ข้ามไปเนื้อหา

ภาษายิวเยเมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษายิวเยเมน (Yemenite Hebrew;ฮีบรู: עברית תימנית;ยิดดิช: יעמעניטע עבֿרית)หรือภาษาฮีบรูเตมานี (ยิดดิช: טעמאַני עבֿרית) เป็นระบบการออกเสียงของภาษาฮีบรูในไบเบิลและวรรณคดีที่ใช้โดยชาวยิวในเยเมน ชาวยิวเยเมนนำภาษานี้เข้ามาสู่อิสราเอลโดยการอพยพ ซึ่งการอพยพครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425 นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับแบบเยเมนมาก แต่บางคนเช่น Yosef Gafih ไม่เห็นด้วย ในบรรดาภาษาฮีบรูทุกสำเนียงที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษายิวเยเมนเป็นภาษาที่ยังคงลักษณะของภาษาฮีบรูโบราณไว้ได้มากที่สุด โดยออกเสียงของพยัญชนะทุกตัวแยกออกจากกันได้หมด ยกเว้น ס sāmeḵ and ש śîn ที่ออกเสียงเป็น /s/เหมือนกัน[1]

ภาษายิวเยเมนได้รับอิทธิพลหรือสืบทอดมาจากภาษาฮีบรูในบาบิโลเนีย เอกสารเก่าสุดของภาษานี้แสดงระบบเครื่องหมายสระของภาษาฮีบรูในบาบิโลเนียมากกว่าภาษาฮีบรูติเบอเรีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. S. Morag, 'Pronunciations of Hebrew', Encyclopaedia Judaica XIII, 1120-1145
  • Sáenz-Badillos, Angel (1996). A History of the Hebrew Language. trans. John Elwolde. Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 0-521-55634-1.
  • S. Morag, 'Pronunciations of Hebrew', Encyclopaedia Judaica XIII, 1120–1145
  • Morag, Shelomo (1963). Ha-Ivrit she-be-fi Yehude Teman (Hebrew as pronounced by Yemenite Jews). Jerusalem: Academy of the Hebrew Language.
  • Yeivin, I., The Hebrew Language Tradition as Reflected in the Babylonian Vocalization: Jerusalem 1985 (Hebrew)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]