สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี
หน้าตา
สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี พ.ศ. 2559 | |
ชื่อเต็ม | สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี |
---|---|
ที่ตั้ง | อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
พิกัด | 24°24′57.92″N 54°27′12.93″E / 24.4160889°N 54.4535917°E |
เจ้าของ | บริษัทการพัฒนามูบาดาลา |
ผู้ดำเนินการ | บริษัทความบันเทิงอาบูดาบี |
ที่นั่งพิเศษ | 6 ที่นั่ง |
ความจุ | 43,620 ที่นั่ง 60,000 ที่นั่ง (ค.ศ. 1980–2009) 63,578 ที่นั่ง (เอเชียนคัพ 2019) |
พื้นผิว | หญ้า |
ป้ายแสดงคะแนน | มี |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | ค.ศ. 1974 |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1979 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 2009 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 550 ล้านดิรฮัม |
สถาปนิก | Henri Colboc, Pierre Dalidet, George Philippe |
ผู้รับเหมาทั่วไป | Consolidated Contractors Company |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ค.ศ. 1980–ปัจจุบัน) เอเชียนคัพ 1996 ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 2003 กัลฟ์คัพออฟเนชันส์ 2007 ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2009 ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2010 เอเชียนคัพ 2019 ยูเออีเพรสซิเดนท์คัพ รอบชิงชนะเลิศ | |
เว็บไซต์ | |
www.zsc.ae |
สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี (อาหรับ: ستاد مدينة زايد الرياضية) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ในย่านซายิดสปอตส์ซิตี อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[1] เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีความจุกว่า 43,000 ที่นั่ง สนามแห่งนี้ยังปรากฏอยู่บนธนบัตร 200 ดิรฮัมอีกด้วย
สนามเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1979[2] และได้ปรับปรุง เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ
สนามกีฬาแห่งนี้มักใช้จัดงานแข่งขันสำคัญต่าง ๆ เช่น เอเชียนคัพ 1996 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับซาอุดีอาระเบีย (ซาอุดีอาระเบียชนะด้วยการยิงลูกโทษ), กัลฟ์คัพออฟเนชันส์ 2007 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับโอมาน, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2009 และ 2010 รอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศ และจะใช้จัดงานฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2017 กับ 2018[3] และเอเชียนคัพ 2019 ในอนาคต
วันที่ | เวลา | ทีมที่หนึ่ง | ผลการแข่งขัน | ทีมที่สอง | รอบ | ผู้เข้าชม |
---|---|---|---|---|---|---|
5 มกราคม 2019 | 20:00 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1–1 | บาห์เรน | กลุ่มเอ | 33,878 คน |
8 มกราคม 2019 | 17:30 | อิรัก | 3–2 | เวียดนาม | กลุ่มดี | 4,779 คน |
10 มกราคม 2019 | 20:00 | อินเดีย | 0–2 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | กลุ่มเอ | 43,206 คน |
13 มกราคม 2019 | 17:30 | โอมาน | นัดที่ 23 | ญี่ปุ่น | กลุ่มเอฟ | |
17 มกราคม 2019 | 20:00 | ซาอุดีอาระเบีย | นัดที่ 35 | กาตาร์ | กลุ่มอี | |
21 มกราคม 2019 | 21:00 | ชนะเลิศ กลุ่ม A | นัดที่ 42 | อันดับ 3 กลุ่ม C/D/E | รอบ 16 ทีม | |
25 มกราคม 2019 | 17:00 | ชนะเลิศ นัดที่ 43 | นัดที่ 47 | ชนะเลิศ นัดที่ 44 | รอบ 8 ทีม | |
1 กุมภาพันธ์ 2019 | 18:00 | ชนะเลิศ นัดที่ 49 | นัดที่ 51 | ชนะเลิศ นัดที่ 50 | รอบชิงชนะเลิศ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Abu Dhabi Football Stadium - Hold Your Events in Style". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-09. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
- ↑ "#360business: Zayed Sports City integral in UAE sporting development". sport360.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
- ↑ "UAE to host Fifa Club World Cup in 2017 and 2018 | The National". www.thenational.ae. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี
ก่อนหน้า | สนามกีฬาซายิดสปอตส์ซิตี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฮิโรชิมะบิ๊กอาร์ช ฮิโรชิมะ |
เอเอฟซี เอเชียนคัพ สนามรอบชิงชนะเลิศ (1996) |
สนามกีฬาคามิลเลคามูนสปอตส์ซิตี เบรุต | ||
สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์ โดฮา |
กัลฟ์คัพออฟเนชันส์ สนามรอบชิงชนะเลิศ (2007) |
สุลต่านกาบูสสปอร์ตคอมเพล็กซ์ มัสกัต | ||
สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ โยโกฮามะ |
ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก สนามรอบชิงชนะเลิศ (2009, 2010) |
สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ โยโกฮามะ | ||
สนามกีฬาออสเตรเลีย ซิดนีย์ |
เอเอฟซี เอเชียนคัพ สนามรอบชิงชนะเลิศ (2019) |
รอประกาศ |