวรรณ สารสาส, สันติทวี สารสาส, ศรีภพ สารสาส และชินเวศ สารสาส[7][8]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2540[9]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สดุดี หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา วันที่ 11 ต.ค. 2555 )[ลิงก์เสีย]
  2. < ( 2 ) การประกอบธุรกิจ[ลิงก์เสีย]
  3. งานวันเกิดฉลองครบ 67 ปีช้างไทย ฮานาโกะ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จับตาเอเชียตะวันออก EAST ASIA WATCH
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/A/066/1.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคปวงชนชาวไทย)]
  5. "ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๑/๒๔๙๖ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15ก): 755. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  7. "ชั้นที่ ๖ สายเมืองนคร บุตรธิดาพระยานครกุลเชษฐมเหศรภักดี (เอียด)". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-02. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. 4 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ธรณีสีเหลืองดินฟ้าไม่อาทร หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพร.อ.สมหวัง สารสาส ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2540 / สมหวัง สารสาส