วัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)
หน้าตา
วัดบุปผาราม | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดบุปผาราม, วัดปลายคลอง |
ที่ตั้ง | ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูสุวรรณสารวิบูล |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบุปผาราม เดิมชื่อ วัดปลายคลอง ตั้งอยู่ เนินหย่อง หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด[1] สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยพระครูสารพิสุทธ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 5[2] ในปัจจุบัน มีพระครูสุวรรณสารวิบูล เป็นเจ้าอาวาส
ปีที่สำคัญ
[แก้]- พ.ศ. 2175 วัดบุปผาราม หลวงเมือง เป็นผู้สร้างขึ้นในรัชกาล พระเจ้าปราสาททอง สมัยอยุธยา
- พ.ศ. 2225 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเกือบทั้งหมด เช่น ภาพจิตรกรรมในอุโบสถ วิหารพระพุทธไสยาสน์ และมณฑป มีศิลปะจีน
- พ.ศ. 2435 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด เช่น สร้างศาลาการเปรียญ พระบุทองและเงิน และพระพุทธรูปทรงเครื่อง
- พ.ศ. 2439 สร้างพระพุทธรูปปางทุกรกริยา
- พ.ศ. 2448 สมัยรัชกาลที่ 6 สร้างพระยอดธง ทำด้วยทองคำ
- พ.ศ. 2459 วัดบุปผารามได้พระบรมสารีริกธาตุ จาก กรุศิลา วัดร้างทางภาคเหนือ
- พ.ศ. 2458 สร้างโรงธรรม เรียกกันว่า ศาลาโถง
- พ.ศ. 2510-2520 กรุพระที่บรรจุไว้ในเศียรของพระพุทธรูปปางไสยาสน์แตกได้พบพระยอดธงทองคำ
- พ.ศ. 2521 การบูรณะอุโบสถ วิหาร ตลอดจนตกแต่งภูมิทัศน์ และเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ
- พ. ศ. 2524 การบูรณะวิหารฝากระดาน อยู่ใกล้กำแพงแก้วด้านเหนือ เดิมเคยใช้เป็นอุโบสถ เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งปูนและมีความเก่าแก่ที่สุด
- พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2542 บูรณะพระอุโบสถ
- พ.ศ. 2530 สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกเสด็จเยี่ยมวัดบุปผาราม
- พ.ศ. 2533 สร้างหอระฆัง
- พ.ศ. 2535 จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม
- พ.ศ. 2548 จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
[แก้]- วัฒนธรรม- ในวัดมีหมู่อุโบสถ วิหาร และเจดีย์ ฝีมือช่างท้องถิ่น เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- กลุ่มศาสนสถานในเขตพุทธาวาส
- โบสถ์ ตั้งอยู่ติดกำแพงด้านใต้ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีมุขด้านหน้า หลังคามุง กระเบื้องเคลือบช้อนสามชั้น มีช่อฟ้าใบระกา
- จิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาพพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม
- วิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นวิหารก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบด้วยเจดีย์เล็ก ฝาผนังมีภาพเขียนลายดอกไม้และสัตว์ต่างๆ เช่น มังกรคู่ นก กวาง ฯลฯ มีตัวอักษรจีน ลายนกและลายดอกไม้ ลายดอกพุดตาน
- วิหารฝากระดาน
- มณฑปสามหลัง
- มณฑปหลังที่ 1 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทหล่อปูนปิดทองซ้อนกันสี่รอย
- มณฑปหลังที่ 2 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อปูนปิดทอง
- มณฑปหลังที่ 3 สร้างซ้อนทับบนฐานรากของเจดีย์ทรงปรางค์ที่พังทลาย
- พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่ในสถูปแก้วสูงประมาณ 3 คืบ ตั้งอยู่ในตู้กระจกด้านหน้า
- พระพุทธรูปทรงเครื่อง
- พระพุทธรูปบุทองและบุเงิน
- พระพุทธรูปขนาดเล็กเรียกว่า พระยอดธง ทำด้วยทองคำ
- พระพุทธรูปครองจีวรลายดอก สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 - 7
- พระศรีอาริยเมตไตรย์
- เครื่องถ้วยลายคราม
- หอสวดมนต์
- หมู่กุฏิทรงไทย เรียกว่ากุฏิราย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://mgronline.com/travel/detail/9580000060789
- ↑ "ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 19" (PDF). กรมศิลปากร. p. 135.