ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย
มัสยิดเมอนารากูดุซในจังหวัดชวากลางสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีหอตามแบบฮินดู-พุทธในสมัยมัชปาหิต
ศาสนิกชนรวม
เพิ่มขึ้น 231,069,932 (2018)
86.7% ของประชากรทั้งหมด
ภาษา
เชิงพิธี

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 86.7 ของประชากรทั้งหมดที่ระบุตนเองเป็นมุสลิมในแบบสำรวจเมื่อ ค.ศ. 2018[2][3] ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุด โดยมีผู้นับถือประมาณ 231 ล้านคน[4]

ในส่วนของนิกาย ประชากรจำนวนมาก (98.8%) เป็นมุสลิมนิกายซุนนี ส่วนประชากร 1-3 ล้านคน (1%) นับถือนิกายชีอะฮ์และกระจุกตัวอยู่รอบ ๆ จาการ์ตา[5] และประมาณ 400,000 คน (0.2%) นับถือนิกายอะห์มะดียะฮ์[6] ส่วนในเชิงสำนักนิติศาสตร์ตามสถิติประชากร ร้อยละ 99 ของมุสลิมในอินโดนีเซียดำเนินตามสำนักชาฟิอี[7][8] แม้ว่าเมื่อมีการสอบถาม กลับพบว่ามีร้อยละ 56 ที่ไม่ได้อิงสำนักใด ๆ โดยเฉพาะ[9] กระแสความคิดในศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซียสามารถแบ่งออกได้เป็นสองแนวอย่างกว้าง ๆ : "นวยุคนิยม" ที่มีความใกล้ชืดกับเทววิทยาแบบดั้งเดิม พร้อมเปิดรับการเรียนรู้สมัยใหม่ และ "จารีตนิยม" ที่ตามการตีความของผู้นำศาสนาท้องถิ่นและครูสอนศาสนาในโรงเรียนประจำของอิสลาม (เปอซันเตร็น)

ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซียค่อย ๆ แพร่กระจายผ่านกิจกรรมการค้าของพ่อค้ามุสลิมชาวอาหรับ การเข้ารีตของผู้นำท้องถิ่น และอิทธิพลของลัทธิศูฟีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13[10][11][12] ในช่วงสมัยอาณานิคมตอนปลาย มีการใช้ศาสนานี้เป็นป้ายชุมนุมต่อต้านลัทธิอาณานิคม[13] ปัจจุบันแม้ว่าอินโดนีเซียมีประชากรมุสลิมส่วนใหญ่จำนวนมาก แต่ประเทศนี้ไม่ใช่รัฐอิสลาม แต่เป็นรัฐฆราวาสตามรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลยอมรับศาสนาอย่างเป็นทางการ 6 ศาสนา[a]

ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย

  ซุนนี (98.8%)

หมายเหตุ[แก้]

  1. ศาสนาที่รัฐบาลให้การยอมรับอย่างเป็นทางการคือ: อิสลาม, โปรเตสแตนต์, โรมันคาทอลิก, ฮินดู, พุทธ และลัทธิขงจื๊อ[14] แม้ว่ารัฐบาลก็ยอมรับศาสนาชนพื้นเมืองอินโดนีเซียด้วยก็ตาม[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Al-Jallad, Ahmad (30 May 2011). "Polygenesis in the Arabic Dialects". Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics. BRILL. doi:10.1163/1570-6699_eall_EALL_SIM_000030. ISBN 9789004177024.
  2. [go.id/agamadanstatistik/umat "Penduduk Menurut Wilayah dan Agama yang Dianut"] [Population by Region and Religion]. Sensus Penduduk 2018. Jakarta, Indonesia: Badan Pusat Statistik. 15 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020. Religion is belief in Almighty God that must be possessed by every human being. Religion can be divided into Muslim, Christian (Protestant), Catholic, Hindu, Buddhist, Hu Khong Chu, and Other Religions. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help) Muslim 231,069,932 (86.7), Christian (Protestant)20,246,267 (7.6), Catholic 8,325,339 (3.12), Hindu 4,646,357 (1.74), Buddhist 2,062,150 (0.72), Confucianism 71,999 (0.03),Other Religions/no answer 112,792 (0.04), Total 266,534,836
  3. "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.[ลิงก์เสีย]
  4. "Penduduk Menurut Wilayah dan Agama yang Dianut" [Population by Region and Religion] (PDF). Sensus Penduduk 2018. Jakarta, Indonesia: Badan Pusat Statistik. 15 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 July 2021. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020. Religion is belief in Almighty God that must be possessed by every human being. Religion can be divided into Muslim, Christian (Protestant), Catholic, Hindu, Buddhist, Hu Khong Chu, and Other Religions. Muslim 231,069,932 (86.7), Christian (Protestant)20,246,267 (7.6), Catholic 8,325,339 (3.12), Hindu 4,646,357 (1.74), Buddhist 2,062,150 (0.72), Confucianism 71,999 (0.03),Other Religions/no answer 112,792 (0.04), Total 266,534,836
  5. Reza, Imam. "Shia Muslims Around the World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2009. approximately 400,000 persons who subscribe to the Ahmadiyya
  6. "International Religious Freedom Report 2008". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  7. "Sunni and Shia Muslims". 27 January 2011.
  8. Religious clash in Indonesia kills up to six, Straits Times, 6 February 2011
  9. "Chapter 1: Religious Affiliation". The World’s Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 August 2012. สืบค้นเมื่อ 6 September 2015.
  10. Rhoads Murphey (1992). A history of Asia. HarperCollins.
  11. Burhanudin, Jajat; Dijk, Kees van (31 January 2013). Islam in Indonesia: Contrasting Images and Interpretations. Amsterdam University Press. ISBN 9789089644237 – โดยทาง Google Books.
  12. Lamoureux, Florence (1 January 2003). Indonesia: A Global Studies Handbook. ABC-CLIO. ISBN 9781576079133 – โดยทาง Internet Archive.
  13. Martin, Richard C. (2004). Encyclopedia of Islam and the Muslim World Vol. 2 M-Z. Macmillan.
  14. Yang, Heriyanto (August 2005). "The History and Legal Position of Confucianism in Post Independence Indonesia" (PDF). Marburg Journal of Religion. 10 (1): 8. สืบค้นเมื่อ 2 October 2006.
  15. "Pemerintah Setuju Penghayat Kepercayaan Tertulis di Kolom Agama KTP". Detikcom. 8 May 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2017.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Ricklefs, M. C. (1991). A History of Modern Indonesia since c.1300, Second Edition. MacMillan. ISBN 0-333-57689-6.
  • Gade, Anna M. Perfection Makes Practice: Learning, Emotion, and the Recited Qur’ân in Indonesia. Honolulu: University of Hawaii Press, 2004.