ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคอร์ซิกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาคอร์ซิกา
corsu
ออกเสียง[ˈkorsu], [ˈkɔrsu]
ประเทศที่มีการพูดฝรั่งเศส
อิตาลี
ภูมิภาคฝรั่งเศส
 • แคว้นคอร์ซิกา
อิตาลี
 • แคว้นซาร์ดิเนีย
(กลุ่มเกาะมัดดาเลนา)
จำนวนผู้พูด150,000 คนในแคว้นคอร์ซิกา  (2013)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
คอร์ซิกาเหนือ
คอร์ซิกาใต้
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรคอร์ซิกา)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน แคว้นคอร์ซิกา (ฝรั่งเศส)
ผู้วางระเบียบไม่มีอย่างเป็นทางการ
รหัสภาษา
ISO 639-1co
ISO 639-2cos
ISO 639-3
cos – Corsican
Linguasphere51-AAA-p
แผนที่ภาษาของแคว้นคอร์ซิกา
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาคอร์ซิกา (อังกฤษ: Corsican; คอร์ซิกา: corsu) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งจากสาขาอิตาลี-แดลเมเชียที่ใช้พูดกันเป็นหลักบนเกาะคอร์ซิกาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ภาษาคอร์ซิกามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับวิธภาษาตอสคานาต่าง ๆ จากคาบสมุทรอิตาลี ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาอิตาลีมาตรฐานซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาถิ่นฟลอเรนซ์

ภายใต้อิทธิพลอันยาวนานเหนือเกาะคอร์ซิกาของสาธารณรัฐปิซาและสาธารณรัฐเจนัว ภาษาคอร์ซิกาเคยมีบทบาทเป็นภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาอิตาลีซึ่งเป็นภาษาราชการของเกาะ เมื่อ ค.ศ. 1859 ภาษาอิตาลีถูกแทนที่ด้วยภาษาฝรั่งเศสเนื่องจากฝรั่งเศสเข้าครอบครองสาธารณรัฐเจนัวเมื่อ ค.ศ. 1768 ในอีกสองศตวรรษต่อมา การใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาอิตาลีเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ชาวเกาะทั้งหมดมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสในระดับทำงานเมื่อฝรั่งเศสได้รับการปลดปล่อยเมื่อ ค.ศ. 1945 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเกาะได้เปลี่ยนแนวทางการใช้ภาษาจนกระทั่งไม่เหลือผู้รู้ภาษาคอร์ซิกาเพียงภาษาเดียวเมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อถึง ค.ศ. 1995 ชาวเกาะประมาณร้อยละ 65 มีความเชี่ยวชาญในภาษาคอร์ซิกาในระดับหนึ่ง[3] และส่วนน้อยประมาณร้อยละ 10 ใช้ภาษาคอร์ซิกาเป็นภาษาที่หนึ่ง[4]

บนเกาะซาร์ดิเนียของอิตาลียังมีการพูดและการเขียนภาษาบางภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาคอร์ซิกา แต่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาซาร์ดิเนียและในปัจจุบันถือว่าเป็นภาษาต่างหาก[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Corsican ที่ Ethnologue (23rd ed., 2020) Closed access
  2. Harris, Martin; Vincent, Nigel (1997). The Romance Languages. London: Routledge. ISBN 0-415-16417-6.
  3. "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger". www.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  4. "Corsican in France". Euromosaic. สืบค้นเมื่อ 2008-06-13.
  5. "Ciurrata Internaziunali di la Linga Gadduresa" (PDF). (in Gallurese).