ภาษามันดาอิก
ภาษามันดาอิก | |
---|---|
ࡋࡉࡔࡀࡍࡀ ࡃ ࡌࡀࡍࡃࡀࡉࡉ Lishāna’d Mandāyì | |
ประเทศที่มีการพูด | อิรักและอิหร่าน |
ภูมิภาค | อิรัก – แบกแดด, บัสรา อิหร่าน – ฆูเซสถาน |
ชาติพันธุ์ | ชาวมันดาอี |
จำนวนผู้พูด | 5,500 (2001–2006)[1] |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | อักษรมันดาอิก |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:mid – ภาษามันดาอิกmyz – ภาษามันดาอิกคลาสสิก |
นักภาษาศาสตร์ | mid ภาษามันดาอิกใหม่ |
myz ภาษามันดาอิกคลาสสิก | |
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลก (2010) ของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในสถานะใกล้สูญขั้นวิกฤต[2] |
ภาษามันดาอิก หรือเฉพาะเจาะจงคือ ภาษามันดาอิกคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนามันดาอี ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิก และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านอื่น ๆ ทั้งในด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ ภาษามันดาอิกคลาสสิก จัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกที่ใช้พูดในบาบิโลเนียและภาษาในเมโสโปเตเมียอื่น ๆ มีความใกล้เคียงกับภาษาซีเรียค ที่เป็นภาษาของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง
ภาษามันดาอิกใหม่
[แก้]ภาษามันดาอิกใหม่พัฒนามาจากภาษามันดาอิก ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาแอราเมอิก ภาษาแอราเมอิกเคยใช้เป็นภาษากลางในยุคอัสซีเรียและอะคีเมนิด และเป็นภาษาสำหรับการติดต่อระหว่างชาติ หลังจากนั้น ภาษาแอราเมอิกพัฒนาออกไปเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มตะวันตกได้แก่ภาษาทัลมูดิกในปาเลสไตน์ ภาษาปาเลสไตน์ของชาวคริสต์ และภาษาซามาริทัน กับกลุ่มตะวันออก ได้แก่ ภาษาบาบิโลเนียยุคสุดท้าย ภาษาซีเรียคและภาษามันดาอิก
ภาษาที่ยังเหลืออยู่ของภาษาแอราเมอิกกลุ่มตะวันออกได้แก่ ภาษาแอราเมอิกใหม่กลาง (ภาษาตูโรโยและภาษามลาโซ) ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือ (เป็นกลุ่มใหญ่สุด ซึ่งรวมทั้งภาษาแอราเมอิกใหม่ในหมู่ชาวยิวและภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย) และภาษามันดาอิกใหม่ ส่วนภาษาที่เหลือรอดของกลุ่มตะวันตกมีภาษาเดียวคือภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกที่ใช้พูดในบางหมู่บ้านในดามัสกัส ในบรรดาภาษาที่เหลือรอดเหล่านี้ ภาษามันดาอิกใหม่จัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาแอราเมอิกโดยตรง ในทางไวยากรณ์ ภาษามันดาอิกใหม่มีลักษณะอนุรักษนิยมเมื่อเทียบกับภาษาอราเมอิใหม่กลุ่มตะวันออกอื่น ๆ โดยยังคงใช้การเชื่อมต่อปัจจัยแบบภาษาเซมิติกยุคเก่า
ภาษามันดาอิกใหม่เหลืออยู่สามสำเนียง ใช้พูดในเมืองซุซตาร์ ชาห์ วาลติ และเดซฟูล ในฆูเซสถานตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศอิหร่าน ชุมชนชาวมันดาอีในเมืองเหล่านี้อพยพออกในช่วง พ.ศ. 2523 และเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอะห์วาซและโคร์รัมชาห์ ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามอิรัก-อิหร่าน
ตัวอย่างข้อความ
[แก้]ข้อความข้างล่างนำมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษามันดาอิก[3]
มันดาอิก: ".ࡊࡅࡋ ࡀࡍࡀࡔࡀ ࡌࡀࡅࡃࡀࡋࡇ ࡀࡎࡐࡀࡎࡉࡅࡕࡀ ࡅࡁࡊࡅࡔࡈࡂࡉࡀࡕࡀ ࡊࡅࡉ ࡄࡃࡀࡃࡉࡀ. ࡄࡀࡁ ࡌࡅࡄࡀ ࡅࡕࡉࡓࡀࡕࡀ ࡏࡃࡋࡀ ࡏࡉࡕ ࡓࡄࡅࡌ ࡅࡆࡁࡓ ࡁࡄࡃࡀࡃࡉࡀ"
ปริวรรต: "kul ānāʃā māudālẖ āspāsiutā ubkuʃᵵgiātā kui hdādiā. hāb muhā utirātā ʿdlā ʿit rhum uzbr bhdādiā."
แปลไทย: "มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษามันดาอิก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ภาษามันดาอิกคลาสสิก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก) - ↑ "Atlas of the world's languages in danger". unesdoc.unesco.org. p. 42. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
- ↑ "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights – Mandaic". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.
วรรณกรรม
[แก้]- Theodor Nöldeke. 1862. "Ueber die Mundart der Mandäer," Abhandlungen der Historisch-Philologischen Classe der königlichen Gesellschaft der Wissenschaften zu Göttingen 10: 81–160.
- Theodor Nöldeke. 1964. Mandäische Grammatik, Halle: Waisenhaus; reprint Darmstadt: Wissenschaftliche Buchgesellschaft with Appendix of annotated handnotes from the hand edition of Theodor Nöldeke by Anton Schall.
- Svend Aage Pallis. 1933. Essay on Mandaean Bibliography. London: Humphrey Milford.
- Franz Rosenthal. 1939. "Das Mandäische," in Die aramaistische Forschung seit Th. Nöldeke’s Veröffentlichungen. Leiden: Brill, pp. 224–254.
- Ethel S. Drower and Rudolf Macuch. 1963. A Mandaic Dictionary. Oxford: Clarendon Press.
- Rudolf Macuch. 1965. Handbook of Classical and Modern Mandaic. Berlin: De Gruyter.
- Rudolf Macuch. 1989. Neumandäische Chrestomathie. Wiesbaden: Harrasowitz.
- Macuch, Rudolf (1993). Neumandäische Texte im Dialekt von Ahwaz. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3447033827.
- Joseph L. Malone. 1997. Modern and Classical Mandaic Phonology, in Phonologies of Asia and Africa, edited by Alan S. Kaye. Winona Lake: Eisenbrauns.
- Rainer M. Voigt. 2007."Mandaic," in Morphologies of Asia and Africa, in Phonologies of Asia and Africa, edited by Alan S. Kaye. Winona Lake: Eisenbrauns.
- Kim, Ronald (2008). "Stammbaum or Continuum? The Subgrouping of Modern Aramaic Dialects Reconsidered". Journal of the American Oriental Society. 128 (3): 505–510.
- Müller-Kessler, Christa (2009). "Mandaeans v. Mandaic Language". Encyclopaedia Iranica.
- Charles G. Häberl. 2009. The Neo-Mandaic Dialect of Khorramshahr. Wiesbaden: Harrassowitz.
- Häberl, Charles G. (2012). "Neo-Mandaic". The Semitic Languages: An International Handbook. Berlin-Boston: Walter de Gruyter. pp. 725–737. ISBN 9783110251586.
- Burtea, Bogdan (2012). "Mandaic". The Semitic Languages: An International Handbook. Berlin-Boston: Walter de Gruyter. pp. 670–685. ISBN 9783110251586.
- Al-Mubaraki, Brayan Majid (2001). A Mandaean Language Teaching Book. Sydney. ISBN 0-9585705-9-0.
- Al-Mubaraki, Brayan Majid; Mubaraki, Brayan; Al-Mubaraki, Majid Fandi (2006). A Mandaic Dictionary. Sydney: Mandaic Aramaic. ISBN 1-876888-10-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Mandaic lexicon online เก็บถาวร 2016-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Semitisches Tonarchiv: Tondokument "Ginza Einleitung" — a recording of the opening of the Ginza Rabba spoken by a Mandaean priest.
- Semitisches Tonarchiv: Tondokument "Ahwâz Macuch 01 A Autobiographie" — a recording of autobiographical material by Sâlem Çoheylî in Neo-Mandaic.
- Mandaic.org เก็บถาวร 2018-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Information on the Neo-Mandaic Dialect of Khorramshahr