ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ใน[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการทั่วไป]] ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ใน[[ไรชส์แวร์]]ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ใน[[มึนส์เทอร์]]{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} คำประกาศ[[แวร์มัคท์]]ของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 {{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}}
ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ใน[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการทั่วไป]] ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ใน[[ไรชส์แวร์]]ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ใน[[มึนส์เทอร์]]{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} คำประกาศ[[แวร์มัคท์]]ของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 {{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}}



คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดย[[ลูทวิช เบ็ค]] และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดย[[ข้อตกลงมิวนิก]] เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของ[[เลเบินส์เราม์]] (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์{{sfn|Barnett|1989|pp=396–398}}
คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดย[[ลูทวิช เบ็ค]] และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดย[[ข้อตกลงมิวนิก]] เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของ[[เลเบินส์เราม์]] (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์{{sfn|Barnett|1989|pp=396–398}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:14, 28 กันยายน 2564

กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
ชื่อเล่นแดร์คลูเกอฮันส์
เกิด30 ตุลาคม ค.ศ. 1882(1882-10-30)
โพเซิน, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต19 สิงหาคม ค.ศ. 1944(1944-08-19) (61 ปี)
แม็ส, นาซีเยอรมนี
รับใช้ เยอรมนี
 เยอรมนี
 ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัดกองทัพเยอรมัน 1901–1919
ไรชส์แวร์ 1919–1935
แวร์มัคท์ 1935–1944
ประจำการ1901–1944
ชั้นยศจอมพล
หน่วย46th Field Artillery Regiment
XXI Corps
บังคับบัญชา4th Army
Army Group Centre
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบ

กึนเทอร์ อดอล์ฟ แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน คลูเกอ (30 ตุลาคม ค.ศ. 1882 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944) ยังเป็นรู้จักกันคือ ฮันส์ กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ เป็นจอมพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้บัญชาการการรบทั้งแนวรบตะวันออกและแนวรบตะวันตก เขาได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ของแวร์มัคท์ในช่วงการบุกครองโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 และยุทธการที่ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1940 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นจอมพลไรช์ คลูเกอยังคงบัญชาการกองทัพที่ 4 ในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา(การบุกครองสหภาพโซเวียต) และยุทธการที่มอสโกในปี ค.ศ. 1941

ท่ามกลางวิกฤตของการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มกลาง เข้ามาแทนที่กับจอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค สมาชิกหลายคนของกลุ่มทหารเยอรมันฝ่ายต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการของเขา รวมทั้งเฮ็นนิง ฟ็อน เทร็สโค คลูเกอได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของผู้วางแผนก่อกบฏ แต่ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนยกเว้นแต่เพียงฮิตเลอร์จะถูกสังหาร การบัญชาการของเขาในแนวรบด้านตะวันออกได้ดำเนินไปจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 เมื่อคลูเกอได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

ภายหลังจากได้พักฟื้นรักษาตัวเป็นเวลานาน คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการใหญ่ตะวันตก(OB West) ในเขตยึดครองฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ภายหลังคนก่อนหน้านี้ จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ถูกสั่งปลดเพราะมีความเชื่อว่าจะพ่ายแพ้สงคราม กองกำลังของคลูเกอไม่สามารถหยุดยั้งแรงผลักดันของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรไว้ได้ และเขาเริ่มตระหนักแล้วว่าสงครามทางด้านตะวันตกกำลังจะพ่ายแพ้แล้ว แม้ว่าคลูเกอจะไม่ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม แต่ภายหลังการก่อรัฐประหารได้ล้มเหลว เขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944 หลังจากที่ถูกเรียกตัวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าพบกับฮิตเลอร์ ดังนั้นตำแหน่งของคลูเกอร์จึงถูกแทนที่โดยจอมพล วัลเทอร์ โมเดิล

ช่วงชีวิตตอนต้นและอาชีพ

คลูเกอเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1882 ในโพเซิน ปรัสเซีย และปัจจุบันคือทางตะวันตกของโปแลนด์[1] พ่อของเขา แม็กซ์ ฟ็อน คลูเกอ ซึ่งมาจากครอบครัวทหารปรัสเซียชนชั้นสูง ด้วยการเป็นผู้บัญชาการที่มีความโดดเด่น แม็กซ์เป็นนายทหารตำแหน่งยศพลโทในกองทัพบกปรัสเซีย ซึ่งประจำการอยู่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้แต่งงานกับ lise Kühn-Schuhmann[1] ในปี ค.ศ. 1881 คลูเกอเป็นหนึ่งในลูกชายสองคน ซึ่งมีน้องชายที่ชื่อว่า ว็อล์ฟกัง (ค.ศ. 1892-1976)[1] ว็อล์ฟกังได้ปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกสองครั้ง ได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลโท 1943, และเป็นผู้บัญชาการป้อมปราการดันเคิร์ก ระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 1944[2]

ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการทั่วไป ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ในไรชส์แวร์ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา[1] วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ในมึนส์เทอร์[1] คำประกาศแวร์มัคท์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 [1]

คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดยลูทวิช เบ็ค และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดยข้อตกลงมิวนิก เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของเลเบินส์เราม์ (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์[3]

เขาได้มีชื่อเล่นว่า เดอ คลูเกอ ฮันส์ ("เคลฟเวอร์ ฮันส์") ตามชื่อของม้าเยอรมันที่สามารถคำนวณคิดเลขได้[4]

สงครามโลกครั้งที่สอง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Barnett 1989, pp. 395–396.
  2. Mitcham 2008, p. 201.
  3. Barnett 1989, pp. 396–398.
  4. Margaritis 2019, p. 29.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Hoffman, Peter, (tr. Richard Barry) (1977). The History of the German Resistance, 1939–1945. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 978-0-262-08088-0.
  • Knopp, Guido (2007). Die Wehrmacht: Eine Bilanz. C. Bertelsmann Verlag. München. ISBN 978-3-570-00975-8.
  • Moczarski, Kazimierz; Mariana Fitzpatrick; Jürgen Stroop (1981). Conversations With an Executioner. Prentice-Hall. ISBN 0-13-171918-1.
  • Scherzer, Veit (2007). Die Ritterkreuzträger 1939–1945 Die Inhaber des Ritterkreuzes des Eisernen Kreuzes 1939 von Heer, Luftwaffe, Kriegsmarine, Waffen-SS, Volkssturm sowie mit Deutschland verbündeter Streitkräfte nach den Unterlagen des Bundesarchives [The Knight's Cross Bearers 1939–1945 The Holders of the Knight's Cross of the Iron Cross 1939 by Army, Air Force, Navy, Waffen-SS, Volkssturm and Allied Forces with Germany According to the Documents of the Federal Archives] (ภาษาเยอรมัน). Jena, Germany: Scherzers Miltaer-Verlag. ISBN 978-3-938845-17-2.
  • Shirer, William L. (1990). The Rise and Fall of the Third Reich. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-671-72868-7.
  • Wheeler-Bennett, Sir John (2005) [1953]. The Nemesis of Power: German Army in Politics, 1918 – 1945. New York: Palgrave Macmillan Publishing Company. ISBN 978-1-4039-1812-3.
  • Die Wehrmachtberichte 1939–1945 Band 1, 1. September 1939 bis 31. Dezember 1941 [The Wehrmacht Reports 1939–1945 Volume 1, 1 September 1939 to 31 December 1941] (ภาษาเยอรมัน). München, Germany: Deutscher Taschenbuch Verlag GmbH & Co. KG. 1985. ISBN 978-3-423-05944-2.
ก่อนหน้า กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ถัดไป
จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค แม่ทัพกลุ่มกลาง
(19 ธันวาคม 1941 – 12 ตุลาคม 1943)
จอมพล แอ็นสท์ บุช
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท แม่ทัพกลุ่ม D
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ผู้บัญชาการใหญ่ตะวันตก
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล
(รักษาการแทน)
จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล แม่ทัพกลุ่ม B
(19 กรกฎาคม 1944 – 17 สิงหาคม 1944)
จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล