วิลเลียม สแตนดิช โนลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก William S. Knowles)
วิลเลียม สแตนดิช โนลส์
เกิด1 มิถุนายน ค.ศ. 1917(1917-06-01)
ทอนตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
เสียชีวิต13 มิถุนายน ค.ศ. 2012(2012-06-13) (95 ปี)
เชสเตอร์ฟีลด์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ
การศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (AB)
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (PhD)
มีชื่อเสียงจากลิแกนด์ฟอสฟีนไครัลที่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์ L-DOPA แบบคัดเลือกอิแนนชิโอเมอร์
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (2001)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานThomas and Hochwalt Laboratories
มอนซานโต้
วิทยานิพนธ์A preliminary investigation of the constituents of Astragalus wootoni. Β-substituted-Δα, Β-butenolides of the naphthalene, indene and norcholane series (1942)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกรอเบิร์ต เอลเดอร์ฟีลด์

วิลเลียม สแตนดิช โนลส์ (อังกฤษ: William Standish Knowles; 1 มิถุนายน ค.ศ. 1917 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 2012) เป็นนักเคมีชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีกึ่งหนึ่งใน ค.ศ. 2001 ร่วมกับเรียวจิ โนโยริ "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล" ในขณะที่อีกกึ่งหนึ่งมอบให้คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล"[1]

ประวัติการศึกษา[แก้]

วิลเลียม สแตนดิช โนลส์เกิดที่เมืองทอนตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และเข้าเรียนที่โรงเรียนเบิร์กเชอร์ในเมืองเชฟฟีลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เขาทำคะแนนสูงสุดในชั้นเรียนและสามารถสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ แต่โนลส์เลือกที่จะเข้าเรียนที่วิทยาลัยฟิลลิปส์ในเมืองแอนโดเวอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เนื่องจากเขาคิดว่ายังอายุน้อยเกินไปที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ที่แอนโดเวอร์เขาได้รับรางวัลสาขาเคมีเป็นครั้งแรกในชีวิตจากการสอบแข่งขันชิงรางวัลบอยล์สตันมูลค่า 50 ดอลลาร์ที่โรงเรียน[2]

โนลส์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดหลังจากใช้เวลาหนึ่งปีที่วิทยาลัยฟิลลิปส์ โดยเลือกวิชาเคมีเป็นวิชาเอกและเน้นด้านเคมีอินทรีย์ เขาจบปริญญาตรีจากฮาร์วาร์ดใน ค.ศ. 1939 และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[2]

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

รางวัลโนเบลสาขาเคมี[แก้]

โนลส์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีกึ่งหนึ่งใน ค.ศ. 2001 ร่วมกับเรียวจิ โนโยริ "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล" ในขณะที่อีกกึ่งหนึ่งมอบให้คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลสสำหรับปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบไครัล โนลส์เป็นผู้ที่ค้นพบปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันแบบไครัลปฏิกิริยาแรก ๆ โดยใช้ลิแกนด์ฟอสฟีนไครัลในตัวเร่งปฏิกิริยาของวิลคินสัน (Wilkinson's catalyst) แทนไตรฟีนิลฟอสฟีนซึ่งไม่เป็นไครัล ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่นี้สามารถสังเคราะห์สารเคมีแบบคัดเลือกอิแนนชิโอเมอร์ได้ โดยได้ค่าอิแนนชิโอเมอริกเอ็กเซส (enantiomeric excess) หรือผลต่างระหว่างอัตราส่วนของอิแนนชิโอเมอร์หนึ่งต่ออีกอิแนนชิโอเมอร์หนึ่ง 15%

นอกจากนี้โนลส์ยังเป็นคนแรกที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไครัลไปประยุกต์ใช้กับการสังเคราะห์ระดับอุตสาหกรรม โดยในขณะที่เขาทำงานให้กับมอนซานโต้ เขาได้ใช้ลิแกนด์ DIPAMP สำหรับการสังเคราะห์ L-DOPA[6][7]

Synthesis of L-DOPA via hydrogenation with C2-symmetric diphosphine.

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

โนลส์เกษียณอายุใน ค.ศ. 1986 และย้ายไปอยู่ที่เมืองเชสเตอร์ฟีลด์ ชานเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เขาดูแลทุ่งหญ้าแพรรีขนาด 100 เอเคอร์ที่แนนซี ภรรยาของเขาได้รับมรดก เขาสมรสกับแนนซีเป็นเวลา 66 ปีและมีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คนได้แก่เอลิซาเบธ พีเทอร์ แซราห์ และเลสลีย์ และมีหลาน 4 คน วิลเลียม สแตนดิช โนลส์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2012 สิริอายุได้ 95 ปี โดยก่อนเสียชีวิตวิลเลียมและแนนซีเปิดเผยว่าทุ่งหญ้าแพรรีนี้จะบริจาคให้แก่สาธารณะเพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะประจำเมือง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Yun, O. (2005). "Profile of William S. Knowles". Proceedings of the National Academy of Sciences. 102 (47): 16913–16915. Bibcode:2005PNAS..10216913Y. doi:10.1073/pnas.0507546102. PMC 1287994. PMID 16286647.
  2. 2.0 2.1 "William S. Knowles - Biographical". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Chemical Pioneer Award". American Institute of Chemists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  4. David M. Isserman / Isserman Consulting LLC / www.isserman.com (2012-04-19). "Academy of Science - St. Louis :: Academy Initiatives :: Outstanding St. Louis Scientists Awards". Academyofsciencestl.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-16.
  5. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-07-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. Vineyard, B. D.; Knowles, W. S.; Sabacky, M. J.; Bachman, G. L.; Weinkauff, D. J. (1977). "Asymmetric hydrogenation. Rhodium chiral bisphosphine catalyst". Journal of the American Chemical Society. 99 (18): 5946–5952. doi:10.1021/ja00460a018.
  7. Knowles, William S. (2002). "Asymmetric Hydrogenations (Nobel Lecture) Copyright© The Nobel Foundation 2002. We thank the Nobel Foundation, Stockholm, for permission to print this lecture". Angewandte Chemie International Edition. 41 (12): 1998. doi:10.1002/1521-3773(20020617)41:12<1998::AID-ANIE1998>3.0.CO;2-8.
  8. "William Knowles, Nobel Winner in Chemistry, Dies at 95". The New York Times. June 15, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]