มอนซานโต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท มอนซานโต้ จำกัด
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
NYSE: MON
S&P 500 Component
ISINUS61166W1018 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมธุรกิจเกษตร
ก่อตั้งเซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ
(1901; 123 ปีที่แล้ว (1901))
ผู้ก่อตั้งJohn Francis Queeny
เลิกกิจการ7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่คลีฟคัวร์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ
บุคลากรหลัก
Hugh Grant
(ประธานและซีอีโอ)[1]
ผลิตภัณฑ์สารฆ่าวัชพืช สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ เมล็ดพืชผล
รายได้
  • เพิ่มขึ้น US$ 15.9 พันล้าน (2557)[2]
  • เพิ่มขึ้น US$ 14.861 พันล้าน (2556) [3]
  • เพิ่มขึ้น US$ 13.504 พันล้าน (2555) [3]
รายได้จากการดำเนินงาน
  • เพิ่มขึ้น US$ 3.57 พันล้าน (2556) [3]
  • เพิ่มขึ้น US$ 3.148 พันล้าน (2555) [3]
รายได้สุทธิ
  • เพิ่มขึ้น US$ 2.482 พันล้าน (2556) [3]
  • เพิ่มขึ้น US$ 2.045 พันล้าน (2555) [3]
สินทรัพย์
  • เพิ่มขึ้น US$ 20.664 พันล้าน (2556) [4]
  • เพิ่มขึ้น US$ 20.224 พันล้าน (2555) [3]
ส่วนของผู้ถือหุ้น
  • เพิ่มขึ้น US$ 12.728 พันล้าน (2556) [4]
  • เพิ่มขึ้น US$ 12.036 พันล้าน (2555) [4]
พนักงาน
~21,900 (ปีงบฯ 2556)[5]
บริษัทแม่ไบเออร์ Edit this on Wikidata
เว็บไซต์www.monsanto.com

บริษัทมอนซานโต้ (อังกฤษ: Monsanto Company) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดด้านเกษตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่ในคลีฟคัวร์ เกรตเตอร์เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุวิศวกรรมชั้นนำ และราวน์อัพ สารฆ่าวัชพืชซึ่งมีสารไกลโฟเสต บทบาทของมอนซานโต้ในการเปลี่ยนแปลงทางเกษตร ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การวิ่งเต้นหน่วยงานของรัฐบาล และเดิมที่เคยเป็นบริษัทเคมีทำให้บริษัทฯ เป็นกรณีพิพาท

มอนซานโต้ก่อตั้งในปี 2444 โดย จอห์น แฟรนซิส ควีนี (John Francis Queeny) เดิมผลิตสารปรุงแต่งอาหารอย่างแซกคารีนและวานิลลิน และขยายเป็นสารเคมีอุตสาหกรรมอย่างกรดซัลฟิวริกและพอลีคลอริเนเต็ดไบฟีนิล (polychlorinated biphenyl) ในคริสต์ทศวรรษ 1920 และในคริสต์ทศวรรษ 1940 เป็นผู้ผลิตพลาสติกรายสำคัญ ซึ่งรวมพอลิสไตรีนและใยสังเคราะห์ ความสำเร็จสำคัญของมอนซานโต้และนักวิทยาศาสตร์ในฐานะบริษัทเคมีได้แก่การวิจัยค้นพบยิ่งใหญ่เรื่องไฮโดรจีเนชันอสมมาตรแคทาลิติก (catalytic asymmetric hydrogenation) และเป็นบริษัทแรกที่ผลิตไดโอดเปล่งแสงขนาดใหญ่ บริษัทฯ ยังเคยผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นข้อพิพาทอย่าง สารฆ่าแมลงดีดีที พีซีบี เอเจนต์ออเรนจ์ และรีคอมบิแนนต์โซมาโตโทรปินหมู (หรือฮอร์โมนเติบโตหมู)

มอนซานโต้เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดัดแปรพันธุกรรมเซลล์พืช เป็นหนึ่งในสี่กลุ่มที่ประกาศการใส่ยีนเข้าพืชในปี 2526[6] และเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดำเนินการทดลองสนามพืชผลดัดแปรพันธุกรรมซึ่งทำในปี 2530 มอนซานโต้ยังเป็นหนึ่งในสิบยอดบริษัทเคมีของสหรัฐจนบริษัทถอนธุรกิจเคมีส่วนใหญ่ระหว่างปี 2540 ถึง 2545 ผ่านกระบวนการการรวมบริษัทและแยกบริษัทซึ่งมุ่งสนใจเทคโนโลยีชีวภาพ

มอนซานโต้ยังเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ใช้แบบจำลองธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโยโลยีชีวภาพเพื่อเกษตรกรรม โดยใช้เทคนิคที่จีเนนเทค (Genentech) พัฒนาและบริษัทยาเทคโนโลยีชีวภาพอื่นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย[7]: 2–6  ในแบบจำลองธุรกิจนี้ บริษัทลงทุนอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา และหักลบกลบค่าใช้จ่ายผ่านการใช้และบังคับใช้สิทธิบัตรชีวภาพ[8][9][10][11] แบบจำลองสิทธิบัตรเมล็ดถูกวิจารณ์ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางชีวภาพและภัยต่อความหลากหลายทางชีวภาพ[12][13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Board of Directors". Monsanto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-23. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015. Hugh Grant is the chairman and chief executive officer of Monsanto Company.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "MONSANTO CO /NEW/ 2013 Annual Report Form (10-K)" (XBRL). United States Securities and Exchange Commission. October 23, 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 "MONSANTO CO /NEW/ 2014 Q2 Quarterly Report Form (10-Q)" (XBRL). United States Securities and Exchange Commission. April 3, 2014.
  5. Monsanto. Monsanto Annual Report, Form 10-K เก็บถาวร 2015-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Filing Date August 31, 2013
  6. "The race towards the first genetically modified plant". Plant Biotech News. 19 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
  7. Dorothy Leonard-Barton, Gary P. Pisano. January 29, 1990. Harvard Business Review: Case Studies. Monsanto's March into Biotechnology
  8. "Competition Issues in the Seed Industry and the Role of Intellectual Property". Choicesmagazine.org. November 21, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
  9. Schneider, Keith (June 10, 1990) Betting the Farm on Biotech. the New York Times
  10. Burrone, Esteban (2006) Patents at the Core: the Biotech Business เก็บถาวร 2016-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. WIPO
  11. Economic Research Service/USDA The Seed Industry in U.S. Agriculture: An Exploration of Data and Information on Crop Seed Markets, Regulation, Industry Structure, and Research and Development เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Shiva, Vandana (February 6, 2012) The seed emergency: The threat to food and democracy, Aljazeera.
  13. Parsai, Gargi (February 5, 2012). "Opposition to Monsanto patent on Indian melons". The Hindu. Chennai, India.
  14. Vidal, John (November 15, 2000). "Biopirates who seek the greatest prizes". London: The Guardian.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เว็บไซต์ทางการ