ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา
หม่อมสมพันธุ์ (กลาง) และพระโอรส-ธิดา
เกิดสมพันธุ์
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
ประเทศสยาม
ถึงแก่กรรม8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 (74 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
บิดาพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกะวงศ์)
มารดาคุณหญิงเลี่ยน วทัญญูวินิจฉัย

หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) เป็นหม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และเป็นย่าของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1][2]

ประวัติ

[แก้]

หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา เกิดมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 เป็นธิดาของพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกะวงศ์) กับคุณหญิงเลี่ยน วทัญญูวินิจฉัย (ธิดาพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค))[3]

หม่อมสมพันธุ์ เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์ เดิมทั้งหมดมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า ครั้นในปี พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[4] ได้แก่[5]

  1. อินทุรัตนา บริพัตร (พระยศเดิม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า; ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับร้อยเอกสมหวัง สารสาส[6] มีพระโอรส-พระธิดาด้วยกัน 3 คน ภายหลังได้หย่ากัน
  2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 – 10 เมษายน พ.ศ. 2546) เสกสมรสกับหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ถลาง) มีพระโอรส 2 คน
  3. หม่อมเจ้าชาย (สิ้นชีพิตักษัยหลังประสูติ 3-4 วัน ในปลายรัชกาลที่ 6 จึงไม่ทันได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า)[7]

หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523[8] สิริอายุ 74 ปี

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดขุมทรัพย์ "หม่อมราชวงศ์" วงการเมือง ใครรวยอู้ฟู่-ใครแฟ่บกว่าใคร?". ประสงค์ดอตคอม. 25 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สุขุมพันธุ์ บริพัตร". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0ก): 253. 8 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "รู้จักราชสกุล "บริพัตร" ต้นตระกูล คุณชายหมู - หม่อมเต่า เหตุผลต้องรับใช้กรุงเทพฯ ?". มติชนออนไลน์. 28 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๑/๒๔๙๖ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15ก): 755. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม, พ.ศ. 2517. 43 หน้า.
  8. หนังสือแนะนำ (ขายแล้วครับ) 66 เจ้าฟ้า และสายราชสกุลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พิมพ์ปี 2548 จำนวนหน้า 415 หน้า[ลิงก์เสีย]