เอกซ์เจแปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก X Japan)
เอกซ์เจแปน
เอกซ์เจแปน ในปี พ.ศ. 2557
เอกซ์เจแปน ในปี พ.ศ. 2557
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อX, エックス
ที่เกิดจังหวัดชิบะ ญี่ปุ่น
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล, พาวเวอร์เมทัล, สปีดเมทัล, ซิมโฟนิกเมทัล, โพรเกรสซีฟเมทัล, แกลมเมทัล
ช่วงปีพ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงDada, Extasy, CBS/Sony, Ki/oon, เอ็มเอ็มจี, อีสต์เวสต์เตแปน, แอตแลนติก, Polydor, Tofu, EMI, วอร์เนอร์มิวสิกเจแปน
สมาชิกโทชิ - ร้องนำ
โยชิกิ - กลอง, เปียโน
พาตะ - กีตาร์
ซูกิโซะ - กีตาร์
อดีตสมาชิกไทจิ - เบส
ฮิเดะ - กีตาร์
ฮีท - เบส
เว็บไซต์www.xjapanmusic.com

เอกซ์เจแปน (อังกฤษ: X Japan, ญี่ปุ่น: エックス ジャパンโรมาจิekkusu japan) เป็นวงดนตรีเฮฟวีเมทัลชาวญี่ปุ่น จากจังหวัดชิบะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยโยชิกิ มือกลองของวง และโทชิ นักร้องนำ ด้วยแนวดนตรีพาวเวอร์เมทัล สปีดเมทัล ซิมโฟนิกเมทัล ซึ่งต่อมาวงได้หันไปในทางโพรเกรสซีฟเมทัล ด้วยเน้นด้วยแนวบัลลาด เอกซ์เจแปนเป็นวงที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงการเพลงของเพลงญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และเป็นวงที่ได้ชื่อว่าเป็นตำนานในวงการร็อกในประเทศญี่ปุ่น

เอกซ์เจแปนมีชื่อเดิมว่า เอกซ์ (ญี่ปุ่น: エックスโรมาจิekkusu) ออกอัลบั้มแรกชื่อว่า แวนิชชิงวิชัน เมื่อปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่วงมีสมาชิกที่ลงตัวแล้วอันประกอบไปด้วย มือกีตาร์เบส ไทจิ, มือกีตาร์นำ ฮิเดะ และมือจังหวะกีตาร์ พาตะ ซึ่งเป็นอัลบั้มภายใต้สังกัดของโยะชิกิเอง มีชื่อว่าเอกซ์ตาซีเรเคิดส์ (Extasy Records) และในปี พ.ศ. 2532 พวกเขาได้ประสบความสำเร็จ ด้วยผลงานชุดที่สองที่เป็นอัลบั้มเปิดตัวครั้งยิ่งใหญ่ มีชื่อว่า บลูบลัด หลังจากที่ออกอัลบั้ม เจลลัสซี ในปี พ.ศ. 2534 ไทจิ ได้ออกจากวงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2535 และมีฮีธมาทำหน้าที่แทน และเปลี่ยนชื่อวงเป็น เอกซ์เจแปน ก่อนที่จะทำผลงานอัลบั้ม อาร์ตออฟไลฟ์ ในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งมีเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับอัลบั้มและมีความยาว 29 นาทีเพียงแทร็กเดียว และในปี พ.ศ. 2538 พวกเขาได้ลดความเป็นวิชวลเคเดิมของพวกเขาลง เพื่อให้ดูสบายและเป็นสมัยนิยมมากขึ้น พร้อมทั้งออกอัลบั้ม ดาห์เลีย เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งคล้ายกับสองอัลบั้มที่แล้ว ต่อมาเอกซ์เจแปนได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายที่โตเกียวโดม ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540

10 ปีต่อมา เอกซ์เจแปนได้กลับมารวมตัวอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 และทำการอัดเพลงใหม่ "ไอ.วี." 2 ปีต่อมาวงได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตหลายแห่ง ได้แก่ ที่แรก คือ ฮ่องกง และได้สึกิโซะมาเป็นมือกีตาร์ของวงแทนที่ฮิเดะ ซึ่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541 ก่อนที่จะออกทัวร์ในอเมริกาเหนือในปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2554 วงได้ออกทัวร์รอบโลกครั้งแรกทั้งในยุโรป อเมริกาใต้และเอเชีย

เอกซ์เจแปนได้ออกผลงานเป็นสตูดิโออัลบั้ม 5 ชุด อัลบั้มบันทึกการแสดงสด 6 ชุด และซิงเกิล 21 ชุด อัลบั้มทั้งสามของวงได้ติดอันดับหนึ่งบนชาร์ตออริคอน และในปี พ.ศ. 2546 เอชเอ็มวีเจแปนได้จัดอันดับวงให้อยู่ในอันดับที่ 40 ในรายชื่อ 100 ศิลปินชาวญี่ปุ่นที่สำคัญที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 โรลลิงสโตนเจแปน ได้จัดอันดับให้อัลบั้ม บลูบลัด อยู่อันดับที่ 15 ใน 100 อัลบั้มร็อกญี่ปุ่นที่ดีที่สุดตลอดกาล[1] และมีรายงานว่าเอกซ์เจแปนมียอดจำหน่ายมากกว่า 30 ล้านแผ่น[2][3]

ประวัติ[แก้]

2520–2535: เอกซ์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2520 โยะชิกิ ฮะยะชิ และโทะชิมิสึ เดะยะมะ ได้ก่อตั้งวงดนตรีชื่อว่า ไดนาไมต์ (Dynamite) ที่บ้านเกิดของพวกเขา ทะเตะยะมะ เมื่อพวกเขาอายุได้แค่ 11 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 วงไดนาไมต์ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น นอยส์ (Noise) ขณะที่พวกเขายังเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยม ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 วงนอยส์ได้ถูกยกเลิก และได้ก่อตั้งวงใหม่โดยตั้งชื่อไว้ก่อนว่า เอกซ์ ขณะที่พวกเขากำลังคิดชื่อวงชื่ออื่น[4] ต่อมาวงเอกซ์ได้เริ่มดำเนินงานอย่างจริงจังในกรุงโตเกียวในปี พ.ศ. 2528 โดยมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาได้ออกซิงเกิลแรกของวงชื่อ "ไอล์คิลยู" เมื่อเดือนมิถุนายน ภายใต้สังกัดดาดาเรเคิดส์ซึ่งเป็นของวงเอง โดยจำหน่ายได้ 1,000 แผ่น และได้มีส่วนร่วมในแซมเพลอร์ Heavy Metal Force III ด้วยผลงานเพลง "Break the Darkness" ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีผลงานเพลงของวง Saver Tiger (ซึ่งมีฮิเดะเป็นสมาชิก) อยู่ในแซมเพลอร์ชุดนี้ด้วย[5][6] และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มือกีตาร์เบสวง Dementia ไทจิ ได้เข้ามาร่วมวงเอกซ์ แต่ได้ขอออกจากวงชั่วคราวหลังจากนั้นไม่นาน[7]

เพื่อความมั่นคงของวง โยะชิกิได้ก่อตั้งค่ายเพลงอิสระชื่อว่า เอกซ์ทาซีเรเคิดส์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 และออกซิงเกิลชุดที่สองของวง "ออแกซึม"[8] ต่อมาไทจิได้กลับเข้ามาร่วมวงอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน[7] เพลง "Stab Me in the Back" และ "No Connexion" ของวงเอกซ์ได้อยู่ในแซมเพลอร์ที่มีชื่อว่า Skull Thrash Zone Volume I ของวิกเตอร์เรเคิดส์ ซึ่งออกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 โดยได้ทำการบันทึกด้วยกันกับพาตะ (จากวง Judy) ซึ่งเป็นมือกีตาร์สนับสนุนของวง[9] ต่อมาไม่นาน ฮิเดะจากวง Saver Tiger ได้เข้าร่วมมาเป็นมือกีตาร์[7] และหลังจากที่พาตะได้เข้ามาสนันสนุนวง เขาก็ได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวงอย่างเป็นทางการในที่สุด[7]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530 พวกเขาได้ทำการแสดงที่งานร็อกมอนสเตอร์อีเวนต์ (Rock Monster event) ที่เกียวโตสปอตส์วัลเลย์ (Kyoto Sports Valley) และปล่อยวิดีโอแรกของวง Xclamation[7] ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 วงได้มีส่วนร่วมในการออดิชัน ที่จัดขึ้นโดยโซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เจแปน ทำให้วงได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงนี้ในเดือนสิงหาคมของปีต่อไป[5][7] และในขณะเดียวกันวงก็ได้ออกอัลบั้มแรกมีชื่อว่า แวนิชชิงวิชัน (Vanishing Vision) ผ่านเอกซ์ทาซีเรเคิดส์ (Extasy Records) เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2531 และออกทัวร์เพื่อสนันสนุนผลงาน[8] อัลบั้มนี้มียอดจำหน่ายอัลบั้ม 10,000 ชุดและจำหน่ายหมดภายในหนึ่งสัปดาห์ ติดอันดับหนึ่งบอนชาร์ตอินดีส์ของออริคอน และอยู่ในดับ 19 ในชาร์ตหลัก[7] ในเดือนพฤศจิกายน วงเอกซ์ได้มีส่วนร่วมในงานคอนเสิร์ตสตรีตไฟติงเมน (Street Fighting Men) ของนิตยสารดนตรี Rockin'f จัดขึ้นที่ Differ Ariake Arena[7]

บลูบลัดทัวร์ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม สองคอนเสิร์ตที่จำหน่ายหมดก่อนเวลา ได้แก่ การแสดงเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ชิบุยะพับลิกฮอลล์ (Shibuya Public Hall) ซึ่งในเวลาต่อมาได้ปล่อยโฮมวิดีโอออกมาชื่อ Blue Blood Tour Bakuhatsu Sunzen Gig[7] อัลบั้ม บลูบลัด ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 และเปิดตัวมาอยู่อันดับ 6 ในชาร์ตออริคอน ซิงเกิล "คุเระนะอิ" เข้ามาเป็นอันดับ 5 และวงได้ออกแสดงโรสแอนด์บลัดทัวร์ ซึ่งได้ถูกระงับไว้ชั่วคราวเมื่อโยชิกิทรุดตัวลงหลังจากคอนเสิร์ตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน[5] ความสำเร็จนี้ทำให้วงได้รับรางวัล "กรังปรีซ์ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี" (Grand Prix New Artist of the Year) ที่งานรับรางวัลแผ่นเสียงทองคำญี่ปุ่นครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2533[10] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เอกซ์ได้เดินทางไปยังลอสแอนเจลิสเพื่อที่จะเริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มชุดต่อมาชื่อว่า เจลลัสซี[5][11] เมื่อกลับมาประเทศญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน สมาชิก 500 คนจากกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้มาที่ท่าอากาศยานเพื่อมาควบคุมฝูงชนที่แน่นขนัด[5] อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และเปิดตัวมาอยู่ในอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่าย 600,000 แผ่น[12] ต่อมาได้รับการรับรองด้วยยอดจำหน่ายหนึ่งล้านแผ่นโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น (RIAJ)[13] ในเดือนสิงหาคม วงได้แสดงคอนเสิร์ตในร่มที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ที่โตเกียวโดม และได้มีรวมภาพจากการแสดงของวงในคอนเสิร์ตออกมาเป็นแผ่นซีดีและโฮมวิดีโอ การแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของทัวร์ไวโอเลนซ์อินเจลลัสซี (Violence in Jealousy) ซึ่งกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี และจัดขึ้นอีกครั้ง หลังจากงานแสดงดนตรีที่โยะโกะฮะมะอาเรนา (Yokohama Arena) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม[5] ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม เอกซ์ได้แสดงคอนเสิร์ตกับวงออเคสตรา ที่เอ็นเอชเคฮอลล์ (NHK Hall)[5]

2536–2540: เอกซ์เจแปน[แก้]

โลโก้วงเอกซ์เจแปน เริ่มใช้หลังจากเปลี่ยนชื่อวงในปี พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2535 X เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่น และพวกเขาเริ่มมีความคิดเข้าสู่ตลาดโลก ซึ่งขณะนั้นในสหรัฐอเมริกานั้นได้มีวงที่ชื่อ X อยู่แล้ว พวกเขาจังตัดสินใจเปลี่ยนชื่อวงจาก X เป็น X Japan และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่พวกเขาขาดมือเบส เนื่องจาก ไทจิ มือเบสคนเก่า ได้ออกจากวงไปแล้ว ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2535 และก็ได้ ฮีธ (ฮิโรชิ โมริเอะ) เข้ามาเป็นมือเบสคนใหม่ ส่วนไทจินั้น หลังจากออกจากวง X ก็ได้ออกไปอยู่กับวง Loudness ซึ่งเป็นวงอาจารย์ของเขาเอง

4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อัลบั้ม DAHLIA ออกวางจำหน่าย อัลบั้มนี้ออกวางจำหน่ายทั่วโลก ภายใต้สังกัด East West Japan

22 กันยายน พ.ศ. 2540 X Japan ประกาศยุบวงที่ตั้งมายาวนานถึง 15 ปี โดยประกาศการยุบวงที่โรงแรมมิยาโกะ ในการแถลงข่าวครั้งนี้มีสมาชิกที่มา 4 คน คือ โยชิกิ, ฮิเดะ, พาตะ และ ฮีธ ส่วน โทชิ นั้นได้ลาออกจากวงไปตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยให้เหตุผลว่า มีความแตกต่างทางด้านแนวความคิดทางด้านดนตรี X Japan ไม่สามารถเปลี่ยนนักร้องนำใหม่ได้เพราะส่วนใหญ่เพลงของ X Japan แต่งโดยใช้พื้นฐานเสียงของโทชิเป็นหลัก จากการพิจารณาของสมาชิกทุกคนที่เหลือในวงหลายครั้งจึงตัดสินใจประกาศยุบวง

2541–2550: หลังยุบวง[แก้]

หลายคนก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเองในส่วนนี้ ฮิเดะก็ได้ไปทำอัลบั้มของตนเองในชื่อฮิเดะวิธสเปรตบีเวอร์ส โดยมีพาตะมาช่วยบ้างครั้งคราว[14] และอัลบั้มของฮิเดะถือเป็นอัลบั้มเดี่ยวของสมาชิกวงที่มียอดขาย หรือยอดนิยมมากที่สุดในบรรดาคนอื่นๆ โทชิก็ได้ออกไปตามความฝันของตนเองที่ต้องการจะใช้ดนตรีบำบัดผู้คน โยชิกิก็ออกไปทำเพลงคลาสสิคตามแนวออร์เคสตรา รวมไปถึงการบรรเลงเพลงครบรอบการขึ้นสู่ราชบัลลังก์ 10 ปีให้กับจักรพรรดิเฮเซ ในชื่อ "Anniversary"[15] ในเดือนพฤษภาคม 1998 ฮิเดะได้เสียชีวิตลง ทุกคนในวงได้เข้าร่วมพิธีศพของเขา พิธีศพของฮิเดะมีคนเข้าร่วมมากกว่าห้าหมื่นคน[16]

2550–2551: การกลับมารวมวงใหม่[แก้]

ต้นปี พ.ศ. 2550 โทชิ นักร้องนำ ได้ออกมายืนยันการกลับมารวมตัวกันใหม่ของ X Japan ผ่านทางหน้าเว็บของเขาและบนนิตยสารเล่มหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการยืนยันจาก โยชิกิ หัวหน้าวงนั้น ยังไม่มีความแน่นอน เพราะทางโยชิกิยังคงเสียใจกับการตายของฮิเดะ และการแยกวงเมื่อสิบปีก่อน เขาเขียนในมายสเปซของเขาไว้เพียงว่า "ขอเวลาสักพัก" [17]

ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โยชิกิได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า กำลังทำโปรเจตท์เพลง "Without You" ซึ่งร้องให้ฮิเดะ ร่วมกับโทชิ และกำลังทาบทาม พาตะ และ ฮีธ เพื่อกลับมารวมตัวเป็น X Japan อีกครั้งนึง ซึ่งทางวงจะหานักกีตาร์ชื่อดังมาผลัดเปลี่ยนเล่นแทนตำแหน่งของฮิเดะ

ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550 X Japan ได้กลับมารวมตัวกันแสดงสดที่ Aqua City เมืองโอไดบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ เพลง I.V. เพลงประกอบของภาพยนตร์ Saw IV ที่กำลังจะออกฉายในประเทศญี่ปุ่น [18]

ล่าสุด วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 X Japan ได้ออกแถลงข่าวเรื่องคอนเสิร์ตที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน ในชื่อคอนเสิร์ตว่า X JAPAN ATTACKS AGAIN 2008


และในวันที่02/05/09 ได้เล่นเพลงใหม่ชื่อว่า"Jade"ในการแสดงที่โตเกียวโดม และยัง ได้รับ สึกิโซะ มือกีต้าร์ ของวง Luna Sea เข้าเป็น สมาชิกคนที่ 6 อีกด้วย

2551–2553: หยุดชะงัก, สึกิโซะเข้าร่วมวง และการแสดงต่างประเทศครั้งแรก[แก้]

2554–2557: เวิลด์ทัวร์ และเมดิสันสแควร์การ์เดน[แก้]

2558–ปัจจุบัน: อัลบั้มใหม่ และเจเปนทัวร์[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 โยะชิกิประกาศว่าสตูโออัลบั้มชุดที่ 6 ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกในรอบ 20 ปี จะออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559[19] ในวันต่อมาเอกซ์เจแปนได้ไปแสดงที่เวมบิอารีนา (Wembley Arena) ในลอนดอน ซึ่งจะมีการฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับทางวงชื่อว่า วีอาร์เอกซ์[19] ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม "บอร์นทูบีฟรี" ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[20]

การแสดงทัวร์ทั่วญี่ปุ่นครั้งแรกของเอกซ์เจแปนในรอบ 20 ปี เริ่มขึ้นด้วยการแสดง 3 วันติดกัน ที่โยะโกะฮะมะอารีนาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ต่อด้วยที่โอะซะกะโจฮอลล์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่มารีนเมสเซอฟุกุโอะกะ (福岡国際会議場) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ฮิโระชิมะกรีนอารีนา (広島県立総合体育館) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม และสิ้นสุดในวันที่ 14 ธันวาคม ที่นิปปอนไกชิฮอลล์ (名古屋市総合体育館)[21] และยังแสดงที่ โคฮะคุอุตะกัสเซ็น (Kōhaku Uta Gassen) เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปีอีกด้วย

ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 พาตะได้รับการรักษาที่ไอซียูของโรงพยาบาลโตเกียว เขาได้รับการวินิจฉัยว่าถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งได้แก่ การเกิดธรอมบัสหรือลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด (Blood clot) ขั้นรุนแรง แต่อาการป่วยยังคงที่ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เอกซ์เจแปนจึงได้ประกาศว่าจะมีการเลื่อนการออกจำหน่ายอัลบั้ม และเลื่อนคอนเสิร์ตของปี พ.ศ. 2559 ที่เวมบลิอารีนาออกไป โดยได้เลื่อนออกไปแสดงในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560[22]

แนวเพลงและอิทธิพลดนตรี[แก้]

สมาชิกวง[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
เส้นเวลา[23]

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

อ้างอิง[แก้]

  1. "Finally! "The 100 Greatest Japanese Rock Albums of All Time" Listed". Exclaim!. 2007-11-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  2. "X Japan's Incredible Ride: Meet Rock's Most Flamboyant Survivors". Rolling Stone. 2010-10-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
  3. "X Japan: They're huge (really), and they're (finally) coming to the U.S." Chicago Sun-Times. 2010-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
  4. "X Japan's Yoshiki on Touring the U.S., the Loss of Hide, and the Future of the Band". SF Weekly. 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-14.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "The Jrock Legend: X JAPAN". jrockrevolution.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  6. "HEAVY METAL FORCE III". amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2012-10-29.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 "Indies eXplosion: The Early History of X JAPAN". jrockrevolution.com. 2007-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  8. 8.0 8.1 "Extasy Records company profile". extasyrecords.co.jp/eng. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-06.
  9. "SKULL TRASH ZONE I". japan-discoveries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2011-11-09.
  10. "The Japan Gold Disc Award 1990". golddisc.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
  11. Jealousy liner notes, 1991.
  12. "Oricon Weekly Album Chart for the third week of July 1991". oricon.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
  13. "RIAJ CERTIFIED MILLION SELLER ALBUMS". ocn.ne.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
  14. https://en.wikipedia.org/wiki/Ja,_Zoo
  15. https://www.youtube.com/watch?v=j61i63DTpa8&ab_channel=masakojipapa1948
  16. https://www.japantimes.co.jp/culture/2018/05/01/music/musician-whose-death-rocked-japan/
  17. ข้อความในมายสเปซของโยชิกิที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการกลับมารวมตัวกันใหม่ของ X Japan
  18. www.sponichi.co.jp ข้อความของโยชิกิเรื่องการกลับมาของ X Japan
  19. 19.0 19.1 Chad Childers (2015-07-15). "X Japan Planning New Album + Documentary for 2016". Loudwire. สืบค้นเมื่อ 2015-08-21.
  20. "X Japan stream historic single release". Metal Hammer. 2015-10-13. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
  21. "X JAPAN、12月に20年ぶり日本ツアー 10月には4年ぶり新曲" (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo Japan. 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 2015-08-21.
  22. "X JAPAN Forced To Postpone Shows Due To Guitarist's Illness". Blabbermouth.net. 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-03.
  23. "X indies". Xうぃき (ภาษาญี่ปุ่น).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]