ดิพโพลโดคัส
ดิพโพลโดคัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูแรสสิกตอนปลาย, 154–152Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับใหญ่: | Dinosauria |
อันดับ: | Saurischia |
อันดับย่อย: | Sauropodomorpha |
อันดับฐาน: | Sauropoda |
วงศ์: | Diplodocidae |
สกุล: | Diplodocus Marsh, 1878 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Diplodocus longus (nomen dubium) Marsh, 1878 | |
สายพันธุ์อื่น ๆ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ดิพโพลโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (/dɪˈplɒdəkəs/,[1][2] /daɪˈplɒdəkəs/,[2] หรือ /ˌdɪploʊˈdoʊkəs/[1])) หรือ คานคู่[1][3] เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายหางประมาณ 25-27 เมตร (David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร[ต้องการอ้างอิง]) และมีนำหนักเพียง 17-25 ตัน อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 154 - 152 ล้านปีก่อนในหมวดหิน Morrison Formation ดิพโพลโดคัสเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ซอโรพอดที่พบมากที่สุดในหมวดหินนี้ โดยพบร่วมกับอะแพทโทซอรัส อัลโลซอรัส แบรคคีโอซอรัส บรอนโทซอรัส และคามาราซอรัส[4]
บทบรรยาย
[แก้]ดิพโพลโดคัสมีลำคอและหางที่ยาวมากถ่วงน้ำหนักกัน ที่ปลายหางมีก้อนกระดูกจำนวนมากที่หลอมรวมกัน สันนิษฐานว่าใช้เป็นอาวุธคล้ายแส้ ที่สามารถฟาดด้วยความเร็วกว่าเสียง และก่อปรากฏการณ์ Sonic boom ได้ (Nathan Myhrvold,1997) และเนื่องจากมีหางและคอที่ยาวมาก มันจำเป็นต้องวางลำคอและหางขนานไปกับพื้นโลก และน้ำหนักของมันจะถูกถ่ายลงบนขาทั้งสี่ที่ตั้งตรงคล้ายกับแท่งเสา กะโหลกของมันเล็กมากเมื่อเทียบกับลำตัว และภายในกะโหลกยังมีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสออยู่บริเวณด้านหน้าของกรามที่มีทรงคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่สามารถเล็มพืชราบพื้นดินได้เป็นอย่างดี
พฤติกรรม
[แก้]เนื่องจากมีฟันคล้ายแท่งดินสอจำนวนมากและไม่มีฟันกรามอยู่เลย นักบรรพชีวินวิทยาจึงสันนิษฐานว่าดิพโพลโดคัสอาจมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เคี้ยวอาหาร มันจะใช้ฟันด้านหน้าฉีกพืชเช่นใบสนและเฟิร์นและกลืนพืชลงไปโดยไม่เคี้ยว เพราะพืชที่ถูกกลืนเข้าไปจะถูกบดโดยหิน Gastroliths ที่มันได้กลืนลงไปในกระเพาะก่อนหน้านี้ นอกจากนี้จากการคำนวณด้วยวิธีการทางฟิสิกส์ยังพบว่าจุด centre gravity ของดิพโพลโดคัสยังอยู่บริเวณเหนือขาหลัง ทำให้ดิพโพลโดคัสสามารถยกตัวยืนด้วยสองขาหลังได้
ดิพโพลโดคัสในสื่อต่างๆ
[แก้]เนื่องจากดิพโพลโดคัสค่อนข้างโด่งดัง มันจึงได้ปรากฏตัวในสื่อต่างๆมากมายเช่นในสารคดีจาก BBC ชุด Walking with dinosaurs ดิพโพลโดคัสได้ปรากฏตัวในตอน Time of titans และนอกจากนี้มันยังได้ปรากฏตัวในวีดิโอเกมเกี่ยวกับ Jurassic Park และเป็นหุ่นจำลองใน Jurassic World: Fallen Kingdom ด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Simpson, John; Edmund Weiner, บ.ก. (1989). The Oxford English Dictionary (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-861186-8.
- ↑ 2.0 2.1 Pickett, Joseph P., บ.ก. (2000). The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). Boston: Houghton Mifflin Company. ISBN 978-0-395-82517-4.
- ↑ "diplodocus". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Turner, C.E.; Peterson, F. (2004). "Reconstruction of the Upper Jurassic Morrison Formation extinct ecosystem—a synthesis". Sedimentary Geology. 167 (3–4): 309–355. Bibcode:2004SedG..167..309T. doi:10.1016/j.sedgeo.2004.01.009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Diplodocus in the Dino Directory
- Museo Nacional de Ciencias Naturales, Madrid
- Diplodocus Marsh, by J.B. Hatcher 1901 – Its Osteology, Taxonomy, and Probable Habits, with a Restoration of the Skeleton. Memoirs of the Carnegie Museum, Volume 1, Number 1, 1901. Full text, Free to read.
- Carnegie Museum of Natural History – History เก็บถาวร 2006-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Skeletal restorations of diplodocids เก็บถาวร 2006-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน including D. carnegii, D. longus, and D. hallorum, from Scott Hartman's Skeletal Drawing website.
- Chapter 5: The Amphibious Dinosaurs – Brontosaurus, Diplodocusw, etc. Sub-Order Opisthocœlia (Cetiosauria or Sauropoda by W. D. Matthew, who is credited amongst other accomplishments as authorship of the family Dromaeosauridae, and former Curator of Vertebrate Paleontology at the American Museum of Natural History in New York; Originally published in 1915