ละโคนโขล
ละโคนโขลวัดสวายอัณแดต * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | กัมพูชา |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล |
เกณฑ์พิจารณา | U.1, U.2, U.3, U.4, U.5 |
อ้างอิง | 1374 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2561 (คณะกรรมการสมัยที่ 13) |
รายการ | มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ละโคนโขล (เขมร: ល្ខោនខោល) เป็นนาฏกรรมสวมหน้ากากอย่างหนึ่งในประเทศกัมพูชา มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโขนของประเทศไทย เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดไป ปัจจุบันมีละโคนโขลในกัมพูชาสองรูปแบบได้แก่ ละโคนโขลวัดสวายอัณแดต และละโคนโขลคณะระบำหลวงกัมพูชา[1][2] แต่เดิมจะใช้ผู้หญิงในการแสดง ต่างจากโขนของไทยที่จะใช้ผู้ชายแสดง[3]
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทยได้ประกาศขอขึ้นบัญชีโขนเป็นมรดกโลก ทำให้ประชาชนในประเทศกัมพูชาไม่พอใจ และพากันแสดงความคิดเห็นว่าโขนเป็นวัฒนธรรมของคนกัมพูชาเท่านั้น[4][5][6] พอล เชมเบอร์ (Paul Chamber) จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าเป็นการปลุกกระแสชาตินิยมกัมพูชามากกว่าจะการโต้เถียงเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรม[7]
ยูเนสโกได้พิจารณาขึ้นทะเบียน เฉพาะ ละโคนโขลคณะวัดสวายอัณแดต (ល្ខោនខោល វត្តស្វាយអណ្ដែត) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[8][9] และกัมพูชาได้เขียนคำร้องแก่ยูเนสโกว่า "ขอแลกเปลี่ยนครูโขนจากประเทศเพื่อนบ้านไปช่วย รวมถึงบทละครที่กัมพูชายังไม่ครบสมบูรณ์"[10]
ประวัติ
[แก้]ยุคต้น
[แก้]สุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์ชาวไทยให้ข้อมูลว่ามีการแสดงเรื่องรามายณะครั้งแรกในราชสำนักขอมแถบโตนเลสาบ ก่อนแพร่หลายมายังราชสำนักละโว้-อโยธยาและตกทอดสู่อาณาจักรอยุธยา โดยได้ปรับปรุงให้ต้องกับรสนิยมของตน[1][11] อย่างเช่นเครื่องแต่งกายที่รับจากอินเดียและเปอร์เซียเป็นอาทิ[1][6] ส่วนศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักโบราณคดีชาวไทย ยกตัวอย่างตัวละครจากรามายณะตัวหนึ่งคือราวณะ ซึ่งมีสิบหน้าขยายออกมาด้านข้าง แต่หัวโขนทศกัณฑ์ของไทยมีสิบหน้าต่อขึ้นไปด้านบนซึ่งเป็นอิทธิพลจากกัมพูชา ตามหลักฐานที่พบตามปราสาทหินของขอมต่าง ๆ[11] แต่กระนั้นก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าภาพแกะสลักดังกล่าวเป็นภาพการแสดงละโคนโขล[12] สุจิตต์อธิบายเพิ่มเติมว่าทั้งโขนและละโคนโขลใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์เป็นของพื้นเมืองของอุษาคเนย์อยู่แล้ว ส่วนกาพย์เป็นแบบแผนของเขมร และบทเจรจาเป็นร้อยกรองดั้งเดิมของไทยและลาว[6]
สัน พัลลา และชาย ดาวิน นักวิชาการของกระทรวงวิจิตรศิลป์และวัฒนธรรมกัมพูชา ระบุว่าละโคนโขลพัฒนาจากละครภาณีซึ่งเป็นการขับเรื่องมีแต่ยุคพระนครและแพร่หลายไปทั่ว[13]
อย่างไรก็ตามฮิเดโอะ ซาซางาวะ จากสถาบันวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยโซเฟีย ให้ข้อมูลว่าหากไทยรับโขนไปตั้งแต่ยุคนครวัดจริง ก็คงถูกปรับปรุงให้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไปแล้ว ครั้นกัมพูชาตกอยู่ภายใต้อำนาจของสยาม สยามก็เอานาฏศิลป์ของตนเข้าไปเผยแพร่ และยุคที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส ในราชสำนักเขมรเองก็ยอมรับว่ามีนาฏศิลป์ไทยเป็นต้นแบบ[14][15] และปฐมพงษ์ สุขเล็ก อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ให้ข้อมูลว่า "...กษัตริย์เขมรได้เห็นการแสดงโขนไทย แล้วอาจหยิบเอาการแสดงโขนของไทยบางส่วน ไปปรับประยุกต์ฟื้นฟูโขนเขมรที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยโขนของเขมร มีชื่อเรียกว่า ละโคนโขน อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยในช่วงนี้ มีแนวโน้มว่า ได้แพร่ขยายไปสู่เขมรค่อนข้างมาก"[16] จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่ากัมพูชานั้นรับโขนจากไทยยุคต้นรัตนโกสินทร์และนำไปเผยแพร่ในชั้นหลัง[17]
รองศาสตราจารย์ ศานติ ภักดีคำ อาจารย์ภาษาเขมร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าบทพากย์เรียมเกร์ของเขมรซึ่งต้องใช้ประกอบในการแสดงละโคนโขลนั้นมีอายุน้อยกว่ารามเกียรติ์ฉบับภาษาไทย น่าจะได้ไปจากบทพากย์สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอย่างแน่นอน เพราะสำนวนมีความคล้ายกันอย่างมาก[15]
ยุคหลัง
[แก้]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีได้ครูละครจากกรุงเทพฯ ไปเป็นละครนอก[18] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคณะละครผู้หญิงชาวสยามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปเมืองเขมรช่วงที่รบกับญวน และได้กลายเป็นครูละครหญิงของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี[18]
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารทรงหานางละครสยามจากกรุงเทพฯ ไปชุบเลี้ยง โดยมากได้นางละครจากเจ้านายวังหน้าไปเป็นครูละครในเมืองเขมรหลายคน[19] การแสดงในช่วงนั้นนิยมแสดงเป็นภาษาไทยเพียงอย่างเดียว[18] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ทรงนำคณะละครนอกและละครในมาเล่นประสมโรง และเล่นเป็นภาษาไทยและเขมร[18] ต่อมาพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนามีความพยายามสร้างอัตลักษณ์ทางนาฏศิลป์เขมร เพื่อปลดเปลื้องอิทธิพลนาฏศิลป์ไทยออก[20]
นอกจากละโคนโขลในราชสำนัก ก็ยังมีโขนเชลยศักดิ์ชายล้วนจากราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ที่ปฏิบัติตามขนบอย่างกรุงเทพฯ ได้ออกมาเล่นนอกพระราชวังเพราะสิ้นความนิยม แต่จากภัยสงครามทำให้ครูละครล้มหายตายจากไปสิ้น หลงเหลือคณะละโคนโขลเพียงคณะเดียวคือที่วัดสวายอัณแดต ทว่าเครื่องแต่งกาย และหัวโขนทำจากวัสดุพื้นเมือง[13] มีครูละครโขนเพียง 5–10 คนที่ล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุ[15] นิยมเล่นเพียงตอนกุมภกรรณทดน้ำ ด้วยสภาพไม่พร้อมเช่นนี้ จึงถูกเปรียบเทียบกับการแสดงของไทยว่าไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง หรือการแต่งกายไม่ได้ส่วนสัด เป็นต้น[21] บทละครถ่ายทอดมาจากการจดจำของผกา ซอย นักพากย์ละโคนโขล ซึ่งถูกเรียบเรียงเป็น "บทพากย์เรียมเกร์โดยตาซอย" จำนวน 291 หน้า[22]
ปัจจุบันละโคนโขลวัดสวายอัณแดตมีการจัดการแสดงเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งแสดงต่อเนื่องกันเจ็ดวัน แต่ปัจจุบันจัดเพียงสามวันเท่านั้น แสดงด้วยนักแสดงชายล้วน มีการสวมหัวโขน บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม พร้อมขับคำร้องตามทำนอง เพื่อสร้างความพอใจแก่เนียกทา เทพารักษ์ประจำชุมชนพอใจ และบันดาลฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล[13] ใน พ.ศ. 2562 มีชาวเขมรให้ความสนใจและพยายามอนุรักษ์ละโคนโขลด้วยการส่งลูกหลานไปหัดโขนวัดสวายอัณแดตราว 20 คน[23]
ปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาพยายามพัฒนาละโคนโขลตั้งแต่ท่ารำ หัวโขน เครื่องแต่งกายอย่างอลังการ และเทคโนโลยีที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มความวิจิตร จนมีลักษณะละม้ายคล้ายกับโขนรามเกียรติ์ของประเทศไทยมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งอาจทำให้อัตลักษณ์ละโคนโขลพื้นบ้านของคณะวัดสวายอัณแดตสาบสูญไป[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "โขนไทย-กัมพูชา ต่างกันตรงไหน". The Bangkok Insight. 30 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ให้กระจ่าง ! ความแตกต่างระหว่าง โขนไทย & ลโคนโขลกัมพูชา". ที่นี่ดอตคอม. 30 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ศิลปินแห่งชาติ ชี้ความต่าง "โขน" ไทย-กัมพูชา ยันขึ้นบัญชีมรดกโลกได้ทั้ง 2 ประเทศ". สนุกดอตคอม. 1 กันยายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-02. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เฟซบุ๊กยูเนสโกเดือด กัมพูชาท้วง 'โขน' ไม่ใช่ของไทย". วอยซ์ทีวี. 1 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""โขน" วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ยูเนสโกตัดสิน วิน-วิน ทั้งไทยและกัมพูชา". มติชนออนไลน์. 30 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 อดิเทพ พันธ์ทอง (7 มิถุนายน 2559). ""โขนไทย" มาจาก "เขมร" ?". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อพิพาทครั้งใหม่ "ไทย-กัมพูชา" ผ่านวัฒนธรรม 'โขน' มรดกร่วมทางประวัติศาสตร์". วีโอเอไทย. 8 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สื่อเขมรตีข่าว 'ยูเนสโก' ขึ้นทะเบียน 'ละคอนโขนกัมพูชา' เป็น 'มรดกโลก'". มติชนออนไลน์. 29 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผอ.สถาบันไทยคดีฯ แจง หลังยูเนสโก ขึ้นทะเบียน "โขนกัมพูชา" เป็นมรดกโลก!". ข่าวสด. 29 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ยูเนสโกรับรอง 'ละครโขน' ของกัมพูชาขึ้นเป็นมรดกโลก ลุ้น 'โขน' ไทยอยู่ระหว่างรอการพิจารณา". เรื่องเล่าเช้านี้. 29 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 11.0 11.1 "ชาวเน็ตกัมพูชาแห่แชร์ 'โขนเป็นของกัมพูชา ไม่ใช่ไทย'". วอยซ์ทีวี. 6 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย". โพสต์ทูเดย์. 31 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 13.2 "ต่างประเทศอินโดจีน : ละคอนโขน". มติชนสุดสัปดาห์. 14 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""โขนไทย - โขลกัมพูชา" ความต่างในมรดกโลก". โพสต์ทูเดย์. 30 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 15.0 15.1 15.2 "ชำแหละที่มา "โขนเขมร" มาจาก "ราชสำนักไทย"". โพสต์ทูเดย์. 3 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจาะดราม่าชนิดไร้ลำเอียง 'โขน' ไทย-เขมร สรุปของใคร?". ไทยรัฐออนไลน์. 9 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (3 กันยายน 2561). "โขนเป็นของใคร ไทยหรือเขมร หรือควรจะเลิกเถียงกันได้แล้ว". The Standard. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 เอนก นาวิกมูล. นักเดินทางชาวสยาม. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2562, หน้า 85-91
- ↑ "เสวนาเรื่อง โขน : รามายณะ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมในอาเซียน". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. 9 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "อัตลักษณ์ 'อัปสรา' ในนาฏศิลป์เขมร". มติชนสุดสัปดาห์. 26 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชัยวัฒน์ เสาทอง (12 พฤศจิกายน 2562). ""แม่เมือน" นางละครไทยคนสุดท้ายในราชสำนักกัมพูชา และโลกนาฏศิลป์หลังเขมรแดง". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อภิญญา ตะวันออก (14 ธันวาคม 2565). "จากสวายอันแดตถึง พิเชษฐ กลั่นชื่น ว่าด้วย 'รามเกียรติ์-เรียมเกร์'". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชาวเขมรส่งลูกหลานเรียนรำละครโขนฟื้นฟูศิลปะชาติหลังเกือบสูญหายในยุคเขมรแดง". ผู้จัดการออนไลน์. 4 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อภิญญา ตะวันออก (22 ธันวาคม 2565). "จากสวายอันแดตถึง พิเชษฐ กลั่นชื่น ว่าด้วย 'รามเกียรติ์-เรียมเกร์' : ไทย-เขมรศึกษา (2)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฮิเดโอะ ซาซางาวะ (6 ธันวาคม 2554). "วาทกรรมยุคหลังอาณานิคมว่าด้วยนาฎศิลป์ราชสำนักกัมพูชา". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ฮิเดโอะ ซาซางาวะ (19 มิถุนายน 2555). "วาทกรรมยุคหลังอาณานิคมว่าด้วยนาฎศิลป์ราชสำนักกัมพูชา". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)