พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 16 มีนาคม พ.ศ. 2450 |
สิ้นพระชนม์ | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (95 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ราชสกุล | บริพัตร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร |
ศาสนา | พุทธ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร [สุด-ทะ-วง-วิ-จิด] บ้างออกพระนามว่า สุทธพงศพิจิตร[1] (16 มีนาคม พ.ศ. 2450 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)[2] เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงกลาง" หรือ "ท่านพระองค์กลาง"[3] ประสูติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2449 (แบบสากลคือพ.ศ. 2450) เป็นพระบุตรพระองค์ที่สามและเป็นพระธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า หม่อมเจ้าสุทธวงษวิจิตร ครั้นในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[4]
ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ทั้งนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 เชิญพระแสงดาบฝักทองเกลี้ยง[5]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 สิริพระชันษา 95 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- หม่อมเจ้าสุทธวงษวิจิตร (16 มีนาคม พ.ศ. 2450 – 6 มกราคม พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร (6 มกราคม พ.ศ. 2454 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[8]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 66. 3 มีนาคม พ.ศ. 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก “เฉลิมพระราชมณเฑียร” รายการจดหมายเหตุ กรุงศรี ออกอากาศ 8 พฤษภาคม 2560 รายการละเอียดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉลิมพระราชมนเฑียร และเสด็จ เลียบพระนคร ใน พระบาทสมเด็จฯพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2468. (2496). กรมศิลปากร.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (51ง ฉบับพิเศษ): 8. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (154): 16. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (51): 15. 10 พฤษภาคม 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ฝ่ายใน (ชั้นที่ 3 - 4)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 4300. 6 มีนาคม 2470.