ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์
สองหน้าแรกของสนธิสัญญา (จากซ้ายไปขวา)
ในภาษาเยอรมัน ฮังการี บัลแกเรีย ตุรกีออตโตมัน และรัสเซีย
วันลงนาม3 มีนาคม 1918
ที่ลงนามเบรสท์-ลีตอฟสก์ จังหวัดกรอดโน
(ยูเครนในการยึดครองของเยอรมัน)[1]
เงื่อนไขการให้สัตยาบัน
ผู้ลงนาม เยอรมนี
 ออสเตรีย-ฮังการี
 บัลแกเรีย
 จักรวรรดิออตโตมัน
 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
ภาษาบัลแกเรีย · เยอรมัน · ฮังการี · รัสเซีย · ออตโตมันตุรกี

สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1918 ระหว่างรัฐบาลบอลเชวิคใหม่แห่งโซเวียตรัสเซียกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง (เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรียและจักรวรรดิออตโตมัน) ซึ่งยุติการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของรัสเซีย มีการลงนามสนธิสัญญาที่เบรสท์-ลีตอฟสก์ (หลัง ค.ศ. 1945 ชื่อ เบรสต์) หลังการเจรจาสองเดือน สนธิสัญญาบังคับต่อรัฐบาลบอลเชวิคโดยกองทัพเยอรมันและออสเตรียขู่รุกเพิ่ม ตามสนธิสัญญา โซเวียตรัสเซียสละข้อผูกมัดทั้งหมดของจักรวรรดิรัสเซียต่อพันธมิตรไตรภาคี

ในสนธิสัญญานี้ บอลเชวิครัสเซียยอมโอนรัฐบอลติกให้เยอรมนี เจตนาให้เป็นเมืองขึ้นของเยอรมนีภายใต้เจ้าน้อย (princeling) เยอรมัน รัสเซียยังยอมโอนจังหวัดมณฑลคาส์ในเซาท์คอเคซัสให้จักรวรดิออตโตมันและรับรองเอกราชของยูเครน ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียตกลงจ่ายค่าปฏิกรรมหกพันล้านมาร์กทองคำเยอรมัน นักประวัติศาสตร์ สเปนเซอร์ ทักเคอร์ (Spencer Tucker) เขียนว่า "เสนาธิการเยอรมันสรุปเงื่อนไขโหดร้ายเป็นพิเศษซึ่งทำให้แม้แต่ผู้เจรจาเยอรมันยังตกใจ"[2] ไม่มีการกล่าวถึงคองเกรสโปแลนด์ในสนธิสัญญา เพราะฝ่ายเยอรมันปฏิเสธรับรองการดำรงอยู่ของผู้แทนโปแลนด์ ซึ่งนำสู่การประท้วงของโปแลนด์[3] เมื่อภายหลังฝ่ายเยอรมันร้องทุกข์ว่าสนธิสัญญาแวร์ซาย ค.ศ. 1919 โหดร้ายต่อพวกตน ฝ่ายสัมพันธมิตร (และนักประวัติศาสตร์ที่ถือฝ่ายสัมพันธมิตร) ตอบว่า เงื่อนไขนั้นเบากว่าเบรสท์-ลีตอฟสก์[4]

สนธิสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดอย่างชะงัดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อเยอรมนียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ทว่า ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความโล่งใจบ้างแก่บอลเชวิคซึ่งต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย โดยการบอกเลิกการอ้างสิทธิ์ของรัสเซียเหนือโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย เบลารุส ยูเครนและลิทัวเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. To whom did Brest belong in 1918? Argument among Ukraine, Belarus, and Germany. Ukrayinska Pravda, 25 March 2011. (ยูเครน)
  2. Spencer C. Tucker (2005). World War One. ABC-CLIO. p. 225.
  3. Mapping Europe's Borderlands: Russian Cartography in the Age of Empire Steven Seegel - 2012 At Brest-Litovsk in March 1918, no Polish delegation was invited to the negotiations, and in the Polish press, journalists condemned it as yet another partition of the lands east of the Bug River by great powers
  4. Zara S. Steiner (2005). The Lights that Failed: European International History, 1919-1933. Oxford U.P. p. 68.