ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แขวงเชียงขวาง"

พิกัด: 19°25′0″N 103°30′0″E / 19.41667°N 103.50000°E / 19.41667; 103.50000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8885748 สร้างโดย 2403:6200:8851:FBCB:696F:8D1A:6656:EF1C (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 138: บรรทัด 138:
[[หมวดหมู่:แขวงเชียงขวาง]]
[[หมวดหมู่:แขวงเชียงขวาง]]
[[หมวดหมู่:เชียง]]
[[หมวดหมู่:เชียง]]
[[หมวดหมู่:หน่วยการปกครองไทยในอดีต]]
{{โครงประเทศ}}
{{โครงประเทศ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:16, 5 มิถุนายน 2563

แขวงเชียงขวาง

ແຂວງຊຽງຂວາງ
เนินโพนสะหวัน
เนินโพนสะหวัน
แผนที่แขวงเชียงขวาง
แผนที่แขวงเชียงขวาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเชียงขวาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเชียงขวาง
พิกัด: 19°25′0″N 103°30′0″E / 19.41667°N 103.50000°E / 19.41667; 103.50000
ประเทศ ลาว
เมืองเอกโพนสะหวัน
พื้นที่
 • ทั้งหมด15,880 ตร.กม. (6,130 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโนประชากรมีนาคม 2548)
 • ทั้งหมด229,521 คน
 • ความหนาแน่น14 คน/ตร.กม. (37 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07
รหัส ISO 3166LA-XI

เชียงขวาง (ลาว: ຊຽງຂວາງ สะกด เซียงขวาง อ่าน เซียงขวง) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ติดกับประเทศเวียดนาม ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร เมืองเอกเดิมคือเมืองคูน แต่ด้วยสภาพความเสียหายอย่างรุนแรงจากสงครามเวียดนาม จึงย้ายเมืองเอกมาเป็นเมืองโพนสวรรค์ในปัจจุบัน

ในสมัยโบราณ เมืองนี้รู้จักกันในชื่อว่าเมืองพวน ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ที่นั่น หรืออพยพไปอยู่ที่อื่นเรียกว่า ชาวไทพวน และบริเวณนี้ยังมีทุ่งไหหิน อีกด้วย

ที่ตั้ง

ประวัติ

ยุคล้านช้าง

ยุคสงครามเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2513 แขวงเชียงขวางเคยเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือดนับครั้งไม่ถ้วน ในยุคสงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีน เนื่องจากเชียงขวางคือหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราว 400 กิโลเมตร และหากเดินทางจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของเชียงขวางในปัจจุบัน ข้ามเทือกเขาอันสลับซับซ้อนบนทางหลวงหมายเลข 7 ไปสุดชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ที่ด่านน้ำกลั่น จะกินระยะทางเพียง 130 กิโลเมตรเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกที่ในช่วงสงครามอินโดจีน บริเวณนี้เคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงรวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากประเทศเวียดนามเหนือ สู่ขบวนการปะเทดลาวที่เป็นพันธมิตรต่อกัน โดยถูกเรียกขานว่า "เส้นทางโฮจิมินห์"

ด้วยชัยภูมิดังกล่าว ขบวนการปะเทดลาวจึงได้จัดตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่ เป็นเหตุให้ในช่วงเวลานั้น กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรมเพื่อทำลายล้างขบวนการปะเทดลาว ทำให้บ้านเมืองราษฎรหลายร้อยหลัง ตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด ส่งผลให้ราษฎรและทหารฝ่ายขบวนการปะเทดลาวต้องอพยพเข้าไปอยู่ตามถ้ำและหุบเขาทั่วไปในแขวงเชียงขวางและพื้นที่ใกล้เคียง

ปัจจุบัน

ในปัจจุบัน สภาพของซากปรักหักพังจากพิษภัยของสงครามยังคงมีร่องรอยให้เห็นอยู่โดยทั่วไปในเมืองคูน ซึ่งเป็นเมืองเอกเดิมของแขวงเชียงขวาง โดยซากปรักหักพังบางแห่ง ทางรัฐบาลลาวได้อนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเลวร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต ทั้งร่องรอยของหลุมระเบิดขนาดใหญ่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ปัจจุบันหลุมระเบิดบางส่วนถูกดัดแปลงให้เป็นบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่วนเศษซากของลูกระเบิดก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ รั้วบ้าน เสาบ้าน รางข้าวหมู ที่นั่งเล่น เป็นต้น

แม้จะผ่านภาวะสงครามอันเลวร้ายมาไม่นานนัก แต่เมืองเชียงขวางในปัจจุบันก็เริ่มฟื้นตัวเรื่อย ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการสร้างเมืองโพนสะหวันทดแทนเมืองคูนที่ถูกทำลายลงด้วยพิษสงคราม

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่ รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (ลาว) เมือง (อังกฤษ)
901 แปก ແປກ Pek
902 คำ ຄຳ Kham
903 หนองแฮด (หนองแรด) ໜອງແຮດ Nonghed
904 คูณ ຄູນ Khoune
905 หมอกใหม่ ໝອກໃໝ່ Mork-mai
906 ภูกูด ພູກູດ Phoukood
907 ผาชัย ຜາໄຊ Phaxay

สภาพแวดล้อม

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในแขวงเชียงขวางได้เกิดการเปลี่ยนแปลง สืบเนื่องมาจากการทำเหมืองแร่และการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และหน้าร้อนก็มีอากาศร้อนกว่าปกติ แม้ทางรัฐบาลจะพยายามแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาดังกล่าวก็มิได้ลดน้อยลงไป[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น