ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ชื่อ =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต
| หัวหน้า1_ชื่อ = เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า2_ชื่อ = นางพรสม เปาปราโมทย์
| หัวหน้า2_ชื่อ = พรสม เปาปราโมทย์
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า3_ชื่อ = นางพัชรี อาระยะกุล
| หัวหน้า3_ชื่อ = พัชรี อาระยะกุล
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองอธิบดี
| หัวหน้า4_ชื่อ = นายสมรวย สุวรรณภักดีจิต
| หัวหน้า4_ชื่อ =
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า5_ชื่อ =นางถิรวดี พุ่มนิคม
| หัวหน้า5_ชื่อ =
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง =ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสตรี
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า6_ชื่อ =
| หัวหน้า6_ชื่อ =
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:10, 1 กุมภาพันธ์ 2562

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
Department of Women's Affairs and Family Development
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่ไทย
255 บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต, อธิบดี
  • พรสม เปาปราโมทย์, รองอธิบดี
  • พัชรี อาระยะกุล, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เว็บไซต์http://www.dwf.go.th

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (อังกฤษ: Department of Women's Affairs and Family Development อักษรย่อ:สค.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานเสริมสร้างมาตรการ กลไกในการพัฒนาศักยภาพ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ระหว่างเพศ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีและผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด การป้องกันการค้าประเวณีและคุ้มครองผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว

ประวัติความเป็นมา

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยยุบหน่วยงานที่กระจายอยู่ในหลายกระทรวง มาจัดตั้งกระทรวงและหน่วยงานระดับกรมขึ้นใหม่ เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั้น สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.)ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ อาศัยอำนาจตาม

  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 มาตรา 17
  • พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 มาตรา 35 (1)
  • กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2545 ในการจัดตั้งสำนักงานนี้ มีการรวมหน่วยงาน 3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน

หน้าที่

  1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และมาตรฐานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรี ครอบครัวผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด
  2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และองค์กรระหว่างประเทศ ในการดําเนินการตามนโยบาย พันธกรณี อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสตรีครอบครัว ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด
  3. เสริมสร้างมาตรการ กลไกในการพัฒนาศักยภาพ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ระหว่างเพศ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีและผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด การป้องกันการค้าประเวณีและคุ้มครองผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดําเนินงาน การรับรอง และการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งขององค์กรภาคเอกชนด้านสตรีและครอบครัว รวมทั้งองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
  5. บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสตรี ครอบครัว ผู้ประสบ ปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด
  6. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในการแก้ไขและพัฒนาสตรี ครอบครัว ผู้กระทําหรือผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิดและผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
  7. จัดบริการสวัสดิการสังคม การให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง แก้ไข เยียวยา บําบัด ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพของสตรี ผู้กระทําหรือผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้ที่ถูกศาลสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี รวมทั้งผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด