มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
ชื่อย่อ | RMUTL |
---|---|
สถาปนา | 23 กันยายน พ.ศ. 2496 |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | plc.rmutl.ac.th |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก เป็นเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อเสียงในการจัดการศึกษาด้านการเกษตรกรรม หรือที่รู้จักกันในนาม "เกษตรบ้านกร่าง"[1] ปัจจุบันมีนักศึกษาในสังกัดจำนวน 798 คน[2]
ประวัติ
[แก้]วิทยาเขตพิษณุโลก เดิมชื่อว่า "โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก" ตั้งอยู่เลขที่ 52 หมู่ 7 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ทั้งหมด 572 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2496 และต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้เปิดรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 เข้าศึกษาต่อหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น เป็นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี ในปี พ.ศ. 2507 ได้ขยายจากมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น เป็นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายเกษตรกรรม (3 ปี) และในปี พ.ศ. 2518 จึงได้ย้ายมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็น วิทยาเขตเกษตรพิษณุโลก[3] และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงได้เปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรก[4] กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้ปรับเปลี่ยนสถานะดังเช่นปัจจุบัน
คณะที่เปิดสอน
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก เปิดทำการเรียนการสอนใน 3 คณะ ได้แก่
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
- สาขาวิชาการจัดการ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ค.อ.บ.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ค.อ.บ.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ค.อ.บ.)
หน่วยงานของนักศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[5] ได้แก่
- หน่วยดำเนินกิจกรรม
- สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
- หน่วยตรวจสอบ
- สภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- รองศาสตราจารย์ ธรรมนูญ ฤทธิมณี อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล / นักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- ประศาสตร์ ทองปากน้ำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย (ศิษย์เก่า)
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย มัจฉาชีพ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ (อดีตผู้อำนวยการวิทยาเขต)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ตามรอยนักร้อง “ศรีสุวรรณ” ศิษย์เก่าเกษตรบ้านกร่าง ชอบช่วยเหลือสังคมตามรอยพ่อ แต่พักหลังชักเยอะการเมือง
- ↑ สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาและจัดตั้งเป็นวิทยาเขต (จำนวน 28 แห่ง)
- ↑ รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2552
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.