กบฏพี่น้องจึง
หน้าตา
กบฏพี่น้องจึง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การขยายอาณาเขตไปทางใต้ของราชวงศ์ฮั่น | |||||||
กบฏพี่น้องจึงปรากฏในภาพวาดโดงหอชื่อว่า "จึงเวืองจื่อสักฮ้าน " (Trưng Vuơng trừ giặc Hán; 徴王除賊漢 เจิงหวางฉูเจ๋ย์ฮั่น - ราชินีจึงกำจัดข้าศึกชาวฮั่น) จึง จั๊ก (Trưng Trắc; 徴側 เจิง เช่อ) นั่งบนหลังช้างเผือก และจึง หญิ (Trưng Nhị; 徴貳 เจิง เอ้อร์) นั่งบนหลังช้างดำ ติดตามมาด้วยทหารหลักเหวียต (Lạc Việt) ถืออาวุธ ทหารฮั่นล้มลงและถูกสังหาร เจ้าเมืองชาวฮั่นชื่อซู ติ้ง (蘇定) หันหลังมามองขณะวิ่งหนี ทั้งหมดสวมเครื่องแต่งกายที่ผิดยุคสมัย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ราชวงศ์ฮั่น | หลักเหวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
หม่า ยฺเหวียน[a] หลิว หลง |
จึง จั๊ก [b] จึง หญิ โด เดือง | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 20,000 นาย เรือหอ 2,000 ลำ[1] | ไม่ทราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทหารฮั่น ร้อยละ 40–50 (ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคระบาด)[2] |
ทัพพี่น้องจึง: • ถูกสังหารหลายพันนาย • มากกว่า 20,000 นายยอมจำนน[3][4] ทัพโด เดือง: • มากกว่า 5,000 นาย (มีทั้งที่ถูกสังหารและยอมจำนน)[3] • มากกว่า 300 นายถูกเนรเทศ[5] |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์เวียดนาม |
กบฏพี่น้องจึง (เวียดนาม: Khởi nghĩa Hai Bà Trưng; จีน: 二徵夫人起義) เป็นการก่อการกำเริบในภาคใต้ของประเทศจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นระหว่าง ค.ศ. 40 ถึง ค.ศ. 43
ในปี ค.ศ. 40 ผู้นำหญิงชาวเวียดนามจึง จั๊ก (Trưng Trắc) และน้องสาวจึง หญิ (Trưng Nhị) ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของจีนในเมืองเจียวจื่อ (ปัจจุบันคือภาคเหนือของประเทศเวียดนาม) ในปี ค.ศ. 42 ราชวงศ์ฮั่นส่งขุนพลหม่า ยฺเหวียนให้นำทัพไปปราบกบฏชาวหลักเหวียตของพี่น้องจึง ในปี ค.ศ. 43 กองทัพฮั่นปราบปรามกบฏและยึดอำนาจปกครองคืนมาได้อย่างสมบูรณ์ สองพี่น้องจึงถูกจับและถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยทัพราชวงศ์ฮั่น[6][7] แม้ว่าพงศาวดารของเวียดนามบันทึกถึงการพ่ายแพ้นี้ว่าสองพี่น้องจึงซึ่งพ่ายแพ้ต่อกองทัพราชวงศ์ฮั่นตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำฮ้าตกาง (Hát Giang) ไม่ยอมจำนนต่อราชวงศ์ฮั่น[8][9][10]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ขุนพลเรือหอตฺว้าน จื้อ (段志) ก็ได้รับมอบหมายให้นำทัพ แต่ป่วยเสียชีวิตก่อนที่ทัพของราชวงศ์ฮั่นจะเข้ารบกับทัพของพี่น้องจึง หม่า ยฺเหวียนจึงเข้าบัญชาการกองกำลังของตฺว้าน จื้อ[1]
- ↑ เจียวโจวไว่ยฺวี่จี้อ้างว่าสามีของจึง จั๊กเข้าร่วมในการก่อกบฏด้วย ส่วนโฮ่วฮั่นชูไม่ได้ระบุถึงว่าสามีของจึง จั๊กอยู่ที่ใดหรือทำอะไรในระหว่างหรือหลังการก่อกบฏ ดายเหวียตสื่อกี่ตว่านจืออ้างว่าสามีของจึง จั๊กถูกประหารชีวิตโดยซู ติ้งเจ้าเมืองของฝ่ายราชวงศ์ฮั่นก่อนการก่อกบฏจะเริ่มต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Hou Hanshuvol. 24 "Account of Ma Yuan"
- ↑ Hou Hanshu, vol. 24 "Account of Ma Yuan" quote: "軍吏經瘴疫死者十四五。"
- ↑ 3.0 3.1 Hou Hanshu, vol. 24 "Account of Ma Yuan"
- ↑ Hou Hanshu, vol. 22 "Account of Liu Long"
- ↑ Hou Hanshu, Vol. 86 "Account of the Southern Barbarians"
- ↑ Bielestein (1986), p. 271.
- ↑ Yü (1986), p. 454.
- ↑ http://www.informatik.uni-leipzig.de/~duc/sach/dvsktt/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-06. สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ Book 3: kỷ thuộc Tây Hán, kỷ Trưng Nữ Vương, kỷ thuộc Đông Hán, kỷ Sĩ Vương, book of History of Greater Vietnam (Đại Việt Sử Ký Toàn Thư)
บรรณานุกรม
[แก้]- Bielestein, Hans (1986), "Wang Mang, the restoration of the Han dynasty, and Later Han", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 223–290
- Brindley, Erica (2015). Ancient China and the Yue: Perceptions and Identities on the Southern Frontier, C.400 BCE-50 CE. Cambridge University Press. ISBN 978-1-10708-478-0.
- Churchman, Catherine (2016). The People Between the Rivers: The Rise and Fall of a Bronze Drum Culture, 200–750 CE. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-442-25861-7.
- Dutton, George Edson; Werner, Jayne Susan; Whitmore, John K. (2012). Sources of Vietnamese Tradition. Columbia University Press.
- Gilbert, Marc Jason (2007). "When Heroism is Not Enough: Three Women Warriors of Vietnam, Their Historians and World History". World History Connected. 4 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- Hood, Steven J. (2019). Dragons Entangled: Indochina and the China-Vietnam War. Taylor & Francis.
- Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press.
- Korolkov, Maxim (2021). The Imperial Network in Ancient China: The Foundation of Sinitic Empire in Southern East Asia. Taylor & Francis. ISBN 978-1-00047-483-1.
- Lai, Mingchiu (2015), "The Zheng sisters", ใน Lee, Lily Xiao Hong; Stefanowska, A. D.; Wiles, Sue (บ.ก.), Biographical Dictionary of Chinese Women: Antiquity Through Sui, 1600 B.C.E. - 618 C.E, Taylor & Francis, pp. 253–254, ISBN 978-1-317-47591-0
- Li, Tana (2011), "Jiaozhi (Giao Chỉ) in the Han Period Tongking Gulf", ใน Cooke, Nola; Li, Tana; Anderson, James A. (บ.ก.), The Tongking Gulf Through History, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press, pp. 39–53, ISBN 978-0-812-20502-2
- McKay, John P.; Hill, Bennett D.; Buckler, John; Crowston, Clare Haru; Hanks, Merry E. Wiesner; Ebrey, Patricia Buckley; Beck, Roger B. (2012). Understanding World Societies, Combined Volume: A Brief History. Bedford/St. Martin's. ISBN 978-1-4576-2268-7.
- Scott, James George (1918). The Mythology of all Races: Indo-Chinese Mythology. University of Michigan.
- Tai, Hue-Tam Ho (2001). The Country of Memory: Remaking the Past in Late Socialist Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-22267-0.
- Taylor, Keith Weller (1983). The Birth of Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-07417-0.
- Yü, Ying-shih (1986), "Han foreign relations", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 377–463