สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก War of the Spanish Succession)
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

ในศึกอ่าววิโก, อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ทำลายกองทัพเรือขนสมบัติของสเปน ยึดเครื่องเงินที่สเปนได้มาจากโบลิเวียเป็นจำนวนประมาณหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง
วันที่ค.ศ. 1702ค.ศ. 1714
พ.ศ. 2245พ.ศ. 2257
สถานที่
ผล สนธิสัญญาอูเทร็คท์
การประชุมราสชตัทครั้งที่ 1 ค.ศ. 1714
คู่สงคราม

มหาสัมพันธมิตร

สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ปรัสเซีย
โปรตุเกส โปรตุเกส

เดนมาร์ก เดนมาร์ก-นอร์เวย์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
สเปน สเปน
บาวาเรีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

จักรวรรดิออสเตรีย เออแฌนแห่งซาวอย
จักรวรรดิออสเตรีย มากราฟแห่งบาเดิน
จักรวรรดิออสเตรีย เคานท์สตาร์เฮมเบิร์ก
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งมาร์ลบะระ
สหราชอาณาจักร มาร์ควิสเดอรูวินยี
เนเธอร์แลนด์ เคานต์อูแวร์เคิร์ค
โปรตุเกส มาร์ควิสดาสไมยาส

อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย วิคเตอร์ อามาเดอุส ที่ 2

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งวิลลาร์ส
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุกแห่งแวงโดม
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุคแห่งโบเฟลอร์ส
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุกแห่งวิลเลอร์รอย
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส เคานท์แห่งเทสส์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ดยุกแห่งเบอร์วิค
แม็กซิมิเลียน เอ็มมานูเอลที่ 2

สเปน มาร์ควิสแห่งวิลลาดาไรอาส
กำลัง
232,000 คน[1] ฝรั่งเศส 373,000 คน[2]
ความสูญเสีย
ประมาณ 400,000 คน
(เสียชีวิต)
ประมาณมากกว่า400,000นาย(เสียชีวิต)

สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (อังกฤษ: War of the Spanish Succession) (ค.ศ. 1702–ค.ศ. 1714) ซึ่งรวมทั้งสงครามพระนางแอนน์ (Queen Anne's War) ใน ทวีปอเมริกาเหนือเป็นสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของทวีปยุโรปเกี่ยวกับปัญหาการสืบสันติวงศ์ของบัลลังก์สเปน ซึ่งเป็นผลให้มีการเปลี่ยนความสมดุลทางอำนาจในยุโรป ผู้เป็นผู้นำทางทหารที่สำคัญๆ ในสงครามครั้งนี้ก็ได้แก่โคลด ลุยส์ เฮคเตอร์ แห่งวิลลาร์ส, เจมส์ ฟิทซเจมส์ ดยุกแห่งเบอร์วิก, จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย

ในปี ค.ศ. 1700 พระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปนสวรรคตและทรงทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างให้ดยุกแห่งอองชู พระนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และผู้กลายมาเป็นพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน สงครามจึงค่อยๆ ประทุขึ้นโดยจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ทรงต่อสู้เพื่อรักษาบัลลังก์สเปนไว้กับฮับส์บูร์ก เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เริ่มขยายดินแดนอย่างรวดเร็ว ประเทศอื่นๆ ในยุโรปโดยเฉพาะราชอาณาจักรอังกฤษ โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์จึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส[3] รัฐอื่นๆ เข้าร่วมในสงครามต่อต้านฝรั่งเศสและสเปนเพื่อจะหวังที่ได้ดินแดนเพิ่ม หรือเพื่อป้องกันการเสียดินแดนที่ครองอยู่ สงครามไม่จำกัดอยู่แต่ในยุโรปเท่านั้นแต่ในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งรู้จักระหว่างชาวอาณานิคมอังกฤษในนามว่า “สงครามพระราชินีนาถแอนน์” และจากทหารคอร์แซรส์และโจรสลัดหลวง (privateers) ตามแนวสเปน (Spanish Main) — แนวฝั่งทะเลของสเปนในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่บริเวณริมฝั่งรัฐฟลอริดาปัจจุบันเรื่อยลงไปทางเม็กซิโกลงไปจนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีการประมาณการว่ายอดผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้อาจสูงถึง 400,000 คน[4]

สนธิสัญญา[แก้]

สงครามสงบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาอูเทร็คท์เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1713 และ การประชุมราสชตัทครั้งที่ 1 ค.ศ. 1714 (First Congress of Rastatt 1714) ผลจากสงครามคือพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 ยังคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินสเปนแต่ถูกยกเลิกสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสซึ่งเป็นการป้องการการรวมตัวระหว่างราชอาณาจักรสเปนและฝรั่งเศส ออสเตรียไดัรับดินแดนที่เคยเป็นของสเปนในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด ความมีอิทธิพลเหนือกว่า (Hegemony) ประเทศใดๆ ในยุโรปของฝรั่งเศสต่อยุโรปก็สิ้นสุดลงและปรัชญาการสร้างความสมดุลทางอำนาจ (balance of power) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งกล่าวถึงในสนธิสัญญาอูเทรชท์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lynn, The Wars of Louis XIV: 1667–1714, p.271. จำนวนพันธมิตรในปี ค.ศ. 1702: จักรวรรดิ (90,000), ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (60,000 + 42,000), และอังกฤษ (40,000). จำนวนนี้ไม่รวมจากกองกำลังจากนครรัฐรองต่างๆ ของเยอรมนีและกองกำลังทางเรือ
  2. Lynn, The Wars of Louis XIV: 1667–1714, p.271. กองกำลังของฝรั่งเศสตามเอกสาร; จำนวนจริงประมาณ 255,000. จำนวนนี้เพิ่มด้วยกำลังจากสเปนและเมื่อเริ่มสงครามจากบาวาเรียและซาวอยด้วย
  3. Also in the English case, to safeguard its own Protestant succession, opposing France as throughout the Second Hundred Years' War Tombs, That Sweet Enemy, p.24.
  4. Clodfelter 2017, p. 73.
  5. Wolf, The Emergence of the Great Powers: 1685–1715. p.92

ดูเพิ่ม[แก้]