ข้ามไปเนื้อหา

วันสิ่งแวดล้อมโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันสิ่งแวดล้อมโลก
ชื่อทางการวันสิ่งแวดล้อมโลกโดยสหประชาชาติ
ชื่ออื่นวันอีโค
วันสิ่งแวดล้อม
เวด
จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ
ประเภทสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญการรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
การถือปฏิบัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
วันที่5 มิถุนายน
ครั้งแรก5 มิถุนายน 1973 (51 ปีก่อน) (1973-06-05)
รูปวันสิ่งแวดล้อมโลกที่จัดขึ้นในประเทศอินเดีย

วันสิ่งแวดล้อมโลก (อังกฤษ: World Environment Day, WED) เป็นวันที่ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน ธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง และเป็นตัวแทนของวันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม[1][2]

วันสิ่งแวดล้อมโลกจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งกลายเป็นเวทีสำคัญในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น มลพิษทางทะเล จำนวนประชากรโลกที่มากเกินไป ภาวะโลกร้อน การพัฒนาอย่างยั่งยืน และอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า[3] วันสิ่งแวดล้อมโลกเป็นเวทีระดับโลกสำหรับการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม มีประเทศเข้าร่วมกว่า 143 ประเทศทุกปี รวมถึง อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย ออสเตรีย, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, อิสราเอล, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, โปแลนด์, แอฟริกาใต้, และสหรัฐอเมริกา โดยทุกปีจะมีการกำหนดธีมหลัก และเวทีให้ภาคธุรกิจ องค์กรนอกภาครัฐ ชุมชน นักการเมือง และดารา ได้ร่วมกันผลักดันกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม[4]


ความเป็นมา

[แก้]

วันสิ่งแวดล้อมโลก ถือกำเนิดขึ้นจาก การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on the Human Environment) ที่จัดขึ้นที่ สตอกโฮล์มว่าด้วยสภาพแวดล้อมของมนุษย์ จัดโดยสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน 1972) โดยรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1300 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ซึ่งจุดประสงค์ ของการประชุมในครั้งนั้นเพื่อมุ่งการหารือเกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยมีสาระสำคัญของการประชุมดังนี้

  • ก่อตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
  • เรื่องร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ
  • ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก

หนึ่งปีต่อมา เมื่อ ค.ศ. 1973 วันสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรกถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิด "เพราะโลกมีเพียงใบเดียว"[5]

นับตั้งแต่นั้นมา วันสิ่งแวดล้อมโลกกลายเป็นเวทีสำคัญระดับโลกในการ:

  • สร้างการรับรู้ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
  • รณรงค์ และเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ผลักดัน กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

เจ้าภาพ

[แก้]

รายชื่อเจ้าภาพในการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกมีดังต่อไปนี้:[6]

ปี ธีม เจ้าภาพ
1972 Stockholm Conference on Human Environment Stockholm,United Nations
1973 เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์[7]
1974 Only one Earth ในงาน Expo '74[8] Spokane, สหรัฐอเมริกา
1975 การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ธากา, บังคลาเทศ
1976 Water: Vital Resource for Life Ontario, แคนาดา
1977 Ozone Layer Environmental Concern; Lands Loss and Soil Degradation Sylhet, บังคลาเทศ
1978 Development Without Destruction Sylhet, บังคลาเทศ
1979 Only One Future for Our Children – Development Without Destruction Sylhet, บังคลาเทศ
1980 A New Challenge for the New Decade: Development Without Destruction Sylhet, บังคลาเทศ
1981 Ground Water; Toxic Chemicals in Human Food Chains Sylhet, บังคลาเทศ
1982 Ten Years After Stockholm (Renewal of Environmental Concerns) ธากา, บังคลาเทศ
1983 Managing and Disposing Hazardous Waste: Acid Rain and Energy Sylhet, บังคลาเทศ
1984 Desertification Rajshahi, บังคลาเทศ
1985 Youth: Population and the Environment Islamabad, ปากีสถาน
1986 A Tree for Peace Ontario, แคนาดา
1987 Environment and Shelter: More Than A Roof Nairobi, เคนย่า
1988 When People Put the Environment First, Development Will Last Bangkok, ไทย
1989 Global Warming; Global Warning Brussels, Belgium
1990 Children and the Environment Mexico City, เม็กซิโก
1991 Climate Change. Need for Global Partnership Stockholm, Sweden
1992 Only One Earth, Care and Share Rio de Janeiro, Brazil
1993 Poverty and the Environment – Breaking the Vicious Circle ปักกิ่ง, จีน
1994 One Earth One Family London, United Kingdom
1995 We the Peoples: United for the Global Environment Pretoria, South Africa
1996 Our Earth, Our Habitat, Our Home Istanbul, Turkey
1997 For Life on Earth Seoul, Republic of Korea
1998 For Life on Earth – Save Our Seas Moscow, Russian Federation
1999 Our Earth – Our Future – Just Save It! Tokyo, ญี่ปุ่น
2000 The Environment Millennium – Time to Act Adelaide, ออสเตรเลีย
2001 Connect with the World Wide Web of Life Torino, Italy and Havana, Cuba
2002 Give Earth a Chance Shenzhen, จีน
2003 Water – Two Billion People are Dying for It! Beirut, Lebanon
2004 Wanted! Seas and Oceans – Dead or Alive? Barcelona, Spain
2005 Green Cities – Plant for the Planet! San Francisco, United States
2006 Deserts and Desertification – Don't Desert Drylands! Algiers, Algeria
2007 Melting Ice – a Hot Topic? London, England
2008 Kick The Habit – Towards A Low Carbon Economy Wellington, New Zealand
2009 Your Planet Needs You – Unite to Combat Climate Change Mexico City, เม็กซิโก
2010 Many Species. One Planet. One Future Rangpur, บังคลาเทศ
2011 Forests: Nature at your Service Delhi, อินเดีย
2012 Green Economy: Does it include you? Brasilia, Brazil
2013 Think.Eat.Save. Reduce Your Foodprint Ulaanbaatar, Mongolia
2014 Raise your voice, not the sea level Bridgetown, Barbados
2015 Seven Billion Dreams. One Planet. Consume with Care. Rome, Italy
2016 Zero Tolerance for the Illegal Wildlife trade Luanda, Angola
2017 Connecting People to Nature – in the city and on the land, from the poles to the equator Ottawa, แคนาดา
2018 Beat Plastic Pollution[9] New Delhi, อินเดีย
2019 Beat Air Pollution[10] People's Republic of China
2020 Time for Nature[11][12] Colombia
2021 Ecosystem restoration[13] Pakistan
2022 Only One Earth Sweden
2023 Solutions to Plastic Pollution Côte d'Ivoire
2024 Land restoration, desertification and drought resilience[14] Riyadh, Saudi Arabia
2025 Ending plastic pollution[15] Republic of Korea
2026 tbd Azerbaijan[16]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Global actions on World Environment Day underscore urgent need to protect the planet". United Nations. 5 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2022.
  2. "World Environment Day 2021". America's Charities. 28 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2022.
  3. Kenyatta, Jomo; Waldheim, Kurt; Strong, Maurice F.; Palme, Olof (5 มิถุนายน 1973). "Telephone Conference for World Environment Day - Part 1". United Nations UN Audiovisual Library (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2022.
  4. "World Environment Day". United Nations (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2020.
  5. Hill, Gladwin (4 มิถุนายน 1973). "Environment Day to Mark First Year of World Effort". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2022.
  6. "World Environment Day: driving five decades of environmental action" เก็บถาวร 8 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, worldenvironmentday.global, no date; has most theme, some host country and a few host city identifications. Retrieved 17 August 2019.
  7. Hill, Gladwin (4 มิถุนายน 1973). "Environment Day to Mark First Year of World Effort (Published 1973)". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2022.
  8. "Proclamation 4296—World Environment Day, 1974 | The American Presidency Project". www.presidency.ucsb.edu. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2022.
  9. Nelliyat, Prakash (21 มิถุนายน 2018). "Beating plastic pollution". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2020.
  10. "World Environment Day: Beat air pollution". World Meteorological Organization (ภาษาอังกฤษ). 5 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2020.
  11. Environment, U. N. "World Environment Day". World Environment Day (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2020.[ลิงก์เสีย]
  12. "World Environment Day 2020: Theme, History, Quotes, Celebration". S A NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 มิถุนายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2020.
  13. "World Environment Day 2021: Press Release". UNEP NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2021.
  14. "World Environment Day 2024: accelerating land restoration, drought resilience & desertification progress". UN Environment Programme (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. "Republic of Korea to host World Environment Day 2025 with a focus on ending plastic pollution". UN Environment Programme. 21 กันยายน 2023.
  16. "Republic of Azerbaijan to host World Environment Day 2026". UN Environment (ภาษาอังกฤษ). 27 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]