ญาฮิลียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ญาฮิลียะฮ์ (อาหรับ: جَاهِلِيَّة jāhilīyah, "อวิชชา") เป็นแนวคิดของศาสนาอิสลามที่กล่าวถึงยุคในคาบสมุทรอาหรับก่อนที่ศาสนาอิสลามจะถือกำเนิดใน ค.ศ. 610[1] มักจะถูกแปลเป็น "ยุคแห่งความโง่เขลา"[1] ในปัจจุบัน นักคิดอิสลามส่วนใหญ่มักใช้วิจารณ์สิ่งที่ไม่ใช่อิสลามในที่สาธารณะและส่วนตัวของโลกมุสลิม[2] ดังเช่นในผลงานของซัยยิด อะบุล อะลา เมาดูดีย์ ผู้ที่มองสมัยปัจจุบันว่าเป็น “ญาฮิลียะฮ์สมัยใหม่”[3] ส่วนกลุ่มพวกหัวรุนแรงมองว่าจะต้องต่อสู้กับระบอบฆราวาส เหมือนกับการญิฮาดต่อญาฮิลียะฮ์.[3]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า ญาฮิลียะฮ์ เป็นรากศัพท์จากคำว่า ญะฮะละ ซึ่งแปลว่า "ความเขลาหรือความโง่, ทำตัวงี่เง่า".[4]

ในอัลกุรอาน[แก้]

คำว่า ญาฮิลียะฮ์ ถูกใช้ในอัลกุรอาน และการแปลมัน จะขึ้นอยู่กับศัพท์ที่ถูกกล่าวถึงมัน:

  • (3:154) แล้วพระองค์ก็ทรงประทานแก่พวกเจ้า ซึ่งความปลอดภัย หลังจากความเศร้าโศกนั้น คือให้มีการงีบหลับครอบคลุมกลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งนั้น ตัวของพวกเขาเองทำให้พวกเขากกระวนกระวายใจ พวกเขากล่าวหาอัลลอฮ์ โดยปราศจากความเป็นธรรมอย่างพวกสมัยงมงาย (อัลญาฮิลียะฮ์)...
  • (5:50) ข้อตัดสินสมัยญาฮิลีญะฮ์ กระนั้นหรือ ที่พวกเขาปรารถนา? และใครเล่าที่จะมีข้อตัดสินดียิ่งกว่าอัลลอฮ์สำหรับกลุ่มชนที่เชื่อมั่น?
  • (33:33) และจงอยู่ในบ้านเรือนของพวกเธอและอย่าได้โออวดความงาม (ของพวกเธอ) เช่น การอวดความงาม (ของพวกสตรี) แห่งสมัยงมงายในยุคก่อน...
  • (48:26) ขณะที่พวกปฏิเสธศรัทธาได้ทำให้ความหยิ่งยะโสมีขึ้นในจิตใจของพวกเขา ซึ่งเป็นความหยิ่งยะโสในสมัยแห่งความงมงาย...

มุมมองประวัติศาสตร์[แก้]

ญาฮิลียะฮ์มักจะใช้กับวัฒนธรรมอาหรับก่อนการมาของศาสนาอิสลาม

ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะมานั้น เผ่าอาหรับยังเป็นพวกเร่ร่อน ที่มีกฎสังคมเป็นของตนเอง และมักบูชาเทพหลายองค์ ถึงแม้ว่าจะมีการนับถือเอกเทวนิยมก็ตาม ความเชื่อส่วนใหญ่จะอยู่กับการบูชารูปปั้น[5] และจะมีการรวมตัวกันทุกปีรอบ ๆ กะอ์บะฮ์เพื่อการค้าขายและการแลกเปลี่ยน.

ถ้าใช้ในเชิงลึกแล้ว คำนี้มักจะใช้เป็นสภาพสังคม ไม่ใช่สมัยทางประวัติศาสตร์[6] โดยคำนี้มักใช้อธิบายถึงยุคแห่งความโง่เขลาและมืดมิดซึ่งนำไปสู่การมาของอิสลาม และมันมักใช้สำหรับผู้ที่ไม่ยอมรับความศรัทธาของมุสลิมในแบบทั่วไป

ญาฮิลียะฮ์สมัยใหม่[แก้]

ในประเทศอียิปต์ ซัยยิด กุฏบ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มะอาลิม ฟิตเฏาะรีก (معالم في الطريق‎; Milestones) ไว้ว่า "ประชาคมมุสลิมได้สูญพันธ์ไปในไม่กี่ศตวรรษที่แล้ว"[7]

กลุ่มกุตบิตซึมอธิบายว่าการกลับมาของ ญาฮิลียะฮ์ นั้นมาจากการไม่มีกฎชะรีอะฮ์ ซึ่งถ้าไม่มีมัน อิสลามก็จะอยู่ไม่ได้[8] และอิสลามที่แท้จริงคือระบบที่ไม่มีที่ว่างให้กับญาฮิลียะฮ์โดยสมบูรณ์,[9] ทุกรูปแบบของญาฮิลียะฮ์ ("มารยาท, ไอเดียและแนวคิด, กฎหมายและกฎข้อบังคับ, คุณค่าและบรรทัดฐาน") นั้น "ชั่วร้ายและไม่บริสุทธิ์";[10] และนักสมคบคิดชาวยิวและตะวันตกร่วมมือกันทำลายอิสลาม[11] เป็นต้น.

ฮิซบุตตะฮ์รีร (حزب التحرير) กลุ่มอิสลามนิยม ได้กล่าวถึงแนวคิดของรัฐเคาะลีฟะฮ์ไว้ว่าโลกมุสลิมอยู่ในยุคญาฮิลียะฮ์ตั้งแต่รัฐเคาะลีฟะฮ์สุดท้ายถูกยุบลงในปีค.ศ.1924 และสังคมมุสลิมจะไม่ได้ถูกปลดปล่อยจากมันจนกว่าระบอบเคาะลีฟะฮ์จะถูกฟื้นฟู[12][13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Eleanor Abdella Doumato (rev. Byron D. Cannon) (2009). "Jāhilīyah". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press.
  2. Eleanor Abdella Doumato (rev. Byron D. Cannon) (2009). "Jāhilīyah". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press. Since the twentieth century various movements, some with quite clear political agendas, have used the concept of Jāhilīyah to refer to what they deem to be an un-Islamic state of affairs affecting both private and public life in the Muslim world generally.
  3. 3.0 3.1 Jahiliyyah เก็บถาวร 2010-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Oxford Dictionary of Islam
  4. Amros, Arne A. & Stephan Pocházka. (2004). A Concise Dictionary of Koranic Arabic, Reichert Verlag, Wiesbaden
  5. Ali Tajddin S. Ali, Mumtaz. "Jahiliyya".
  6. Colla, Elliott (2007). Conflicted antiquities: Egyptology, Egyptomania, Egyptian modernity. U.S.A: Duke University Press. pp. 265, 266.
  7. Qutb, Milestones, p. 9
  8. Qutb, Milestones, p.9, 82
  9. Qutb, Milestones, p.32, 47
  10. Qutb, Milestones, p.9, 132
  11. Qutb, Milestones, p.110-111, 114, 116
  12. "The Re-establishment of the Khilafah is an obligation upon all Muslims". khilafah.com. 24 June 2007. สืบค้นเมื่อ 5 April 2016.
  13. Baran, Zeyno (December 2004). "Hizb ut-Tahrir: Islam's Political Insurgency" (PDF). Nixon Center. p. 18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-30.
  • Qutb, Sayyid (2006). Milestones (PDF). Maktabah. สืบค้นเมื่อ 5 April 2016.

สารานุกรม[แก้]

  • Dr. Hina Azam. "Terrorism: A Return to Jahiliyya". alt.muslim. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-20. สืบค้นเมื่อ 2005-12-01.
  • Kepel, Gilles (1985). The Prophet and Pharaoh: Muslim Extremism in Egypt. Al Saqi. ISBN 0-86356-118-7.
  • Qutb, Sayyid (1981). Milestones. Mother Mosque Foundation.
  • Sivan, Emmanuel (1985). Radical Islam : Medieval Theology and Modern Politics. Yale University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • นิยามแบบพจนานุกรมของ jahiliyyah ที่วิกิพจนานุกรม