วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (หัวเรื่องท้องถิ่น)
หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติว่าด้วยความโดดเด่นของบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย เป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปว่าผู้เขียนควรพยายามปฏิบัติ แม้ควรปฏิบัติโดยใช้สามัญสำนึกร่วมด้วย และอาจยกเว้นได้ในบางโอกาส การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญควรสะท้อนการเห็นพ้องต้องกัน หากไม่มั่นใจให้อภิปรายก่อน |
หัวเรื่องท้องถิ่น หมายถึง เรื่องที่น่าจะมีผู้รู้จักในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่จำกัด เช่น นคร เมือง หมู่บ้าน มหานคร หรือพื้นที่จำกัดอื่นที่คล้ายกัน ซ้ำเป็นที่สนใจเฉพาะของผู้ที่อยู่ในพื้นที่อันจำกัดนั้นด้วย วิกิพีเดียให้มีบทความว่าด้วยหัวเรื่องท้องถิ่นได้ แต่บทความเหล่านั้นจะต้องผ่านแนวปฏิบัติว่าด้วยความโดดเด่นทั่วไปของวิกิพีเดีย คือ มีการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ การกล่าวถึงนั้นจะต้องมีความสำคัญ (significant coverage) และไม่ใช่เกร็ด (trivia)
หัวเรื่องท้องถิ่น เช่น บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (เช่น นายกเทศมนตรี) ธุรกิจที่มีลูกค้าในท้องถิ่นเป็นหลัก (เช่น ร้านค้าหัวมุมถนนหรือร้านอาหารครอบครัว) โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่สักการะ สุสาน สวนสาธารณะหรือโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
สำหรับหัวเรื่องที่อยู่ในพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นที่รู้จักกันในระดับชาติหรือนานาชาตินั้น ไม่ถือว่าเป็นหัวเรื่องท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ทัชมาฮาล ซึ่งตั้งอยู่ในอักรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แต่เป็นสัญลักษณ์ทั่วโลก นอกเหนือไปจากอักราที่เดียว
บทนิยาม
[แก้]หัวเรื่องท้องถิ่น
[แก้]ถือว่าหัวเรื่องหนึ่งเป็น "หัวเรื่องท้องถิ่น" หากแหล่งข้อมูลทั้งหมดของบทความเป็น "แหล่งข้อมูลท้องถิ่น"
หลายพื้นที่มีหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อของที่นั้น ๆ อยู่แล้ว สื่อเหล่านี้มักลอกเรื่องราวของกันและกัน จึงเป็นไปได้ที่หัวเรื่องท้องถิ่นจำนวนมากจะมีสื่อกล่าวถึงมากกว่าหนึ่งสำนัก ในกรณีนี้จะต้องใช้แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของบทความทั่วไปแทน
มิใช่ว่าหัวเรื่องที่ไม่มีความพิเศษในตัวเองทั้งหมดจะมีความโดดเด่นขึ้นมาได้ การจะทำให้หัวเรื่องท้องถิ่นมีความโดดเด่นขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลายแหล่งที่ไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่อง ที่ให้ข้อมูลครอบคลุมในเชิงลึกและมิใช่เกร็ดเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น เป็นมาตรฐานระดับสูง
แหล่งข้อมูลท้องถิ่น
[แก้]แหล่งข้อมูลท้องถิ่น หมายถึง แหล่งที่มาของข้อมูลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชมในภูมิศาสตร์ที่จำกัด แหล่งข้อมูลท้องถิ่น เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ชุมชน นิตยสารและวารสารที่เป็นของนคร เมืองหรือภูมิภาคท้องถิ่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ท้องถิ่น (และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง) ตลอดจนเว็บไซต์ที่ให้สื่อแก่พื้นที่
แหล่งข้อมูลท้องถิ่นจะถือเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หากเป็นไปตามเกณฑ์แนวปฏิบัติว่าด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งแหล่งข้อมูลเหล่านี้จะสมเหตุสมผลในการสร้างความโดดเด่น หากมีการครอบคลุมหัวเรื่องในเชิงลึก มิใช่กิจวัตรซ้ำซาก และมิใช่เกร็ด
เงื่อนไขเฉพาะ
[แก้]- สถานที่ท้องถิ่น (วัด โรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ตลาด ฯลฯ) ซึ่งไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรรวมเนื้อหาเข้ากับพื้นที่ที่ตั้ง
- เขตการปกครองขนาดเล็ก (ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ) ควรรวมกับส่วนที่ใหญ่กว่า เช่น ตำบลให้รวมกับบทความอำเภอ
- บทความเส้นทางคมนาคมที่มีเนื้อหาเฉพาะ ป้าย สถานี หรือ แยก (รถไฟ/รถไฟฟ้า) ควรรวมเข้ากับบทความสายทางนั้น ๆ
- ตัวอย่างบทความสถานี (รถไฟ) ที่ดี เช่น Edmonds station
- บทความสถานีซึ่งมีเพียงเนื้อหาที่ไม่ใช่สาระที่สำคัญของตัวสถานี อย่าง สถานที่ใกล้เคียง ตารางเวลาเดินรถ รถประจำทางสายที่ผ่าน แผนผังสถานี ให้รวมกับบทความโครงการหรือลบบทความนั้นหากไม่สามารถรวมกับบทความอื่นได้
- บทความเส้นทางเดินรถไฟ/รถไฟฟ้า สายเดียวกันที่สั้นมากให้รวบรวมหลาย ๆ สายเขียนเป็นบทความเดียว
- โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วตามกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายประจำรัฐ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ให้ถือว่ามีความโดดเด่นไว้ก่อนตามแนวปฏิบัตินี้
- สำหรับประเทศไทยถือการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเป็นเกณฑ์
ข้อควรปฏิบัติ
[แก้]หากบทความหัวเรื่องท้องถิ่นไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่องท้องถิ่นนั้น ๆ ให้แจ้งลบ หรือ แจ้งรวมบทความ ตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ หน้า "ความโดดเด่นของบทความ"