ฐานบินประจวบคีรีขันธ์
ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย | |||||||||
ประจวบคีรีขันธ์ | |||||||||
อ่าวประจวบ (ขวา) และทางวิ่งของฐานบินประจวบคีรีขันธ์ (ซ้าย) | |||||||||
พิกัด | 11°47′19″N 99°48′17″E / 11.78850°N 99.80466°E | ||||||||
ประเภท | ฐานทัพอากาศ | ||||||||
ข้อมูล | |||||||||
ผู้ดำเนินการ | กองทัพอากาศไทย | ||||||||
ควบคุมโดย | กองบินใหญ่ที่ 1 (พ.ศ. 2465–2468) กองโรงเรียนการบินยิงปืน (พ.ศ. 2468–2469) กองโรงเรียนการบินที่ 2 (พ.ศ. 2469–2479) กองบินน้อยที่ 5 (พ.ศ. 2479–2506) กองบิน 5 (พ.ศ. 2506–2520) กองบิน 53 (พ.ศ. 2506–2550) กองบิน 5 (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน) | ||||||||
สภาพ | ปฏิบัติการ | ||||||||
เว็บไซต์ | wing5 | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
สร้าง | พ.ศ. 2464 | ||||||||
สร้างโดย | เหยี่ยว ยี่ห้อฟุกกี่ | ||||||||
การต่อสู้/สงคราม | สงครามมหาเอเชียบูรพา – กองบิน 5 | ||||||||
ข้อมูลสถานี | |||||||||
กองทหารรักษาการณ์ | กองบิน 5 | ||||||||
ข้อมูลลานบิน | |||||||||
ข้อมูลระบุ | ICAO: VTBP[1] | ||||||||
ความสูง | 17 ฟุต (5.2 เมตร) เหนือระดับ น้ำทะเล | ||||||||
|
ฐานบินประจวบคีรีขันธ์[2] (อังกฤษ: Prachuap Khiri Khan Air Force Base[3]) เป็นฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[4][5]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 5 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[6]
ประวัติ
[แก้]ในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งกองทัพอากาศตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2461 ได้มีการก่อตั้งกรมอากาศยานทหารบกโดยแบ่งส่วนราชการเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. กองบินทหารบก 2. โรงเรียนการบินทหารบก 3. โรงงานกรมอากาศยานทหารบก โดยทั้งหมดมีที่ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองในขณะนั้น[7]
ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ. 2463 รัฐบาลมีความต้องการที่จะย้ายกองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 (กองบิน 4 ปัจจุบัน) จากฐานทัพอากาศดอนเมืองมาประจำการที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงได้มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยเอก ชิต รวดเร็ว ผู้บังคับบัญชากองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ไปหาสถานที่ที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ตำบลหนองอ้ายเมฆ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคลองวาฬและทางรถไฟ และเริ่มเข้าพื้นที่เพื่อถากถางพื้นที่สำหรับการสร้างฐานบินในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2464 ด้วยการทำข้อตกลงกับฝ่ายปกครองท้องถิ่น คือผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มหาอำมาตย์ตรีพระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราชนายก และปลัดจังหวัด รองอำมาตย์เอกหลวงภักดีดินแดน เป็นผู้อำนวยการในการปรับพื้นที่สร้างฐานบิน โดยใช้นักโทษจำนวน 200 คนจากเรือนจำมณฑลราชบุรี และทหารจากกรมทหารบกราบที่ 14 เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของนักโทษ[7]
ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากการเข้าปรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างฐานบิน ได้มีความเห็นจากรัฐบาลว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการก่อตั้งฐานบินสำหรับประจำการกองบินใหญ่ที่ 1 แต่เหมาะสมกับกองโรงเรียนการบินยิงปืนมากกว่า ซึ่งพื้นที่เป็นแหลมต่อจากเขาล้อมหมวกด้านตะวันตก ระหว่างอ่าวมะนาวและอ่าวประจวบ เจ้ากรมอากาศยานจึงได้ส่ง ร้อยเอก ชิต รวดเร็ว ผู้บังคับการกองบินใหญ่ที่ 1 พร้อมด้วย ร้อยโท กาพย์ ทัตตานนท์ ลงพื้นที่มาสำรวจและจัดทำแผนผังก่อตั้งกองโรงเรียนการบินยินปืน และเสนอขึ้นมายังผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อขอพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตและเปิดการประมูลจ้างช่างก่อสร้าง ผู้ชนะคือ นายเหยี่ยว ยี่ห้อฟุกกี่ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2464 และแล้วเสร็จในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2465[7]
ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 ได้ดำเนินการย้ายกองบินใหญ่ที่ 1 จากดอนเมืองมาประจำการที่ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ ด้วยรถไฟสายใต้ และเปิดที่ทำการที่ว่าการกองบินใหญ่ที่ 1 วันแรกเมือวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2465[7]
จากนั้น กองบินใหญ่ที่ 1 ได้ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ณ สนามบินเขาพระบาทน้อย จังหวัดลพบุรี เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม เหมาะกับการใช้เป็นโรงเรียนการบินยิงปืนและทิ้งระเบิดมากกว่า กองบินใหญ่ที่ 1 จึงย้ายออกจากฐานบินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 และใช้งานฐานบินเป็นโรงเรียนการบินยิงปืนแทน[7]
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2469 โรงเรียนการบินยิงปืนได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองโรงเรียนการบินที่ 2 ขึ้นตรงต่อเจ้ากรมอากาศยาน มีภารกิจในการฝึกการใช้อาวุธยิงทางอากาศให้กับนักบินทุกประเภท ผู้ทำหน้าที่ตรวจการณ์ ผู้ยิงปืนหลัง และผู้ทิ้งลูกระเบิด[8] และเปลี่ยนชื่อเป็น กองบินน้อยที่ 5 ในปี พ.ศ. 2479[9]
ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นอีกหนึ่งจุดปะทะในการยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่นบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเรือลำเลียงพลของกองทัพญี่ปุ่นได้ลอยลำซุ่มอยู่ด้านหลังเขาล้อมหมวก และระบายพลยกพลขึ้นบกบริเวณตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพผ่านไปยังประเทศพม่าผ่านทางด่านสิงขรและได้ปะทะกับทหารประจำการของกองบินน้อยที่ 5 ในฐานบินประจวบคีรีขันธ์เพื่อต้านทางกองกำลังญี่ปุ่นกว่า 36 ชั่วโมง จนกระทั่งการเจรจายุติ รัฐบาลไทยยอมให้รัฐบาลญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านการปะทะสู้รบจึงยุติลง และมีการสร้างอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493[10]
กระทั่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกองทัพอากาศ โดยกองบินน้อยที่ 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 5 และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยประจำฐานบินประจวบคีรีขันธ์อีกหลายครั้ง ได้แก่ พ.ศ. 2520 เปลี่ยนชื่อเป็น กองบิน 53 และ พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นกองบิน 5 อีกครั้งเพื่อเชิดชูเกียรติให้กับวีรชนนเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ที่ได้ต่อสู้กับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกจนกระทั่งรัฐบาลไทยประกาศให้ญี่ปุ่นสามารถเคลื่อนทัพผ่านประเทศไทยได้[11]
บทบาทและปฏิบัติการ
[แก้]กองทัพอากาศไทย
[แก้]ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 5 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการพิเศษ[4]รวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติกิจพิเศษ[5] ซึ่งฐานบินประจวบคีรีขันธ์ประกอบไปด้วยเครื่องบินโจมตีและธุรการ 1 ฝูงบิน คือ
- ฝูงบิน 501 เป็นฝูงบินประจำการเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ 2 (บ.จธ.2) เอยู-23 พีซเมกเกอร์[12]
- หน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวง[13] เป็นหน่วยปฏิบัติการที่นำเครื่อง เอยู-23 พีซเมกเกอร์ ไปวางกำลังเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงยังฐานบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ ทั่วประเทศ เช่น กองบิน 1[14] กองบิน 23[13]
- กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 5 เป็นกำลังกองรักษาการณ์ฐานบินประจวบคีรีขันธ์หลักในการป้องกันฐานบิน
และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ และกองร้อยทหารสารวัตร[10]
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
[แก้]ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดโดยรอบ หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน[15]
หน่วยในฐานบิน
[แก้]หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินประจวบคีรีขันธ์ ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
กองทัพอากาศ
[แก้]กองบิน 5
[แก้]- ฝูงบิน 501 – เอยู-23 พีซเมกเกอร์[12]
- หน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวง[13]
- หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[17]
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
[แก้]ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้
[แก้]- หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ – เซสนา 208 คาราวาน[15]
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นฐานบินหลักของกองบิน 5 เนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่[9] มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในกองบิน ดังนี้
ลานบิน
[แก้]ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ประกอบไปด้วย
- ทางวิ่งแรกความยาว 2,000 เมตร (6,562 ฟุต) ความกว้าง 40 เมตร (131 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 17 ฟุต (5.2 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 08/26 หรือ 082° และ 262° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[3]
- ทางวิ่งที่สองความยาว 1,050 เมตร (3,445 ฟุต) ความกว้าง 40 เมตร (131 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 17 ฟุต (5.2 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[3]
โรงพยาบาลกองบิน 5
[แก้]โรงพยาบาลกองบิน 5 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 5 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 30 เตียง[18] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[10]
สนามกอล์ฟกองบิน 5
[แก้]สนามกอล์ฟกองบิน 5 หรือสนามกอล์ฟอ่าวมะนาว เป็นสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุม ให้บริการข้าราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวในการเข้ามาใช้บริการภายในฐานบินประจวบคีรีขันธ์[19]
อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484
[แก้]พิกัด | 11°47′12″N 99°48′39″E / 11.78662°N 99.81080°E |
---|---|
ที่ตั้ง | กองบิน 5 |
ประเภท | อนุสาวรีย์ |
สร้างเสร็จ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 |
อุทิศแด่ | การต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 |
ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 สร้างขึ้นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับการต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นประมาณ 4,000 นายที่ยกพลขึ้นบกในพื้นที่ตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาวเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และปะทะกับกำลังพลกองทัพอากาศที่ประจำการอยู่ที่กองบินน้อยที่ 4 เป็นระยะเวลานานกว่า 36 ชั่วโมงจนกระทั่งรัฐบาลไทยประกาศให้ยุติการสู้รบเนื่องจากได้เจรจากันและยอมเป็นพันธมิตรกัน ผลการสู้รบกำลังพลฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตระหว่างการรบ 217 นาย และเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีกประมาณ 200 นาย ขณะที่ฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 คน ประกอบไปด้วย ทหารอากาศ 38 นาย ตำรวน 1 นาย ลูกเสือ 1 คน ครอบครัวกำลังพล 2 คน รวมถึงมีกำลังพลของตำรวจเสียชีวิตในการปะทะในอำเภอเมืองอีก 14 นาย
จากวีรกรรมดังกล่าวทำให้ทุกวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี กองทัพอากาศจะประกอบพิธีวางพวงมาลาบริเวณอนุสาวรีย์และบำเพ็ญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต ซึ่งได้อัญเชิญอัฐิของวีรชนจากอนุสาวรีย์กองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองมาไว้ยังอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 เมื่อปี พ.ศ. 2532
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
- ↑ "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Aedrome/Heliport VTBP". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-11-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ 4.0 4.1 "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
- ↑ "ติดต่อเรา | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "ประวัติศาสตร์กองบิน 4". wing4.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-25. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ "Bloggang.com : : Insignia_Museum :". BlogGang.
- ↑ 9.0 9.1 "กองบิน5". www.prachuaptown.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 12.0 12.1 หนึ่ง (2022-11-24). "ฝูงเดียวในโลก! ทอ.โชว์เครื่องบิน Peacemaker ครบ 50 ปี ปรับปรุงใช้งานได้อีก 15 ปี".
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "กองบิน 5 ประจวบคีรีขันธ์ ส่งพีชเมกเกอร์ 5 ลำ ทำฝนหลวงแก้ภัยแล้งในพื้นที่ภาคอีสาน". www.opt-news.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กองบิน 5 ส่งพีชเมกเกอร์ 3 ลำ เปิดปฏิบัติการฝนหลวง แก้ภัยแล้งภาคอีสาน". สยามรัฐ. 2023-03-28.
- ↑ 15.0 15.1 "เริ่มแล้วปฏิบัติการฝนหลวงประจวบฯ เพชรบุรี ชุมพร แก้ปัญหาภัยแล้ง". mgronline.com. 2024-04-20.
- ↑ "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
- ↑ ข้อมูลเพื่อการพัฒนา (PDF). สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-26. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ "สนามกอล์ฟ | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)