การผ่าท้องทำคลอด
Caesarean section | |
---|---|
ทีมสูติแพทย์กำลังผ่าท้องทำคลอดในโรงพยาบาลสมัยปัจจุบัน | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | ครรภ์เดี่ยว: O82 ครรภ์แฝด ผ่าท้องทั้งหมด: O84.2 |
ICD-9 | 669.7 |
การผ่าท้องทำคลอด (อังกฤษ: Caesarean section) หรือ ซี-เซกชัน (C-section) หรือ ซีซาร์ (Caesar) เป็นหัตถการทางศัลยศาสตร์กระทำโดยการผ่าที่บริเวณส่วนท้องของมารดา (ผ่าท้องและผ่ามดลูก) เพื่อให้ทารกในครรภ์คลอด มักทำเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดาหรือเด็ก แม้ในปัจจุบันจะมีการผ่าท้องทำคลอดตามความประสงค์ของมารดามากขึ้น[1][2][3] องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าอัตราการผ่าท้องทำคลอดควรทำต่อเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น[4] โดยปกติแล้วการผ่าท้องทำคลอดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง[5]
ชนิด
[แก้]การผ่าท้องทำคลอดมีหลายชนิด ความแตกต่างของแต่ละชนิดอยู่ที่แนวการผ่ามดลูกซึ่งไม่เกี่ยวกับรอยผ่าที่ผิวหนัง
- การผ่าท้องทำคลอดแบบดั้งเดิม (classical Caesarean section) เป็นการผ่าตามแนวตั้งตรงกลางของมดลูก ซึ่งให้พื้นที่กว้างในการทำคลอดทารก แต่ในปัจจุบันไม่นิยมทำเพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า
- การผ่าท้องทำคลอดชนิดตัดส่วนล่างของมดลูก (lower uterine segment section) เป็นหัตถการที่นิยมทำในปัจจุบัน เป็นการตัดในแนวขวางเหนือขอบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้เสียเลือดน้อยกว่า และเย็บซ่อมได้ง่ายกว่า
ข้อบ่งชี้
[แก้]การผ่าท้องทำคลอดควรทำต่อเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้ทารกหรือมารดามีความเสี่ยง มิใช่ว่าภาวะที่ระบุไว้ด้านล่างทั้งหมดที่เป็นข้อบ่งชี้บังคับ และในหลายกรณีที่สูติแพทย์จะต้องตัดสินให้มารดาได้ผ่าท้องทำคลอดเป็นรายๆ ไป ข้อบ่งชี้ของการผ่าท้องทำคลอด เช่น
ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บครรภ์และปัจจัยที่ขัดขวางการคลอดทางช่องคลอด เช่น
- การคลอดที่ใช้เวลานาน หรือการคลอดไม่ดำเนินต่อไป (การคลอดลำบาก)
- ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
- สายสะดือย้อย (cord prolapse)
- มดลูกแตก (uterine rupture)
- รกผิดปกติ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด หรือรกงอกติด
- ส่วนนำของทารกผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
- การชักนำการคลอดล้มเหลว
- การใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น ใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศล้มเหลว ในบางครั้งอาจมีการลองคลอดโดยใช้คีม/เครื่องสุญญากาศ และหากไม่สำเร็จจะเปลี่ยนไปผ่าท้องทำคลอดแทน
- ทารกตัวโต (macrosomia)
- ปัญหาของสายสะดือ เช่น หลอดเลือดสายสะดือห้อยต่ำ (vasa previa), รกหลายกลีบ (multi-lobate), รกหางว่าว (velamentous insertion)
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์ ภาวะที่เกิดก่อนหรือเกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ เช่น
- โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (pre-eclampsia)
- ความดันโลหิตสูง[6]
- แฝด
- เคยคลอดทารกที่มีความเสี่ยงสูง
- มารดาติดเชื้อเอชไอวี
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น เริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งอาจติดต่อไปยังทารกได้หากคลอดทางช่องคลอด แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาและไม่จำเป็นต้องผ่าท้องทำคลอด
- ประวัติเคยผ่าท้องทำคลอด (อาจมีข้อโต้แย้งได้ เช่นการคลอดทางช่องคลอดในมารดาที่เคยคลอดบุตรโดยการผ่าท้องมาก่อน (Vaginal birth after caesarean; VBAC))
- ปัญหาเดิมของการหายของแผลฝีเย็บ (จากการคลอดครั้งก่อนหรือเป็นโรคโครห์น (Crohn's Disease))
ประวัติศาสตร์
[แก้]มารดาของพระเจ้าพินทุสาร (เกิด พ.ศ. 223, ครองราชย์ พ.ศ. 246-270) ผู้เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์โมริยะ บังเอิญกินยาพิษและเสียชีวิตในขณะใกล้ถึงกำหนดคลอด จาณักยะผู้เป็นครูของพระเจ้าจันทรคุปต์ได้ตัดสินใจผ่าท้องของพระราชินีเพื่อรักษาชีวิตของทารกเอาไว้ จึงช่วยชีวิตของทารกผู้จะเติบโตมาเป็นพระเจ้าพินทุสารไว้ได้[7][8]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2551.
- Cesarean Section Video
- Cesarean Section With The Mobius Elastic Retractor Video
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fear a factor in surgical births - National - smh.com.au
- ↑ "Kiwi caesarean rate continues to rise - New Zealand news on Stuff.co.nz". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
- ↑ Finger, C. (2003). "Caesarean section rates skyrocket in Brazil. Many women are opting for Caesareans in the belief that it is a practical solution". Lancet. 362: 628. doi:10.1016/S0140-6736(03)14204-3. PMID 12947949.
- ↑ "Safe Prevention of the Primary Cesarean Delivery". American Congress of Obstetricians and Gynecologists and the Society for Maternal-Fetal Medicine. มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Pregnancy Labor and Birth". Office on Women’s Health, U.S. Department of Health and Human Services. 1 กุมภาพันธ์ 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Turner R (1990). "Caesarean Section Rates, Reasons for Operations Vary Between Countries". Fam Plann Perspect. 22 (6): 281–2. doi:10.2307/2135690.
- ↑ Wilhelm Geiger (1908). The Dīpavaṃsa and Mahāvaṃsa and their historical development in Ceylon. Ethel M. Coomaraswamy. H. C. Cottle, Government Printer, Ceylon. p. 40. OCLC 559688590.
- ↑ Lurie S (2005). "The changing motives of cesarean section: from the ancient world to the twenty-first century". Archives of Gynecology and Obstetrics. Springer. 271 (4): 281–285. doi:10.1007/s00404-005-0724-4. PMID 15856269.