ข้ามไปเนื้อหา

รัฐฉู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉู่


*S-r̥aʔ
ประมาณ  1030 ปีก่อน ค.ศ. – 223 ปีก่อน ค.ศ.
  ฉู่ (楚)
ป. 350 ปีก่อน ค.ศ.
สถานะ
  • ไวเคานต์ (ก่อน 704 ปีก่อน ค.ศ.)
  • ราชอาณาจักร (704–223 ปีก่อน ค.ศ.)
เมืองหลวง
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์โจว
• ก่อตั้งโดยXiong Yi
ประมาณ  1030 ปีก่อน ค.ศ. 
• Xiong Tong ประกาศตนเองเป็นกษัตริย์
706 หรือ 703 ไวเคานต์
• ถูกรัฐฉินพิชิต
 223 ปีก่อน ค.ศ.
สกุลเงินเหรียญกษาปณ์จีนโบราณ
ถัดไป
ราชวงศ์ฮั่น
รัฐฉู่
"ฉู่" ในอักษรจีนแบบตราประทับ (บน) และแบบทั่วไป (ล่าง)
ภาษาจีน

รัฐฉู่ (จีน: ; พินอิน: Chǔ, จีนเก่า: *s-r̥aʔ[2]) เป็นรัฐบริวารของจีนสมัยราชวงศ์โจว ตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ของใจกลางดินแดนของราชวงศ์โจว และดำรงอยู่ในช่วงยุควสันตสารท ในช่วงปลายยุครณรัฐ รัฐนี้ถูกรัฐฉินพิชิตเมื่อ 223 ปีก่อนคริสต์ศักราชในช่วงสงครามรวมชาติของฉิน

รัฐฉู่มีอีกชื่อว่า จิง () และ จิงฉู่ (荆楚) ซึ่งกินพื้นที่ในปัจจุบันในมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานส่วนใหญ่ กับบางส่วนของฉงชิ่ง, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย, มณฑลเจียงซี, มณฑลเจียงซู, มณฑลเจ้อเจียง และเซี่ยงไฮ้ ตานหยาง เมืองหลวงของรัฐฉู่ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำตานและแม่น้ำซีเป็นเวลามากกว่า 400 ปี[3][4] ปัจจุบันอยู่ใกล้กับเทศมณฑลซีชวาน มณฑลเหอหนาน แต่ภายหลังย้ายไปที่หยิ่ง เดิมราชวงศ์ฉู่ถือชื่อตระกูล ไหน่ ( จีนเก่า: /*rneːlʔ/) ซึ่งภายหลังเขียนเป็นหมี่ ( จีนเก่า: /*meʔ/) นอกจากนี้ ราชวงศ์ฉู่ยังถือแซ่ หย่าน ( จีนเก่า: /*qlamʔ/, /*qʰɯːm/) ซึ่งภายหลังเขียนเป็นXiong ( จีนเก่า: /*ɢʷlɯm/).[5][6]

รัฐฉู่ทรงอำนาจและอิทธิพลอย่างมากทั้งทางด้านการทหารและการปกครอง ในช่วงปลายราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งของอดีตรัฐฉู่นามว่า เซี่ยงอวี่ ได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตกและสามารถโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จ ขณะเดียวกันมีชาวนาซึ่งมาจากอดีตรัฐฉู่เช่นกันนามว่า หลิวปัง ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และต่อสู้กับเซี่ยงอวี่ หรือฌ้อปาอ๋อง นานถึง 4 ปีก็ได้ชัยชนะเหนือเซี่ยงอวี่อย่างเด็ดขาด และตั้งตนเองเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พระนามว่าจักรพรรดิฮั่นเกาจู่

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากรัฐฉู่

[แก้]
  • เซี่ยงอวี่ เชื้อพระวงศ์รัฐฉู่ซึ่งตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตก
  • เซวี่ยนไทเฮา หรือ หมี่เยี่ย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "楚都丹阳". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07.
  2. Baxter & Sagart (2014), p. 332.
  3. "河南库区发掘工作圆满结束,出土文物已通过验收". 合肥晚报. 2011-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11.
  4. "科大考古队觅宝千余件". 凤凰网. 2011-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-30. สืบค้นเมื่อ 2011-02-17.
  5. Theobald, Ulrich. (2018) "The Regional State of Chu 楚" in ChinaKnowledge.de - An Encyclopaedia on Chinese History, Literature and Art
  6. Zhang, Zhengming. (2019) A History Of Chu (Volume 1) Honolulu: Enrich Professional Publishing. p. 46-47
  • Sima, Qian. Records of the Grand Historian (史記).
  • Zuo Qiuming, Zuo Zhuan (左传)
  • 张淑一《先秦姓氏制度考察》 (ในภาษาจีน)
  • Defining Chu: Image And Reality In Ancient China, Edited by Constance A. Cook and John S. Major, ISBN 0-8248-2905-0
  • So, Jenny F., Music in the Age of Confucius, ISBN 0-295-97953-4

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]