ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก|small=yes}}{{เว็บย่อวิกิ|WP:NOTE}}
<ref></ref>{{กึ่งล็อก|small=yes}}{{เว็บย่อวิกิ|WP:NOTE}}
{{ความโดดเด่นของบทความ}}
{{ความโดดเด่นของบทความ}}
{{nutshell|บทความวิกิพีเดียให้รวมเฉพาะ''หัวเรื่องที่โดดเด่น'' เท่านั้น สันนิษฐานว่าหัวข้อใด ๆ มีบทความได้หาก
{{nutshell|บทความวิกิพีเดียให้รวมเฉพาะ''หัวเรื่องที่โดดเด่น'' เท่านั้น สันนิษฐานว่าหัวข้อใด ๆ มีบทความได้หาก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:07, 14 สิงหาคม 2564

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา

ในวิกิพีเดีย ความโดดเด่น เป็นการตัดสินว่าหัวเรื่องใดควรมีบทความแยกต่างหาก สารสนเทศบนวิกิพีเดียต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ หากไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือซึ่งกล่าวถึงหัวเรื่องได้แล้ว หัวเรื่องนั้นก็ไม่ควรมีบทความต่างหาก มโนทัศน์ความโดดเด่นของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานนี้เพื่อเลี่ยงการสร้างบทความโดยไม่เลือก (indiscriminate inclusion) หัวเรื่องบทความและรายชื่อต้องมีความโดดเด่น หรือ "ควรแก่การรู้จัก" (worthy of notice) การตัดสินว่าหัวเรื่องหนึ่ง ๆ โดดเด่นไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ความสำคัญ หรือความนิยมอย่างเดียว ดังที่จะมีอธิบายต่อไป

สันนิษฐานได้ว่าหัวเรื่องที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปด้านล่างและไม่ถูกตัดออกภายใต้สิ่งที่ไม่ใช่วิกิพีเดียเขียนเป็นบทความของตัวเองได้ นอกจากนี้ เนื้อหาบางประเภทมีหลักเกณฑ์เฉพาะหัวเรื่องตามที่ปรากฏบนกล่องด้านขวามือ ก็ให้ยึดทั้งแนวปฏิบัติในหน้านี้กับแนวปฏิบัติเฉพาะหัวเรื่องควบคู่กันไป หากพิจารณาแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่ควรมีบทความของตน ให้รวมเข้ากับหัวเรื่องอื่นแทน

แนวปฏิบัตินี้เป็นเพียงกรอบพิจารณาว่าหัวเรื่องใดเหมาะแก่การแยกเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาของบทความหรือรายชื่อ สำหรับนโยบายวิกิพีเดียด้านเนื้อหานั้น ได้แก่มุมมองที่เป็นกลาง การพิสูจน์ยืนยันได้ งดงานค้นคว้าต้นฉบับ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่

แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป

หากหัวเรื่องใดได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ให้สันนิษฐานว่าหัวเรื่องนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ในการสร้างเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่

  • ในที่นี้ คำว่า "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลต้นฉบับในการคัดย่อความเนื้อหา การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น
  • ในที่นี้ คำว่า "ที่น่าเชื่อถือ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลจะต้องมีความซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ (editorial integrity) เพื่อให้สามารถประเมินความโดดเด่นพิสูจน์ยืนยันได้ แหล่งข้อมูลอาจเป็นได้ตั้งแต่งานตีพิมพ์ในทุกรูปแบบ ทุกสื่อ และทุกภาษา การมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ครอบคลุมเนื้อหาเป็นการทดสอบความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี
  • ในที่นี้ "แหล่งข้อมูล" ควรเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบความโดดเด่นของหัวเรื่อง เพราะแหล่งข้อมูลเหล่านี้มักให้หลักฐานความโดดเด่นโดยอยู่บนพื้นฐานความจริงมากที่สุด ปริมาณและลักษณะแท้จริงของแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จำเป็นในการยืนยันความโดดเด่นนั้นต่างกันไปขึ้นอยู่กับความลึกของรายละเอียดและคุณภาพของแหล่งข้อมูล โดยทั่วไปมักคาดว่าหัวเรื่องนั้นจะต้องมีแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แหล่งข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ออนไลน์ และไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาไทย สิ่งพิมพ์เผยแพร่จากผู้เขียนหรือองค์การเดียวกันมักถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลเดียว เพื่อจุดประสงค์ในการพิสูจน์ความโดดเด่น
  • ในที่นี้ "ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง" ไม่รวมผลงานที่ผลิตขึ้นจากบุคคลหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนั้น ซึ่งมีทั้งการกล่าวถึงตนเอง การโฆษณา ผลงานตีพิมพ์ของตัวเอง อัตชีวประวัติ การแถลงข่าว เป็นต้น
  • ในที่นี้ คำว่า "สันนิษฐาน" หมายความว่า การกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ทำให้เกิดการสันนิษฐาน แต่มิใช่การรับประกัน ว่าหัวเรื่องนั้นเหมาะแก่การเพิ่มเป็นหัวเรื่องในวิกิพีเดีย ผู้เขียนอาจมีมติว่าหัวเรื่องหนึ่งหัวเรื่องใดไม่เหมาะแก่การแยกเป็นบทความใหม่ แม้หัวเรื่องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้แล้วก็ตาม ซึ่งมีแนวโน้มมากว่าจะละเมิดข้อที่ว่า "วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข้อมูลจิปาถะ"

หัวเรื่องที่ชุมชนมีมติเห็นว่าเข้าเกณฑ์ดังนี้โดยทั่วไปมักควรค่าแก่การรู้จัก และสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อหนึ่งในการมีบทความของตนในสารานุกรม ข้อเท็จจริงและเนื้อหาที่พิสูจน์ยืนยันได้ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหลายแหล่งอาจเหมาะแก่การรวมเข้าในบทความอื่น

ความโดดเด่นต้องอาศัยหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้

แก่นสามัญในแนวปฏิบัติความโดดเด่นนี้ คือ จะต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้และไม่ลำเอียงว่า หัวเรื่องนั้นได้รับความสนใจอย่างสำคัญจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสนับสนุนการอ้างความโดดเด่น การขาดการอ้างอิงในบทความ (ซึ่งต่างจากการไม่มีแหล่งอ้างอิง) มิได้บ่งชี้ว่า หัวเรื่องนั้นไม่โดดเด่น

ไม่มีหัวเรื่องใดโดดเด่นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติเพียงเพราะว่ามันมีอยู่ หลักฐานต้องแสดงให้เห็นว่าหัวเรื่องนั้นได้รับการกล่าวถึงหรือการยอมรับจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสำคัญ และยังต้องดูต่อไปอีกว่า การกล่าวถึงหรือการยอมรับนี้จะต้องมิได้เป็นเพียงความสนใจระยะสั้น หรือเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายหรือการเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดการพิจารณา หรือเป็นหัวเรื่องที่ไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลอื่นใด ที่มาของหลักฐานรวมถึงสิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่มีการพิจารณาตรวจสอบ (peer review) ที่ได้รับการยอมรับ หนังสือที่น่าเชื่อถือและมีหลักฐานพิสูจน์ แหล่งสื่อที่มีชื่อเสียง และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่น ๆ โดยรวม

ผู้เขียนที่กำลังประเมินความโดดเด่นไม่ควรพิจารณาเฉพาะแหล่งข้อมูลใด ๆ ที่ระบุในบทความเท่านั้น แต่ควรรวมไปถึงความน่าจะเป็นของแหล่งข้อมูลที่บ่งความโดดเด่นที่ยังมิได้ระบุในบทความด้วย ความโดดเด่นอาศัยเพียงการมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เหมาะสมเท่านั้น มิใช่การกล่าวอ้างที่ส่งผลโดยตรง บทความวิกิพีเดียมิใช่ฉบับสมบูรณ์ และหัวเรื่องของบทความยังมีความโดดเด่นหากมีแหล่งข้อมูลอยู่ แม้จะยังไม่ระบุแหล่งข้อมูลนั้นก็ตาม อย่างไรก็ดี เมื่อมีการตั้งคำถามถึงความโดดเด่นของบทความ เพียงยืนยันว่าแหล่งข้อมูลที่ไม่ระบุมีนั้นอยู่ก็ยากที่จะทำให้เชื่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเวลาผ่านไปและข้อพิสูจน์แท้จริงไม่ปรากฏเสียที หากเป็นไปได้ว่า มีแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกล่างถึงหัวเรื่องอย่างสำคัญ การลบด้วยเหตุขาดความโดดเด่นก็ไม่เหมาะสม

ความโดดเด่นมิใช่เพียงชั่วคราว

ความโดดเด่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว: เมื่อหัวเรื่องได้รับ "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" ตามแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของบทความโดยทั่วไปแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่จำเป็นจะต้องได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องอีก

ขณะที่ความโดดเด่นของบทความมิได้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว บางครั้งอาจมีการประเมินหลักฐานความโดดเด่นหรือความเหมาะสมของบทความที่มีอยู่แล้วใหม่ ซึ่งผู้ใช้รายใดก็ได้สามารถร้องขอผ่านการอภิปรายให้ลบ หรืออาจมีหลักฐานใหม่ ๆ เกิดขึ้นสำหรับบทความถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสมในอดีตก็เป็นได้ ดังนั้น บทความอาจได้รับการเสนอให้ลบหรือสร้างใหม่หลังมีการพิจารณาความโดดเด่นของบทความไปก่อนหน้านี้ ซึ่งนานเป็นเดือนหรือเป็นปี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือกล่าวถึงบุคคลเพียงในบริบทของเหตุการณ์เดียว และถ้าบุคคลนั้น หรือมีแนวโน้มว่า ยังเป็นปัจเจกบุคคลที่ไม่เป็นที่สังเกต (low-profile) ต่อไป โดยทั่วไป เราควรหลีกเลี่ยงการมีบทความชีวประวัติเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลนั้น

กรณีแวดล้อมทั่วไป

การส่งเสริมการขายหรือการเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดการพิจารณา

แม้ว่าสื่อประเภทสิ่งตีพิมพ์จะถือเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักฐานยืนยันความโดดเด่นของบทความได้เสมอไป:

วิกิพีเดียไม่ใช่สื่อกลางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การนำเสนอตัวเอง สื่อที่ได้รับจ้างมา อัตชีวประวัติ และผลิตภัณฑ์วางตลาดไม่ใช่แนวทางที่ดีในการเขียนบทความสารานุกรม การวัดความโดดเด่นคือว่าที่มาของแหล่งอ้างอิงนั้นจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง (หรือผู้ผลิต ผู้สร้าง นักประพันธ์ นักประดิษฐ์ หรือผู้ขาย) ซึ่งผู้ที่สร้างสื่อที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลนั้นจะพิจารณาว่าหัวเรื่องนั้นมีความสำคัญพอที่จะกล่าวถึงและตีพิมพ์เป็นผลงานที่ไม่ใช่เกร็ดเกี่ยวกับมุมมองที่พวกเขามีต่อหัวเรื่องนั้น โดยไม่มีสิ่งกระตุ้น การส่งเสริม หรืออิทธิพลจากผู้ที่เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง

แหล่งข้อมูลที่เป็นกลางยังจำเป็นในการรับประกันว่าบทความนั้นจะเป็นบทความที่ปราศจากอคติ แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์ขึ้นเองไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกลาง (ดูเพิ่มที่ ผลประโยชน์ทับซ้อน สำหรับแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียที่มีต่อความเป็นกลางของแหล่งข้อมูลเช่นนี้) แม้ว่าแหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองที่ไม่ใช่การส่งเสริม อย่างเช่น คู่มือทางเทคนิคที่เป็นของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ยังถือว่าไม่ใช่หลักฐานยืนยันความโดดเด่นของหัวเรื่อง เนื่องจากไม่ได้วัดว่าหัวเรื่องดังกล่าวได้รับความสนใจมากน้อยเพียงใด

เหตุการณ์

วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข่าว: หัวเรื่องจะต้องเป็นมากกว่าการรายงานข่าวประจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือหัวเรื่องจึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นการกล่าวถึงอย่างสำคัญ ตัวอย่างเช่น การนำเสนอข่าวในข่าวสำหรับหนังสือพิมพ์ การประกาศสาธารณะ รายงานข่าวกีฬา ไม่ใช่การกล่าวถึงอย่างสำคัญ การรายงานข่าวจำนวนมากที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ (critical analysis) เกี่ยวกับเหตุการณ์ก็ไม่ถูกนับว่าเป็นการกล่าวถึงอย่างสำคัญทั้งหมด

ความโดดเด่นควรเป็นที่รู้จัก

สำหรับแนวปฏิบัติที่ได้รับการอภิปรายแล้วในวิกิพีเดียภาษาไทย การพิจารณาความโดดเด่นรวมไปถึงการตัดสินว่าหัวเรื่องนั้นมีผู้รู้จักจำนวนหนึ่งหรือไม่ กล่าวคือ ควรจะมีอย่างน้อย 0.01% (ประมาณ 10,000 คนขึ้นไป) ที่รับรู้ถึงหรือได้รับผลกระทบจากหัวเรื่อง กล่าวได้ว่าหัวเรื่องใดที่เป็นที่รู้จักกันในระดับประเทศหรือระดับโลกแล้ว ไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอดีต หรือเคยตกเป็นข่าวดังมาก่อน ย่อมมีความเป็นไปได้มากว่าจะสามารถเขียนเป็นบทความบนวิกิพีเดียได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจากการมีบทความในวิกิพีเดียภาษาอื่นเป็นเกณฑ์ได้ด้วยเช่นกัน

หัวเรื่องที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมมักจะผ่านเกณฑ์ด้านความโดดเด่น แต่ก็จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญอย่างไร

วิธีแก้ไขบทความที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

สำหรับบทความในหัวเรื่องที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นมักจะถูกลบ ถึงแม้ว่าจะมีทางเลือกอื่นอยู่บ้าง (เช่น อาจจะรวมไว้ในส่วนหนึ่งของบทความอื่นเช่น มือกลองของวงดนตรี เมื่อเขียนแยกบทความอาจจะไม่มีเนื้อหาเพียงพอ อาจจะเขียนรวมไว้ในบทความของวงดนตรีนั้น ๆ แทน) สำหรับบทความที่มีความโดดเด่นของบทความไม่ชัดเจน การลบควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ

ถ้าบทความนั้นไม่มีแหล่งอ้างอิงแสดงความโดดเด่นของบทความเกี่ยวกับหัวเรื่อง ควรอาจดูแหล่งอ้างอิงด้วยตนเอง หรือ:

  • ถามผู้สร้างบทความหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหัวเรื่อง สำหรับข้อแนะนำว่าควรหาแหล่งอ้างอิงจากที่ใด
  • เพิ่มแม่แบบ {{ขาดความสำคัญ}} บนหัวบทความเพื่อเตือนผู้เขียนคนอื่น
  • หากบทความนั้นเป็นบทความเฉพาะด้าน อาจใช้แม่แบบ {{โปร}} เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีความรู้ลึกในด้านนั้น ผู้ซึ่งอาจมีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ต

หากไม่มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมหลังจากได้ทำการสืบค้นแล้ว พิจารณารวมบทความเข้ากับเนื้อหาที่พิสูจน์ยืนยันได้ในแง่มุมที่กว้างขึ้นพร้อมกับอธิบายบริบท แต่ถ้าหากจะต้องลบ:

  • ถ้าบทความเข้ากับเงื่อนไขการลบทันทีอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสามารถแจ้งลบได้โดยอ้างเหตุผล ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาลบทันทีหรือรอ 7 วันหลังจากที่ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาสักระยะหนึ่งแล้ว
  • หากบทความนั้นถูกติดป้ายเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยไม่มีการแก้ไขปัญหานับตั้งแต่วันที่ติดป้าย สามารถแจ้งลบหรือผู้ดูแลระบบสามารถลบได้ทันที

ดูเพิ่ม