กอบศักดิ์ ชุติกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอบศักดิ์ ชุติกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2519 – 2550)
คู่สมรสหม่อมหลวงลักษสุภา กฤดากร

ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทย และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2547 จาก พรรคชาติไทย

ประวัติ[แก้]

กอบศักดิ์ ชุติกุล เกิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายพยงค์ ชุติกุล และหม่อมราชวงศ์เลิศลักษณา ชยางกูร[1] เมื่อมีอายุ 1 ปี บิดาได้พาไปอยู่ที่โตเกียว พออายุได้ 4 ขวบ กลับมาเข้าเรียนที่โรงเรียนสมถวิล และได้ศึกษาต่อ ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์เทิร์น วอชิงตัน ดี.ซี. สมรสกับหม่อมหลวงลักษสุภา กฤดากร

การทำงาน[แก้]

กองศักดิ์ ชุติกุล เริ่มรับราชการเป็น เลขานุการตรี ประจำกรมการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2515 ต่อมาอยู่กองเอเชียตะวันออก รัฐบาลไทยกำลังจะเปิดสัมพันธ์กับจีน ถูกจับปลอมตัวแอบแฝงกับคณะนักกีฬาของไทยไปปักกิ่งหลายครั้ง จนเปิดสัมพันธ์ทางการทูตสำเร็จ เคยเป็นล่ามประจำตัวนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) เมื่อปี พ.ศ. 2521

ดำรงตำแหน่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคชาติไทย[2] เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544, รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่ 4 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ร่างคำแถลงลาออกของนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523, เลขานุการเอกสถานทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., เลขานุการเอกคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ, รองอธิบดีกรมการเมือง และขึ้นเป็นข้าราชการ ระดับ 10 เอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง ปี พ.ศ. 2531, เอกอัครราชทูต สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงปราก ปี พ.ศ. 2533, เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเชกและสโลวัก ปี พ.ศ. 2534 และเป็น อธิบดีกรมอาเซียน ปี พ.ศ. 2537, อธิบดีกรมเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2538, อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ, อธิบดีกรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2542, กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544

ในกลางปี พ.ศ. 2547 ดร.กอบศักดิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนจากนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯคนก่อน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒