ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉลว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Watcharakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีคำนี้ในภาษาอังกฤษ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:CHALAK.jpg|'''เฉลว'''|thumb]]
[[ภาพ:CHALAK.jpg|'''เฉลว'''|thumb]]
'''เฉลว''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]:Chalew) หรือ '''ตาเหลว''' ([[ภาษาเหนือ]]) หรือ '''ฉลิว''' เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่างๆ ดังนี้
'''เฉลว''' หรือ '''ตาเหลว''' ([[ภาษาเหนือ]]) หรือ '''ฉลิว''' เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่างๆ ดังนี้
# ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นร้านขายของ
# ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นร้านขายของ
# ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษี
# ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:19, 17 มกราคม 2553

ไฟล์:CHALAK.jpg
เฉลว

เฉลว หรือ ตาเหลว (ภาษาเหนือ) หรือ ฉลิว เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่างๆ ดังนี้

  1. ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นร้านขายของ
  2. ใช้แสดงบอกสัญลักษณ์ว่าเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษี
  3. ใช้บอกอาณาเขตการจับจองที่นาโดยการปักเฉลวไว้ที่สี่มุมของที่ที่ตนเป็นเจ้าของ
  4. ปักไว้ที่ที่แสดงว่าเป็นบริเวณที่หวงห้ามต่าง ๆ หรือบอกเตือนให้ระวังอันตราย
  5. ใช้ในการแพทย์แผนโบราณ ว่ากันว่าหม้อที่บรรจุยาถ้าไม่ลงคาถามีเฉลวปักกันไว้ เมื่อผ่านบ้านหมออื่นหรือคนหรือสิ่งใดที่ถือ อาจทำให้เครื่องยาที่มีอยู่ในนั้นเสื่อมคุณภาพหายความศักดิ์สิทธิ์ หรือกันไม่ให้ใครเติมอะไรลงไปหรือกันอะไรที่จะไปทำลายยาให้เสียไป ดังนี้จึงต้องปักเฉลวไว้ เวลาคลอดลูกอยู่ไฟโบราณก็มีการปักเฉลวด้วย นอกจากปักเฉลว

แล้วยังมีการเสกคาถาอาคมลงยันต์บนเฉลวที่ใช้ปักหม้อยาด้วย ซึ่งคาถาจะแตกต่างไปตามแฉกของเฉลวดังนี้

  • เฉลว 3 แฉก ลงอักขระ มะ อะ อุ หมายถึงขอให้อำนาจพระผู้เป็นเจ้าทั้ง หลายจงประสาทพรให้หายป่วย ซึ่งเดิมเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
  • เฉลว 5 แฉก ลงอักขระพระเจ้า 5 พระองค์คือ นะโมพุทธายะ
  • เฉลว 8 แฉก ลงอัขระ อิติปิโสแปดทิศ

โดยที่เฉลวเป็นเครื่องหมายถึงยันต์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับยา เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำสัญลักษณ์ของหน่วยงานและสัญญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย

อ้างอิง