ข้ามไปเนื้อหา

ชาวยิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยิว
יְהוּדִים‬ (เยฮ์อูดิม)
ดาราแห่งดาวิด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวยิว
ประชากรทั้งหมด
14.6–17.8 ล้านคน

ประชากรเพิ่มขึ้น (รวมถึงเชื้อสายยิวทั้งหมดหรือบางส่วน):
20.7 ล้านคน[1]

(2018, ประมาณ)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อิสราเอล6,558,000–6,958,000[1]
 สหรัฐ5,700,000–10,000,000[1]
 ฝรั่งเศส453,000–600,000[1]
 แคนาดา391,000–550,000[1]
 สหราชอาณาจักร290,000–370,000[1]
 อาร์เจนตินา180,000–330,000[1]
 รัสเซีย172,000–440,000[1]
 เยอรมนี116,000–225,000[1]
 ออสเตรเลีย113,000–140,000[1]
 บราซิล93,000–150,000[1]
 แอฟริกาใต้69,000–80,000[1]
 ยูเครน50,000–140,000[1]
 ฮังการี47,000–100,000[1]
 เม็กซิโก40,000–50,000[1]
 เนเธอร์แลนด์30,000–52,000[1]
 เบลเยียม29,000–40,000[1]
 อิตาลี28,000–41,000[1]
 สวิตเซอร์แลนด์19,000–25,000[1]
 ชิลี18,000–26,000[1]
 อุรุกวัย17,000–25,000[1]
 ตุรกี15,000–21,000[1]
 สวีเดน15,000–25,000[1]
ภาษา
ศาสนา
ยูดาห์
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง

ยิว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (อังกฤษ: Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนาพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่น ๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ตามคัมภีร์โตราห์ของศาสนายูดาห์ (พระคริสตธรรมคัมภีร์เดิม) ซึ่งเป็นคัมภีร์ศาสนาของชาวยิวหรือชาวฮิบรู กล่าวว่าประวัติศาสตร์ของชาวยิวและศาสนานี้เริ่มต้นที่ชายชื่อ อับราฮัม (นบีอิบรอฮีม) ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองคลาเดียบาบิโลน ณ ขณะนั้นเมืองสำคัญต่าง ๆ มีการนับถือรูปเคารพ และเทพเจ้าของตนเอง แต่อับราฮัมคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริงจะมีเพียงพระองค์เดียว เขาได้พบพระเจ้าและพระองค์ทรงให้อับราฮัมและครอบครัวจึงได้ออกเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญาที่พระองค์จะประทานให้เขาและเชื้อสายของเขา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเชื้อชาติอิสราเอล และศาสนาใหม่ที่รู้ว่ามีพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้พระองค์เดียว

ไบเบิลและอัลกุรอานได้บอกเล่าเรื่องของชาวยิวหรือลูกหลานของอิสราเอล ซึ่งเป็นบุตรของยิตซ์ฮาก (นบีอิสฮาก) บุตรของอับราฮัม เริ่มจากอับราฮัมได้ลูกชายตามที่พระเจ้าทรงประทานให้ที่กำเนิดกับนางซาร่าชื่อว่า อิสอัคหรือไอเซ๊ค (Isaac) ซึ่งอิสอัคต่อมาได้มีบุตร 2 คนคือ เอซาว และจาขอบ (Jacob) โดยเฉพาะจาขอบ (นบียะห์กูบ) ผู้เป็นน้องได้พบชายคนหนึ่งที่เปนีเอล เขามองไม่เห็นใบหน้าแต่ปล้ำสู้จนเกือบรุ่งสาง และจาขอบได้ถามชื่อบุรุษผู้นั้นไม่ตอบ แต่เขาได้บอกว่าแต่นี้ต่อไปจาขอบจะได้ชื่อใหม่ว่า อิสราเอล ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปล้ำสู้พระเจ้า และก่อนที่จาขอบจะปล่อยชายคนนั้นไปจาขอบบอกว่า "โปรดอวยพรให้เขาก่อนแล้วจึงจะปล่อย" ซึ่งจาขอบหรือชื่อใหม่ว่าอิสราเอล เขามั่นใจว่าเขาพบพระเจ้าจริง ๆ

เชื้อสายจาขอบหรืออิสราเอลมี 12 คน หนึ่งในนั้นคือโยเซฟ (นบียูซุฟ) ไปอยู่ที่อาณาจักรของชาวอียิปต์ แต่ต่อมาสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ลูกหลานของอิสราเอลได้ถูกกดขี่จนกระทั่งต้องกลายเป็นทาสรับใช้ถึง 400 ปี ช่วงนั้นจะเรียกเชื้อสายอิสราเอลว่าฮีบรู จนกระทั่ง โมเสส (นบีมูซา) ลูกชาวฮีบรูที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยภรรยาของฟาโรห์จนกลายเป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์ ได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดแอกชาวยิวในอียิปต์โดยให้พาชาวอิสราเอลหรือฮีบรู ออกเดินทางจากเมือง เพื่อกลับไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญา แม้จะถูกกองทัพแห่งอียิปต์ขัดขวาง แต่พระเจ้าได้เปิดทะเลแดง โดยผ่านไม้เท้าของโมเสส ให้ชาวอิสราเอลผ่านไปได้ และกลับไหลท่วมทหารอียิปต์ที่ตามมาโจมตี จากนั้นระหว่างทางที่โมเสสพาชาวฮีบรูกลับไปยังแผ่นดินแดนของบรรพบุรุษ เขาไปพบกับพระเจ้าบนภูเขาไสไน (ซีนาย) และได้รับบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า แต่เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้า จึงถูกลงโทษให้หลงทางในทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปี หลังจากที่เดินทางกลับเข้าสู่คานาอันหรือดินแดนแห่งพันธสัญญาแล้ว โมเสสได้เสียชีวิตลง แต่ลูกหลานชาวฮีบรูก็ได้อาศัยอยู่ในเมืองคานาอันหรืออิสราเอลต่อมา

ชนชาติอิสราเอลได้ก่อสร้างชาติจากชนเผ่าเชื้อสายของจาขอบหรืออิสราเอลทั้ง 12 เผ่า ช่วงนั้นจะเรียกว่า เลวี เบนยามิน และยูดาห์ กษัตริย์เดวิดก็กำเนิดในชนเผ่านี้ ชนชาติฮิบรูในช่วงที่มีกษัตริย์ได้ตกเป็นทาสของบาบิโลน และเปอร์เซีย และหลังจากถูกจับเป็นเชลยอยู่หลายปีได้เดินทางกลับไปสร้างชาติอีกครั้ง จนมาถึงสมัยพันธสัญญาใหม่ กองทัพโรมมหาอำนาจของโลกได้เข้ายึดกรุงเยรูซาเล็ม ช่วงสุดท้ายก่อนอิสราเอลจะสิ้นชาติ พระคริสต์ได้ประสูติ และบอกว่าพระองค์คือบุตรของพระเจ้า จนนำไปสู่การตรึงกางเขนโดยสาวกของพระองค์ที่ชื่อยูดัส เอสคาริโอ

ซึ่งในตอนนั้นก่อนที่ชนชาติอิสราเอลจะสิ้นชาติในปีคริสต์ศักราช 70 ชาวอิสราเอล หรือ ฮีบรู ที่เชื่อในพระคริสต์จะถูกแยกออกจากชาวอิสราเอลที่นับถือลัทธิยูดาย และการประกาศพระกิติคุณพระเจ้าได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเชื่อในพระองค์ ซึ่งอิสราเอลในตอนนั้นเขาเชื่อว่าเขาคือชนชาติที่พระเจ้าเลือก และ รู้จักพระเจ้า ชาวต่างชาติเป็นแค่สุนัขตัวหนึ่งไม่สมควรที่จะรู้จักพระเจ้าผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ คำว่ายิวจึงน่าจะเริ่มมีการถูกเรียกกันในช่วงนั้น ซึ่งหมายถึงเป็นเชิงต่อต้านพวกอิสราเอลในด้านความเชื่อ สังคม และ อะไรหลาย ๆ อย่าง เพราะในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ได้บันทึกหรือเขียนคำว่ายิวเลย นอกจากคำว่า พระเจ้าของชนชาติอิสราเอล หรือ ชนชาติฮีบรู คำว่ายิวนั้น มาจากพวกฮีบรูเผ่ายูดา [Judah tribe] ที่อาศัยอยู่แผ่นดินยูเดีย [Judea] แถวเยรูซาเลมก่อน อาณาจักรยูดาจะล่มสลาย

หลังจากโรมเข้าถล่มเยรูซาเล็มจนพินาศแล้ว ชาวอิสราเอลได้กระจัดกระจายไปสู่ในที่ต่าง ๆ ซึ่งตรงตามพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ดาบจะไล่ตามหลังพวกยิว ส่วนดินแดนคานาอันแผ่นดินน้ำผึ้งและน้ำนมบริบรูณ์นี้จะแห้งแล้ง และถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งไม่ว่า อาณาจักรโรม อาณาจักรคอนสแตนติน และกองทัพมุสลิมเข้ายึดครอง สงครามแย่งชิงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นชาวยิว เช่น สงครามครูเสด ซึ่งแต่ละครั้งทำให้ชาวยิวได้ตกไปเป็นเชลย ต้องถูกฆ่า และต้องอพยพไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย และทวีปอเมริกา แต่ชาวยิวก็ยังยึดมั่นในพันธสัญญาระหว่างพวกเขาและพระเจ้า ที่ว่า พระเจ้าจะนำพวกเขากลับไปยังดินแดนที่พระเจ้าเลือกไว้ คือ อิสราเอล

ชาวยิวในประวัติศาตร์ได้รับความทุกข์ทรมารจากสงครามมากมายหลายครั้ง ไม่ว่าจากกองทัพบาบิโลน เปอร์เซีย กองทัพโรม สงครามศักดิ์สิทธิ์ แต่ครั้งที่สำคัญและโลกไม่สามารถลืมความโหดร้ายได้คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฮิตเลอร์และพรรคนาซี ซึ่งยิวถูกฆ่าไปทั้งหมด ประมาณ 6.6 ล้านคน

ในที่สุดความพยายามของชาวยิวที่จะก่อตั้งรัฐอิสระ ก็ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษซึ่งในตอนนั้นอังกฤษมีอิทธิพลในดินแดนปาเลส์ไตน์ อนุญาตให้ชาวยิวให้กลับเข้าไปในปาเลสไตน์อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็คือประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน พวกเขาได้ใช้ข้อความในพระคัมภีร์ มาอ้างความเป็นเจ้าของซึ่งชนพื้นเมืองที่มีอยู่ก่อนคือชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับในละแวกนั้นไม่เห็นด้วย จนเกิดความรุนแรงทุกรูปแบบในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งแผ่นดินแห่งนี้

ที่น่าทึ่งคือพวกเขาก่อร่างสร้างเมือง เปลี่ยนทะเลทรายที่แห้งแล้งให้เป็นพื้นที่การเกษตรเขียวชะอุ่มตรงตามพระคำภีร์ไบเบิ้ลที่บอกว่าพวกเขาจะกลับมารวมชาติและทำให้ดินแดนนี้มีชีวิตอีกครั้ง ทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวอิสราเอล ต่อสู้เพื่อปกป้องและขยายดินแดนไปอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงหลายต่อหลายครั้งโดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา

แม้ในปัจจุบันก็ยังมีกรณีพิพาทในดินแดนฉนวนกาซ่าและเขตชายฝั่งตะวันตก (เวสแบงค์) ระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ซึ่งสหประชาชาติล้มเหลวอย่างสมบูรณ์ ทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติ หรือจะเห็นสันติภาพยังนับว่าห่างไกลเหลือเกิน

ภาษาของชาวยิวคือภาษาฮิบรู และยังใช้เป็นภาษาในพิธีกรรมทางศาสนาของหมู่ชาวยิวตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 Dashefsky, Arnold; Della Pergola, Sergio; Sheskin, Ira, บ.ก. (2018). World Jewish Population (PDF) (Report). Berman Jewish DataBank. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  2. "Links". Beth Hatefutsoth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  3. Kiaris, Hippokratis (2012). Genes, Polymorphisms and the Making of Societies: How Genetic Behavioral Traits Influence Human Cultures. Universal Publishers. p. 21. ISBN 978-1-61233-093-8.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Shen, Peidong; Lavi, Tal; Kivisild, Toomas; Chou, Vivian; Sengun, Deniz; Gefel, Dov; Shpirer, Issac; Woolf, Eilon; Hillel, Jossi; Feldman, Marcus W.; Oefner, Peter J. (September 2004). "Reconstruction of patrilineages and matrilineages of Samaritans and other Israeli populations from Y-Chromosome and mitochondrial DNA sequence Variation". Human Mutation. 24 (3): 248–260. doi:10.1002/humu.20077. ISSN 1059-7794. PMID 15300852. S2CID 1571356.
  5. 5.0 5.1 Ridolfo, Jim (2015). Digital Samaritans: Rhetorical Delivery and Engagement in the Digital Humanities. University of Michigan Press. p. 69. ISBN 978-0-472-07280-4.
  6. Wade, Nicholas (9 June 2010). "Studies Show Jews' Genetic Similarity". The New York Times.
  7. Nebel, Almut; Filon, Dvora; Weiss, Deborah A.; Weale, Michael; Faerman, Marina; Oppenheim, Ariella; Thomas, Mark G. (December 2000). "High-resolution Y chromosome haplotypes of Israeli and Palestinian Arabs reveal geographic substructure and substantial overlap with haplotypes of Jews". Human Genetics. 107 (6): 630–641. doi:10.1007/s004390000426. PMID 11153918. S2CID 8136092.
  8. 8.0 8.1 "Jews Are The Genetic Brothers Of Palestinians, Syrians, And Lebanese". Sciencedaily.com. 9 May 2000. สืบค้นเมื่อ 12 April 2013.
  9. Atzmon, Gil; Hao, Li; Pe'er, Itsik; Velez, Christopher; Pearlman, Alexander; Palamara, Pier Francesco; Morrow, Bernice; Friedman, Eitan; Oddoux, Carole; Burns, Edward; Ostrer, Harry (June 2010). "Abraham's Children in the Genome Era: Major Jewish Diaspora Populations Comprise Distinct Genetic Clusters with Shared Middle Eastern Ancestry". The American Journal of Human Genetics. 86 (6): 850–859. doi:10.1016/j.ajhg.2010.04.015. PMC 3032072. PMID 20560205.

บรรณานุกรม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]