ศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศาสนิกชนรวม | |
---|---|
ป. 240 ล้านคน[1] (42%) | |
ศาสนา | |
อิสลาม | |
ภาษา | |
เชิงศาสนา
ทั่วไปชวา, ซุนดา, มลายู, มาดูรา, มีนังกาเบา, เบอตาวี, บูกิซ, บันจาร์, อาเจะฮ์, ซาซัก, โรฮีนจา, จาม และภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ |
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจำนวนประมาณ 240 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่าประมาณ 42% ของประชากรทั้งหมด มุสลิมส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เช่นเดียวกันกับภาคใต้ของไทยบางส่วนและบางพื้นที่ของเกาะมินดาเนาในประเทศฟิลิปปินส์ตามลำดับ[3] ส่วนชนกลุ่มน้อยที่สำคัญอาศัยอยู่ในประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี และดำเนินตามสำนักฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ชาฟิอี[4] ศาสนานี้เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียและบรูไน และยังเป็นหนึ่งใน 6 ความเชื่อทางการของอินโดนีเซีย
ศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกัน และมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ในบางพื้นที่มีการนำศาสนาอิสลามมาปรับเข้ากับประเพณีท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว[5] รหัสยลัทธิเป็นลักษณะเฉพาะของอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีผู้นับถือตามที่ส่วนใหญ่ดำเนินตามลัทธิศูฟีจำนวนมาก เนื่องด้วยรูปแบบที่ลึกลับของศาสนาอิสลามเข้ากันได้ดีกับประเพณีที่มีอยู่แล้ว[5] มุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองการปรับตัวของอิสลามให้เข้ากับประเพณีท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี[6] อิสลามเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันและไม่ได้แยกออกจาก "ขอบเขตที่ไม่ใช่ศาสนา"[7] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนมุสลิมที่สูงที่สุดในโลก แซงหน้าทั้งตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ[5][8] ถึงกระนั้น ศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกละเลยจากการศึกษาอิสลามของชาวตะวันตกที่มีศูนย์กลางอยู่รอบตะวันออกกลาง[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yusuf, Imtiyaz. "The Middle East and Muslim Southeast Asia: Implications of the Arab Spring". Oxford Islamic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-05-02.
- ↑ Al-Jallad, Ahmad (30 May 2011). "Polygenesis in the Arabic Dialects". Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics. BRILL. doi:10.1163/1570-6699_eall_EALL_SIM_000030. ISBN 978-90-04-17702-4.
- ↑ Yusuf, Imtiyaz. "The Middle East and Muslim Southeast Asia: Implications of the Arab Spring". Oxford Islamic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-05-02.
- ↑ Yusuf, Imtiyaz. "The Middle East and Muslim Southeast Asia: Implications of the Arab Spring". Oxford Islamic Studies Online. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 14 September 2016.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Southeast Asia and Islam". The Annals of the American Academy of Political and Social Science. 588, Islam: Enduring Myths and Changing Realities (Jul., 2003), pp. 149-170.
- ↑ Fealy, Greg; Hooker, Virginia (2006). Voices of Islam in Southeast Asia : a contemporary sourcebook. Singapore: ISEAS Publications. p. 411.
- ↑ Hooker, M.B. Islam in South-East Asia. Leiden ; New York : E.J. Brill.
- ↑ "Muslims". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 2012-12-18. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ Denny, Fredrick Mathewson (1987). Islam. San Francisco: Harper & Row. pp. 6.
- ↑ Taylor, Jean Gelman Taylor (2003). Indonesia: Peoples and History. New Haven: Yale. pp. 66.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Heidhues, Mary, Somers. Southeast Asia: A Concise History. (London: Thames and Hudson. 2000)
- Mohd Taib Osman. "Islamisation of the Malays: A Transformation of Culture." In Bunga Rampai: Some Aspects of Malay Culture. KL: DBP, 1988 pp. 261–272.